แท็กทีม 3 ร้าน 3 สไตล์ เผยความสำเร็จ ตลอดปีทองของ การขายออนไลน์

ลาซาด้า แท็กทีม 3 ร้าน 3 สไตล์ เผยความสำเร็จ ตลอดปีทองของ การขายออนไลน์ พร้อมโกยรายได้ในโค้งสุดท้ายกับแคมเปญเซลใหญ่ส่งท้ายปี 12.12

สถานการณ์โควิด-19 ที่ยาวนานถือเป็นตัวเร่งที่ทำให้ผู้คนในทุกสายอาชีพต้องปรับตัวให้เท่าทันความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น โดยหนึ่งในอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์เกือบตลอดทั้งปีก็คือผู้ประกอบการหรือผู้ขายสินค้าที่เน้นทำการขายแบบพึ่งพาหน้าร้านเป็นหลัก

ซึ่งผู้ที่สามารถปรับตัวและมองหาโอกาสใหม่ๆ อยู่เสมอ ก็จะสามารถพลิกวิกฤตในช่วงเวลาแห่งความท้าทายนี้ให้กลายเป็นโอกาสได้ เหมือนกับ 3 ร้านค้าที่ทำธุรกิจในแวดวงที่แตกต่างกัน แต่ก็สามารถประสบความสำเร็จกับยอดขายสุดปังบนลาซาด้า ซึ่งพวกเขาเหล่านี้จะมาร่วมแชร์เส้นทางการเติบโตแบบสวนกระแสโควิด-19 พร้อมแบ่งปันเคล็ดลับที่จะช่วยให้ทั้งร้านค้าหน้าใหม่และผู้ขายปัจจุบันประสบความสำเร็จกับการขายบนแพลตฟอร์มลาซาด้า

คุณพุฒิธร เอื้อถาวรพิพัฒน์ จากร้าน Kiki Shoes กล่าวว่า สำหรับร้าน Kiki Shoes เป็นร้านขายรองเท้าแฟชั่นของเด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ที่มีหน้าร้านอยู่ในห้างสรรพสินค้าทางภาคตะวันออก ร้านของเราเข้าร่วมแพลตฟอร์มลาซาด้ามาเป็นเวลา 4 ปี หรือก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 สิ่งนี้จึงอาจเป็นข้อดีที่ทำให้เรารู้จักแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเป็นอย่างดี

และได้เปรียบเรื่องความเชี่ยวชาญในการพัฒนาร้านบนช่องทางออนไลน์ การที่เรามีหน้าร้านทางออนไลน์รออยู่ในลาซาด้า ทำให้เราพร้อมต้อนรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าในช่วงล็อกดาวน์ ที่กลุ่มลูกค้าเหล่านี้ไม่สามารถซื้อของในห้างสรรพสินค้าได้ และยิ่งทำให้การขายทางออนไลน์ได้รับผลตอบรับที่ดีขึ้นแบบสวนกระแส โดยในปี 2564 ร้าน Kiki Shoes สามารถทำยอดขายได้อย่างก้าวกระโดดโดยเฉพาะในช่วงเมกะแคมเปญ อาทิ แคมเปญ Lazada Surprise Birthday Sale ซึ่งตรงกับเดือนมีนาคมที่เป็นช่วงการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวด

คุณพุฒิธร เอื้อถาวรพิพัฒน์ จากร้าน Kiki Shoes

“ความประทับใจในการขายกับลาซาด้ามาตลอด 4 ปี คือลาซาด้าทำการตลาดผ่านสื่อต่างๆ อยู่สม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นโฆษณาทีวี สื่อออนไลน์ ดารา ประชาสัมพันธ์ต่างๆ ฯลฯ เพื่อสื่อสารกับนักช็อปให้เข้ามาบนแพลตฟอร์มโดยเฉพาะช่วงแคมเปญ ซึ่งเคล็ดลับของร้าน Kiki Shoes คือการรีบลงขายสินค้าก่อนเริ่มต้นแคมเปญ เพราะมีโอกาสที่ลาซาด้าจะหยิบสินค้าที่ลงขายก่อนไปโปรโมตในช่วงก่อนเริ่มแคมเปญ”

“ทำให้ร้านของเรามีโอกาสเป็นที่รู้จัก มีผู้คลิกเข้ามาดูสินค้า และกดติดตามร้านเพิ่มขึ้น นำไปสู่คำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ การที่ลาซาด้ามีการพัฒนากลไกช่วยร้านค้าให้ประสบความสำเร็จในการขายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ร้านของเรามั่นใจว่าในอนาคต ลาซาด้าจะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเข้ามาเป็นเครื่องมือให้ผู้ขายได้ใช้พัฒนาร้านค้าได้อย่างตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างแน่นอน” คุณพุฒิธร กล่าว

คุณวศิน ชลานุชพงศ์ เจ้าของร้าน นานา คอฟฟี่ โรสเตอร์ ที่เพิ่งเริ่มขายสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในปีนี้ เปิดเผยว่า ธุรกิจร้านกาแฟอาจดูเป็นธุรกิจที่หลายคนไม่คิดว่าจะปรับเปลี่ยนมาสู่การขายในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แต่ด้วยสถานการณ์ล็อกดาวน์ที่บีบบังคับให้เราต้องหาทางรอด ประกอบกับการรู้ว่าสินค้าอะไรของเราที่มีกลุ่มลูกค้าให้ความสนใจและน่าจะหยิบมาขายในช่องทางออนไลน์ได้

สำหรับร้านนานา คอฟฟี่ โรสเตอร์ นิยามตัวเองว่าเป็น Artisan Coffee Shop ที่ตั้งใจสรรหาเมล็ดกาแฟระดับพรีเมี่ยม เพื่อกลุ่มคนรักการดื่มกาแฟที่ให้ความสำคัญกับรสชาติ และความหลากหลายของเมล็ดกาแฟโดยเฉพาะ โดยปกติร้านของเราจะมีกลุ่มลูกค้า 2 ประเภท ประเภทแรกคือคนที่เข้ามาเลือกซื้อเมล็ดกาแฟเพื่อชงดื่มเองที่บ้าน และอีกประเภทคือกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาซื้อกาแฟแบบชงสำเร็จที่ร้าน ทำให้เราเล็งเห็นว่าเราสามารถนำสินค้าเมล็ดกาแฟคุณภาพมาขายในช่องทางออนไลน์ได้ จึงเป็นที่มาของการเริ่มต้นเปิดร้านกับลาซาด้าเมื่อช่วงประมาณ 6 เดือนที่ผ่านมา

คุณวศิน ชลานุชพงศ์ เจ้าของร้าน นานา คอฟฟี่ โรสเตอร์

“ความท้าทายของการขายเมล็ดกาแฟในช่องทางออนไลน์คือการมอบประสบการณ์ให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนได้เข้ามาพูดคุยสอบถามข้อมูลกับผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟที่ร้าน และสัมผัสบรรยากาศของร้านกาแฟได้มากที่สุด เราจึงเลือกที่จะสื่อสารบรรยากาศเหล่านี้ผ่านการใส่ใจให้รายละเอียดข้อมูลที่ครบถ้วนในทุกแพ็กเกจจิ้งของผลิตภัณฑ์เมล็ดกาแฟ และให้ความสำคัญกับการตอบคำถามลูกค้าที่เข้ามาทางช่องแชตของร้าน”

“เพื่อให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากที่สุด นอกจากนี้ การสนับสนุนการขายของทางลาซาด้าก็มีส่วนช่วยให้ร้านของเราได้รับการมองเห็นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงแคมเปญดับเบิ้ล ดิจิต ร้านของเราจะมีผู้เข้ามาดูสินค้าจำนวนมาก และขายดีเป็นพิเศษ ด้วยการสนับสนุนเครื่องมือการขายต่างๆ จากลาซาด้า ไม่ว่าจะเป็น ส่วนลดพิเศษ คูปองส่งฟรี ซึ่งแคมเปญ 11.11 ที่ผ่านมา ทางร้านมียอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่า 5,000 เท่า” คุณวศิน กล่าว

ด้านคุณลาวัลย์ มะเจียกจร ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนป่าชุมชนตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ยอมรับว่าลาซาด้าเข้ามาสนับสนุนการขายสินค้าออนไลน์ผ่านทางร้าน Bamboo Litter เป็นอย่างดี ซึ่งช่วยเสริมรายได้และสร้างพลังใจให้กับคนในชุมชนได้อย่างมาก

คุณลาวัลย์ มะเจียกจร

“กลุ่มของเรามีสมาชิกประมาณ 118 คน และรวมตัวกันทำเฝือกไม้ไผ่ขายตามตลาด แต่ในช่วงโควิด-19 ตลาดไม่สามารถเปิดได้ จึงส่งผลกระทบต่อรายได้เป็นอย่างมาก ในช่วงแรกเราไม่เคยคิดว่าจะเปิดร้านออนไลน์ได้ แต่หลังจากที่มูลนิธิรักษ์ไทยได้จัดอบรมเกี่ยวกับการขายของออนไลน์และแนะนำให้รู้จักกับลาซาด้า”

“เราจึงลองสมัครเป็นร้านค้าบนลาซาด้าเมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา แม้จะเจอปัญหาจากการปรับเปลี่ยนช่องทางการขายมาบนออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการทำใบออร์เดอร์ที่ต้องใช้ QR Code การแพ็กสินค้าให้เรียบร้อย หรือการตอบคำถามลูกค้าให้รวดเร็ว แต่เราก็ค่อยๆ เรียนรู้ทักษะในการขายของออนไลน์มากขึ้นจากคอมเมนต์ของลูกค้า หลังจากนั้นเราแบ่งหน้าที่กันทำอย่างเป็นระบบ ช่วยกันทั้งชุมชน จนปัจจุบัน เรามีออร์เดอร์เฉลี่ยเดือนละ 600 ชิ้น ซึ่งทำให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีความสุขในการทำงานยิ่งขึ้น”

คุณลาวัลย์ กล่าวอีกว่า การขายของออนไลน์ไม่ยากเลย ถ้าเราพร้อมเรียนรู้ไปกับมัน ซึ่งลาซาด้าให้โอกาสเรามาก นอกจากมีการแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับร้านค้าในการเพิ่มยอดขาย เพิ่มศักยภาพของตัวเอง ยังดูแลกันเป็นอย่างดี มีการติดต่อมาให้คำแนะนำตลอด และยังมีการจัดแคมเปญให้ร้านค้าได้เข้าร่วมอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งยอดขายของร้านก็เพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เข้าร่วมแคมเปญต่างๆ ถือว่ากลุ่มของเรามีวันนี้ได้เพราะลาซาด้าอย่างแท้จริง โดยหลังจากนี้ก็ยังต้องการเดินเคียงคู่กับลาซาด้าต่อไป และอาจมีการเพิ่มสินค้าที่ทำจากเศษไม้เฝือกมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายยิ่งขึ้น

สำหรับร้านค้าที่สนใจเริ่มต้นเปิดร้านปัง ยอดขายเปรี้ยงไปกับลาซาด้า สามารถคลิกดูรายละเอียดที่ https://bit.ly/3oeAGZn