เอามื้อสามัคคี คือ อะไร

เอามื้อสามัคคี คือ อะไร
เอามื้อสามัคคี คือ อะไร

การเอามื้อสามัคคี เป็นกิจกรรมที่กระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนและเอกชน ผ่านกิจกรรมการพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับครัวเรือน ในโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ที่แสดงให้เห็นถึงการร่วมแรงร่วมใจกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามวัฒนธรรมและวิถีชีวิตเดิมที่พบในทุกพื้นที่ เป็นกระบวนการทำงาน

“ทำแบบคนจน” เพื่อขับเคลื่อนศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติ การใช้กิจกรรมเอามื้อสามัคคีมาขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในแต่ละแปลง จึงเป็นการรื้อฟื้นเอาวิถีชีวิตดั้งเดิมวัฒนธรรมอันดีของคนไทยย้อนกลับมาปฏิบัติให้เกิดการปฏิบัติตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ รวมทั้ง สร้างความเป็นจิตอาสาพัฒนาชุมชน จนเกิดเครือข่ายที่มีพลังและความสามัคคี

การเอามื้อสามัคคี เป็นการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง โดยมีการแบ่งหน้าที่วางแผนการเอามื้อสามัคคี เริ่มจากการสร้างความรู้ เตรียมความพร้อมกิจกรรม จากนั้นแบ่งหน้าที่ แบ่งคน แบ่งงาน ภายใต้แนวคิด “คึกคัก คล่องแคล่ว ครื้นเครง” และการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งกิจกรรมเอามื้อสามัคคี เป็นการเรียนรู้ 10 ขั้นตอนตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ

เช่น การร่วมกันเอามื้อห่มดิน ร่วมกันปลูกหญ้าแฝก การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ปลูกป่า 5 ระดับ การขุดคลองไส้ไก่ การทำหลุมขนมครก การปั้นคันนา การทำแซนด์วิชปลา ทำปุ๋ยชีวภาพ ปลูกดอกไม้ล่อแมลง รวมทั้งการปลูกพืชผักสวนครัวและพืชเศรษฐกิจ เช่น ข่า กล้วย ฝรั่ง มะม่วง พะยูง ยางนา เป็นต้น

เมื่อเสร็จจากกิจกรรมลงมือปฏิบัติก็มีทานอาหารร่วมกัน โดยแต่ละคนนำอาหารจากบ้านตนเอง ซึ่งเป็นผลผลิต จากการทำเกษตรมาแบ่งปันกัน และในระหว่างการทานอาหารก็จะมีการแบ่งปันความรู้สึกดีๆ การล้อมวงสนทนา เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้ทำจริง ซึ่งนอกจากจะได้มีการพัฒนาพื้นที่ของครัวเรือนต้นแบบ

ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติแล้ว ยังก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงจากการฝึกปฏิบัติของผู้เข้าร่วมเอามื้อสามัคคีทุกคน เกิดเครือข่ายเอามื้อสามัคคีของครัวเรือนต้นแบบ ที่จะคอยช่วยเหลือกันเอามื้อสามัคคีในแปลงอื่นๆ ในพื้นที่เครือข่าย ซึ่งจะก่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองกันช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สามารถเป็นพลังของชุมชนที่เข้มแข็งได้

สามเรื่องนี้จะทำให้ครัวเรือนมีความมั่นคง พออยู่ พอกิน พอใช้ และพอร่มเย็น พร้อมรับมือกับปัญหาด้านต่างๆ ได้ และที่สำคัญคือ มีการปรับทัศนคติให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาการได้รับการเรียนรู้ตลอดเวลาตลอดชีวิต เพื่อนำความรู้และคุณธรรมมาเป็นพื้นนฐานในการดำรงชีวิตนั่นเอง