‘เครียดลงกระเพาะ’ รับมือได้ไม่ยาก

‘เครียดลงกระเพาะ’ รับมือได้ไม่ยาก

โรคยอดนิยมของคนวัยทำงาน ซึ่งอาจต้องเผชิญความเครียดในแต่ละวัน ทำให้สมองสั่งการให้กระเพาะอาหารบิดตัวและหลังน้ำย่อยมากกว่าปกติ แต่อย่าตกใจไป อาการเหล่านี้รับมือได้ไม่ยาก และสามารถรักษาให้หายขาดได้ มาดูกันว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
#Healthy #bangkokbank #bangkokbanksme #sme

‘เครียดลงกระเพาะ’ แท้จริงแล้วก็คือโรคกระเพาะที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการกินอาหารไม่ตรงเวลา (ไม่มีแผลที่กระเพาะอาหาร) แต่เป็นการสั่งการของสมอง ยิ่งเครียดก็ยิ่งกระตุ้นให้กระเพาะเกิดการบิดตัว และหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ ทำให้เมือกในกระเพาะอาหารเสียสมดุลและเกิดการระคายเคืองในช่องท้องได้

เวลาเครียดลงกระเพาะเมื่อไหร่ บางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หายใจเร็ว ขนลุก อยากอาหารมากกว่าปกติ คลื่นไส้ รู้สึกหงุดหงิด หรือนอนไม่หลับ ถ้าใครมีอาการดังกล่าวนอกจากปวดท้องเวลาเครียดล่ะก็ สันนิษฐานได้เลยว่าคุณเข้าสู่ลัทธิเครียดลงกระเพาะไปครึ่งก้าวแล้ว

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

แต่ข่าวดีของโรคนี้ก็คือ โรคเครียดลงกระเพาะสามารถรักษาให้หายขาดได้ วิธีการก็พื้นๆ เลย ตามที่เราเคยได้ยินกันมาตลอด ทั้งการกินอาหารให้เป็นเวลาครบ 3 มื้อ เลี่ยงอาหารรสจัด ย่อยยาก อาหารหมักดอง ของมัน ของทอด ไม่สูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟต่างๆ

เรื่องการกินข้างบนฟังดูควบคุมง่ายอยู่ใช่ไหมล่ะ แต่ความจริงส่วนที่ทำยากที่สุดในการรักษาโรคนี้ คือการรับมือกับความเครียดนี่แหละ ซึ่งการผ่อนคลายความเครียดในแต่ละคนก็อาจแตกต่างกันไป บางคนก็เล่นเกม บางคนออกกำลังกาย บางคนก็ท่องเที่ยว บางคนเล่นกับสัตว์เลี้ยง รวมไปถึงการช็อปปิ้งก็สามารถช่วยลดความเครียดได้ด้วย แต่การช็อปปิ้งต้องระวังนิด บางทีช็อปเสร็จเห็นยอดบัตรเครดิตสิ้นเดือนอาจเครียดกว่าเก่าได้ด้วย

ซึ่งหากควบคุมปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคได้ ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหาร และการควบคุมความเครียดที่บอกไปข้างบนทั้งหมด ก็จะสามารถช่วยให้อาการดีขึ้นหรือหายขาดจากโรคเครียดลงกระเพาะได้เลยโดยไม่ต้องมาหาหมอเลยด้วยซ้ำ แต่หากลองปฏิบัติตัวตามที่แนะนำแล้วยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ดีกว่า

 

แหล่งอ้างอิง : โรงพยาบาลรามคำแหง 

5 วิธีปรับสมดุลชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดีของวัยทำงาน 

5 ท่ากายบริหารป้องกันอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง เรื้อรัง

Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก หรือสายด่วน
1333