8 เทคนิค SMEs วางแผนการเงินให้บาลานซ์ ‘ค่าใช้จ่าย’

8 เทคนิค SMEs วางแผนการเงินให้บาลานซ์ ‘ค่าใช้จ่าย’

หน้าที่สำคัญของการเงินในธุรกิจ ถือเป็น 1 ใน 4 ของหน้าที่หลักที่สำคัญขององค์กรธุรกิจ อันได้แก่ การจัดการการผลิต การตลาด และการเงิน ซึ่งการบริหารการเงินที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจของคุณมั่นคงและสำคัญในชีวิตมากขึ้น วันนี้เราจะแนะนำแนวทางในการวางแผนการเงินแบบมืออาชีพ เพื่อให้คุณสามารถรับมือกับปัญหาในอนาคตได้ รวมถึงการวางแผนการเงินจะช่วยให้คุณใช้จ่ายเป็นไปตามแผนที่วางไว้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

การจัดการด้านการเงิน สำหรับธุรกิจ SMEs

1. ตรวจสอบสถานะเงินสดอยู่เสมอ

ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้ว่าบัญชีบริษัทมีเงินสดจำนวนเท่าไร มีกำลังเพียงพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินธุรกิจหรือไม่ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบสถานะการเงินทุกสัปดาห์ เพื่อเราจะได้ทราบถึงจำนวนรายรับรายจ่าย รวมถึงเงินที่ยังคงค้างชำระเงินจากลูกหนี้หรือคู่ค้า ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เรานำมาวิเคราะห์สถานการณ์และวางแผนการบริหารจัดการเงินสดเพื่อนำไปใช้จ่ายต่อไปได้

2. เก็บข้อมูลการเงินอย่างเป็นระบบ

การบันทึกรายรับรายจ่ายหรือการทำบัญชีจะทำให้คุณรู้ที่มาของการเงิน ทำให้วางแผนในการเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่าย เพื่อช่วยให้ทราบสถานการณ์การเงินอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการทำบัญชียังช่วยให้รับมือกับการจ่ายภาษีและสามารถชี้แจงรายได้ค่าใช้จ่ายให้สรรพากรได้ และอย่าลืมว่าการทำบัญชียังช่วยให้เห็นต้นทุนที่จำเป็นและค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้

 

3. คิดก่อนใช้

เมื่อคุณเริ่มคิดที่จะทำแผนการเงิน ให้รวมค่าใช้จ่ายด้านการตลาดและการขายเข้าไปด้วย ประเมินรายรับที่คาดว่าจะได้นำมาเทียบราคาต้นทุนก่อนที่คุณจะซื้ออะไรก็ตามครั้งต่อไป คุณสามารถเพิ่มยอดกำไรได้ง่ายๆ ด้วยการยืดการซื้อออกไปเป็นเดือนถัดไป หรือ 3 เดือนถัดไป หรือ 1 ปีถัดไป

4. การบริหารจัดการลูกหนี้และเจ้าหนี้

การบริหารจัดการลูกหนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องมีวิธีจัดการเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ให้ได้เร็วที่สุดยิ่งดีต่อธุรกิจ สำหรับเจ้าหนี้ควรจะมีนโยบายในการให้เครดิตคู่ค้า เพื่อชำระเงินโดยเร็วที่สุดโดยตั้งเป็น 30 หรือ 60 วัน และเร่งรัดหรือหาแรงจูงใจเพื่อให้ลูกหนี้ชำระเงินให้เร็วขึ้น มีการติดตามทวงหนี้อย่างสม่ำเสมอ และสำหรับลูกหนี้ก็ควรชำระเงินให้ตรงตามกำหนด ไม่ผัดผ่อนหนี้ เพื่อสร้างเครดิตให้เป็นที่น่าเชื่อถือ

5. เข้าสู่โหมดประหยัด

ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นต่อกิจการออกให้หมด ซึ่ง “ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น” ไม่ได้หมายความว่าลดการใช้จ่ายทุกสิ่งทุกอย่างลง แต่ให้ตัดสิ่งที่ไม่ส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณออกไป

6. การบริหารสภาพคล่องกับทรัพย์สินไม่ได้ใช้งาน

หากธุรกิจของคุณมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือมีสินค้าคงค้างอยู่ในสต๊อกเป็นจำนวนมาก และเริ่มเก่าผุพังล้าหลังแล้ว การขายสิ่งเหล่านี้เพื่อเปลี่ยนเป็นเงินคือสิ่งที่ควรทำ รวมถึงสินค้าคงค้างในสต๊อก ยิ่งเก็บนานวัน สินค้าก็ยิ่งเก่า ตกรุ่น และมูลค่าจะลดลงตามไปด้วย ดังนั้น การจัดกิจกรรมลดราคาก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรทำ ถึงแม้ว่าการขายนั้นจะได้มาในราคาต่ำกว่ามูลค่าของสิ่งของ แต่ก็ย่อมดีกว่าที่จะปล่อยไว้จนสุดท้ายอาจจะไม่ได้รับอะไรกลับคืนมา 

7. ตั้งเป้าหมายระยะสั้นสามารถวัดผลได้

การตั้งเป้าหมายระยะสั้นๆ จะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ทันเวลา การตั้งเป้าหมายระยะสั้นจะช่วยให้คุณประเมินสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี สามารถรู้ถึงการเติบโตของธุรกิจได้ทันเวลาเสมอ จึงถือเป็นสิ่งที่เราต้องทำอยู่เสมอ หากคุณไม่อยากล้มเหลวในธุรกิจ สิ่งที่คุณควรทำที่สุดคือการตั้งเป้าหมายและทำตามเป้าหมายที่คุณวางไว้

8. พูดคุยกับที่ปรึกษาทางการเงิน

สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจหรือโควิด-19 การให้ที่ปรึกษาทางการเงินเข้ามาช่วยให้คำแนะนำก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดี เพราะจะได้รับการช่วยเหลือทั้งการบริหารการเงิน การลงทุน รวมถึงการตั้งเป้าหมายทางการเงินใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ในช่วงเศรษฐกิจที่กำลังปั่นป่วนไปตามการระบาดของโควิด-19 การบริหารการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญเป็นลำดับแรกๆ ที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก มีมาตรฐานในการดำเนินงาน การบริหาร การจัดการที่เป็นขั้นตอนเป็นระบบระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ธุรกิจ SMEs อยู่รอดแม้ต้องเผชิญวิกฤตต่างๆ

Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก หรือสายด่วน 1333