SMEs ควรใช้กลยุทธ์ไหน? มัดใจ ‘ตลาดเฉพาะกลุ่ม’

SMEs ควรใช้กลยุทธ์ไหน? มัดใจ ‘ตลาดเฉพาะกลุ่ม’
SMEs ควรใช้กลยุทธ์ไหน? มัดใจ ‘ตลาดเฉพาะกลุ่ม’

SMEs ควรใช้กลยุทธ์ไหน? มัดใจ ‘ตลาดเฉพาะกลุ่ม’

ตลาดเฉพาะกลุ่ม หรือ Niche Market คือการผลิตและขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ที่มีความต้องการและรสนิยมเจาะจงมากกว่าตลาดทั่วไป (Mass Market) ซึ่งตลาดเฉพาะกลุ่มถือเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้หลายธุรกิจสามารถแข่งขันกับธุรกิจใหญ่ๆ ได้ เนื่องจากมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุดนั่นเอง

Niche Market เป็นตลาดที่เหมาะสมกับกิจการที่มีข้อจำกัดด้านทรัพยากร เช่น เงินทุน บุคลากร อุปกรณ์ และเทคโนโลยี ซึ่งการดำเนินกิจกรรมการตลาดเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้ามวลชนในวงกว้าง มีค่าใช้จ่ายสูงมาก สำหรับตลาดลูกค้าเฉพาะเป็นตลาดขนาดเล็ก ทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ส่วนมากยังไม่ได้ให้ความสนใจมากเท่าที่ควร การแข่งขันมีน้อยกว่าตลาดมวลชน ถือเป็นโอกาสอันดีของ SMEs ในการเข้าสู่ตลาดนี้ โดยไม่ต้องไปแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งถ้าหาก SMEs รายใด สามารถค้นหาตลาดเฉพาะพบก่อน เข้าไปทำตลาดได้ก่อน ก็จะมีโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดเฉพาะนั้นได้ โดยการเข้าสู่ตลาดเฉพาะมีขั้นตอนดังนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

SME ควรใช้กลยุทธ์ไหน? มัดใจ ‘ตลาดเฉพาะกลุ่ม’
SMEs ควรใช้กลยุทธ์ไหน? มัดใจ ‘ตลาดเฉพาะกลุ่ม’
  1. ค้นหาและคัดเลือกกลุ่มลูกค้าเฉพาะ SMEs ควรศึกษาวิจัยแยกแยะกลุ่มลูกค้าเฉพาะว่าจะกำหนดกลุ่มลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจงได้อย่างไร แบ่งแยกตามอะไร เช่น ตามความชอบ ตามปัญหาที่ลูกค้ามีอยู่ หรือตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ลูกค้าเป็นกลุ่มเพศใด ช่วงอายุเท่าไร และอยู่ที่ใด ดังนั้น SMEs ควรคัดเลือกกลุ่มลูกค้าเฉพาะที่ตรงกับสินค้าหรือบริการของกิจการจริงๆ
  2. ค้นหาความชอบ ความถนัดของตนเอง เพื่อนำมาพัฒนาเป็นสินค้าหรือบริการที่มีความแตกต่าง สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่เราเลือกได้
  3. ศึกษาว่าลูกค้าเฉพาะที่เลือกมีความต้องการอย่างไร เพื่อแสดงให้ลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสินค้าใหม่ ที่กิจการนำเสนอกับสินค้าที่มีอยู่แล้วในตลาด สินค้าสำหรับตลาดลูกค้าเฉพาะจะต้องมีความแตกต่าง โดดเด่น สามารถตอบสนองความต้องการ หรือแก้ไขปัญหาในปัจจุบันของลูกค้าได้มากกว่า ตรงกว่า ดีกว่าสินค้าเดิมที่มีอยู่ในตลาด จึงจะได้รับการยอมรับจากลูกค้า จนเกิดความจงรักภักดีต่อสินค้าและทำให้ลูกค้ากลับมาใช้ซ้ำ
  4. ประเมินจำนวนลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เพื่อพิจารณาว่าจะมีมูลค่าตลาดเพียงพอที่จะสร้างรายได้และผลกำไรให้แก่กิจการได้หรือไม่ รวมถึงความยั่งยืนในระยะยาวว่า จะมีโอกาสเติบโต มีโอกาสในการขยายธุรกิจในอนาคตมากเพียงใด ไม่ใช่เป็นความต้องการฉาบฉวยตามกระแสนิยม ที่เกิดง่าย หายเร็ว
  5. ประเมินการแข่งขัน ศึกษาดูว่าตลาดที่กำลังจะเข้าไปมีใครเป็นผู้นำตลาดอยู่ก่อนแล้ว เพราะการเข้าสู่ตลาดเป็นคนแรก ย่อมมีโอกาสสร้างการรับรู้และจดจำในสินค้าได้ก่อน
  6. วางแผนกลยุทธ์การตลาด ก่อนจะนำสินค้าเข้าสู่ตลาด ควรมีการวางแผนกลยุทธ์การตลาด เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการสื่อสารกับลูกค้า ช่องทางในการสื่อสาร รวมถึงงบประมาณที่จะใช้

SMEs สามารถมัดใจลูกค้าได้ด้วย 5 กลยุทธ์

  1. กลยุทธ์มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า กิจการต้องให้ความสำคัญความต้องการของลูกค้า พร้อมตอบสนองความต้องการลูกค้าให้ได้ เช่น คุณภาพของสินค้าหรือบริการ ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ และความเป็นมืออาชีพ ดังนั้น สินค้าหรือบริการต้องมีคุณภาพได้มาตรฐาน รวมถึงมีความรู้ความเชี่ยวชาญในสินค้าหรือบริการของเราเอง สามารถให้คำแนะนำได้ สร้างความพึงพอใจทำให้รู้สึกว่ากิจการเอาใจใส่ ให้ความสำคัญกับลูกค้า
  2. กลยุทธ์ความเป็นหนึ่ง ความเป็นหนึ่งมีความหมายได้หลายแบบ เช่น ในตลาดนี้มีเราเพียงเจ้าเดียว เราจึงเป็นที่หนึ่งในตลาด เมื่อพูดถึงสินค้าชนิดนี้ต้องนึกถึงเรา หรือการเป็นที่หนึ่งจากคุณภาพสินค้าหรือบริการ มีความรวดเร็วเป็นหนึ่ง เป็นต้น นอกจากนี้ รวมถึงการเสนอสินค้าและบริการที่ช่วยให้ลูกค้ามีชีวิตที่ง่ายขึ้น และสามารถให้บริการได้ตลอดเวลาด้วย
  3. กลยุทธ์สร้างสรรค์เนื้อหาคอนเทนต์ กิจการควรสื่อสารเนื้อหาสาระที่ตรงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ผ่านช่องทางสื่อสารออนไลน์ต่างๆ เช่น เขียนบล็อก Website, Facebook, Instagram หรือ Twitter โดยเนื้อหา ภาษา และอารมณ์ที่สื่อสารออกไปต้องตรงกับลูกค้า เป็นสิ่งที่เขาอยากรู้ ใช้ภาษาเดียวกัน และมีความรู้สึกเป็นเพื่อนเป็นคนกันเองมาคุยให้ฟัง ซึ่งกลยุทธ์นี้เจ้าของกิจการควรเริ่มต้นด้วยการบอกเล่าเรื่องราวที่มาที่ไปในการก้าวเข้ามาในธุรกิจ เรื่องราวที่มาของแบรนด์และสินค้า เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ร่วมมีโอกาสได้สัมผัสตัวตนที่แท้จริงของสินค้าและบริการอย่างเข้าถึงมากขึ้น ก่อนขยายเรื่องราวไปยังสิ่งต่างๆ รอบตัวลูกค้า ทำให้ลูกค้ามีความผูกพันกับกิจการและแบรนด์ของกิจการ
  4. กลยุทธ์พลังแห่ง Social Media ในยุคปัจจุบันที่ Social Media มีความสำคัญเป็นอย่างมาก การสื่อสารผ่าน Facebook, Twitter, Instagram และ @Line เป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง ทำให้ลูกค้าสามารถพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นการสร้างพื้นที่ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับกิจการได้ เมื่อเริ่มแรกในการสื่อสารผ่านช่องทางสังคมออนไลน์ในช่วงแรก อาจจะจำกัดอยู่ในลูกค้าเฉพาะกลุ่มเล็กๆ แต่เมื่อทำแล้วต้องพยายามโปรโมตช่องทางเหล่านี้ ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าเฉพาะกว้างขวางขึ้นเพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ
  5. กลยุทธ์การบอกต่อ Niche Market เป็นกลุ่มที่มีสังคมเฉพาะ ซึ่งการบอกต่อถึงประสบการณ์การใช้สินค้าหรือบริการในกลุ่มนี้ ลูกค้าจะเชื่อถือการบอกต่อด้วยกันเองมากกว่า เช่น สังคมคนขี่จักรยาน หากมีการบอกต่อว่าใช้ชุดขี่จักรยานหรือถุงมือ แบรนด์ใดใช้แล้วดีหรือไม่ดี ผู้บริโภคคนอื่นจะมีแนวโน้มเชื่อการบอกต่อนี้มากกว่าลูกค้ากลุ่มอื่น
SME ควรใช้กลยุทธ์ไหน? มัดใจ ‘ตลาดเฉพาะกลุ่ม’
SMEs ควรใช้กลยุทธ์ไหน? มัดใจ ‘ตลาดเฉพาะกลุ่ม’

‘ตลาดเฉพาะกลุ่ม’ มีความน่าสนใจอย่างยิ่งในปัจจุบัน แต่การที่จะสร้างธุรกิจขึ้นมาเพื่อตอบสนองคนกลุ่มนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากสามารถค้นหาความชอบ ความสนใจของคนกลุ่มนี้ได้ ก็นับเป็นประโยชน์ในการสร้างธุรกิจมากเลยทีเดียว แล้วหลังจากนั้น SMEs จึงค่อยๆ พัฒนาเพื่อขยายสู่วงกว้างต่อไป          

แหล่งอ้างอิง : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 

Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ
คลิก หรือสายด่วน 1333