“โคก หนอง นา” กรมการพัฒนาชุมชน มุ่งหวังจะช่วยทำให้พี่น้องประชาชนมีเศรษฐกิจฐานรากที่มั่นคง ชุมชนพึ่งพาตนเองได้

"โคก หนอง นา" กรมการพัฒนาชุมชน มุ่งหวังจะช่วยทำให้พี่น้องประชาชนมีเศรษฐกิจฐานรากที่มั่นคงชุมชนพึ่งพาตนเองได้

โคก หนอง นากรมการพัฒนาชุมชน มุ่งหวังจะช่วยทำให้พี่น้องประชาชนมีเศรษฐกิจฐานรากที่มั่นคง ชุมชนพึ่งพาตนเองได้

การดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นากรมการพัฒนาชุมชน เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ของกรมการพัฒนาชุมชนที่มุ่งหวังว่า จะช่วยทำให้พี่น้องประชาชน มีเศรษฐกิจฐานรากที่มั่นคง ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2565 ซึ่งงานพัฒนาชุมชน ถือได้ว่าเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชน มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของประเทศชาติ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” จะเป็นหนทางหนึ่ง ที่จะทำให้กรมการพัฒนาชุมชน เดินไปถึงจุดมุ่งหมายที่ได้วางไว้ นำไปสู่สังคมอุดมคติ ร่วมกันได้อย่างประสบผลสำเร็จ

โคก หนอง นา” ซึ่งเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืนและเป็นรูปแบบหนึ่งของการแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการน้ำ โดยน้อมนำพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จ​พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 มาใช้ โดยแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10 ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตัวอย่างเช่นพื้นที่ส่วนแรก 30% ใช้สำหรับขุดสระน้ำ เพื่อเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำที่กินหรือใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้ รอบๆ พื้นที่ 30% ส่วนที่สองใช้สำหรับทำนา พื้นที่ส่วนที่สาม 30% ใช้ปลูกไม้ผล ไม้ต้น หรือไม้ที่ใช้สอยในครัวเรือน พื้นที่ที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์เป็นที่อยู่อาศัย

หนอง : หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ ในพื้นที่โคก หนอง นา การขุดหนองก็เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือยามจำเป็น ทั้งยังเป็นแหล่งรับน้ำยามน้ำท่วม

การขุดหนองนั้น จะขุดเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ 1 แห่ง หรือหลายแห่งก็ได้ตามขนาดและลักษณะของพื้นที่ โดยมี “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เป็นเส้นทางน้ำขนาดเล็ก เชื่อมต่อแหล่งน้ำทั้งหมดในพื้นที่เข้าด้วยกัน และเพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่ เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้

ทำฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก

และเพื่อให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน จึงได้มีการเปรียบเปรยหนองน้ำว่า “หลุมขนมครก” ซึ่งถ้าในท้องถิ่นนั้นๆ มีการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ 100 ครัวเรือน ก็จะมีหนองน้ำ หรือหลุมขนมครกอย่างน้อย 100 หลุม ที่นอกจากเป็นแหล่งกักเก็บน้ำแล้ว ยังช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้อีกด้วย