ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร-แคลอรีต่ำ กำลังฮิตในจีน

ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารแคลอรีต่ำ กำลังฮิตในจีน

ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร อาหารแคลอรีต่ำในจีน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้หญิงที่ให้ความสำคัญกับรูปร่างและสุขภาพที่ดีมากขึ้น เราเลยนำข้อมูลพฤติกรรมและผลิตภัณฑ์ที่มีในตลาดจีนปัจจุบัน รวมทั้งโอกาสของตลาดนี้มาฝากกันเป็นไอเดียสำหรับผู้ประกอบการด้านอาหารที่สนใจในตลาดจีน
#FoodIndustry #china #bangkokbank #bangkokbanksme #sme

การขยายตัวของตลาดผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารในประเทศจีน ประกอบกับความต้องการของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการไทย เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนยุคใหม่เริ่มมีกำลังซื้อสูง และให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะภายหลังการระบาดของโรค COVID–19 ยิ่งท่าให้ผู้บริโภคชาวจีนหันมารักษาสุขภาพ และดูแลอาหารการกินมากขึ้น ซึ่งสะท้อนได้จากข้อมูลสถิติการซื้อ-ขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ในตลาดจีน

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารหรือทดแทนอาหารมื้อปกติ ที่สามารถเติมเต็มพลังงานให้แก่ร่างกายแต่มีปริมาณแคลอรีต่ำ กำลังกลายเป็นอาหารที่มีศักยภาพและกำลังเติบโตได้ดีในตลาดจีน โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการของผู้บริโภคชาวจีน ที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยในการควบคุมน้ำหนัก สามารถเลือกซื้อได้อย่างสะดวกสบาย และให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อร่างกาย โดยผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารที่พบมากที่สุดในจีน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แบบผง อาหารที่เป็นของเหลว ผลิตภัณฑ์ส่าหรับผสมน้ำดื่ม โจ๊ก และผลิตภัณฑ์แบบแท่งพลังงาน (Energy bars) ที่มีเส้นใย โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุและส่วนผสมที่มีคุณค่าทางโภชนาการอื่นๆ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ข้อมูลจาก Tmall แพลตฟอร์มออนไลน์ของบริษัทอาลีบาบา เปิดเผยว่า ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงถึง 3,000 หยวนต่อคนต่อปี หรือประมาณ 13,500 บาทต่อคนต่อปี ขณะที่ Euromonitor International บริษัทวิจัยการตลาดชื่อดังก็เปิดเผยข้อมูลว่า ขนาดตลาดหรือรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารในจีนสูงถึง 57.17 พันล้านหยวน หรือประมาณ 257.265 พันล้านบาท ในปี พ.ศ. 2560 และคาดว่าจะสูงถึง 120 พันล้านหยวน หรือประมาณ 540 พันล้านบาท ภายในปี พ.ศ. 2565 (อัตราแลกเปลี่ยน 1 หยวน เท่ากับประมาณ 4.5 บาท)

นอกจากนี้บริษัท Meridian Capital China บริษัทลงทุนด้านการค้าระหว่างประเทศของจีน ได้เปิดเผยข้อมูลเช่นเดียวกันว่า บริษัทที่เกี่ยวข้องในภาคธุรกิจผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารหลายแห่ง ต่างได้รับผลกำไรที่ดีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปี 2020 นี้ที่มีเหตุการณ์การระบาดของโรค COVID–19 ที่สามารถอธิบายผลลัพธ์ของภาคธุรกิจดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เมื่อผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มมีความรู้สึกว่าตัวเองอ้วนขึ้น จากการต้องกักตัวอยู่ภายในบ้าน ประกอบกับเริ่มใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ทำให้ตลาดผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ระหว่างปี พ.ศ. 2560–2563 เฉลี่ยร้อยละ 16 ต่อปี โดยราคาของผลิตภัณฑ์และกลุ่มผู้บริโภคมีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นในทิศทางเดียวกัน

กรณีศึกษาจากสตาร์ตอัพด้านอาหารในจีน

บริษัท Smeal (Shanghai) Biotechnology Co., Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ตอัพของจีน เปิดเผยข้อมูลว่า ในปี 2020 ยอดขายของบริษัทต่อเดือนเพิ่มขึ้น 4–5 เท่า ตั้งแต่เดือนมกราคม–สิงหาคม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคนิยมอาหารสะดวกซื้อมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรค ที่การซื้อของและรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นข้อจำกัดที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

โดยผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารของบริษัท จะเป็นผงบรรจุขวดสามารถปรุงเพื่อรับประทานได้ง่าย เพียงแค่เติม น้ำเย็น เขย่า และดื่ม ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะมีลักษณะเหมือนของเหลวที่มีหลายรสชาติ ได้แก่ รสช็อกโกแลต กาแฟ ชานม และงาดำ โดยแต่ละขวดมีปริมาณ 75 กรัม ราคา 18 หยวน หรือประมาณ 81 บาท มีปริมาณแคลอรี 270 แคลอรี ซึ่งต่ำกว่าอาหารปกติประมาณ 80 แคลอรี

นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจุบันผู้บริโภคชาวจีนส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น และบางครั้งก็รู้สึกผิดที่กินขนมหรืออาหารที่มีแคลอรีสูง ขณะที่ผู้บริโภคบางส่วนยังมีข้อจำกัดเรื่องรสชาติและความพึงพอใจในการรับประทานด้วย ดังนั้นสิ่งสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร คือ ต้องสร้างความสมดุลระหว่างการควบคุมปริมาณแคลอรี และความรู้สึกพึงพอใจในการรับประทานอาหาร

บริษัท Smeal ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในอดีตจะจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัทเฉพาะช่องทางออนไลน์บนแพลตฟอร์ม JD.com และ Tmall เท่านั้น แต่เมื่อเร็วๆ นี้ได้เปิดร้านค้าออฟไลน์ร่วมกับร้านจ่าหน่ายผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคลชื่อดังอย่างร้าน Watsons ด้วยแล้ว

โอกาสของตลาดผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร

โดยข้อมูลล่าสุดพบว่า ร้อยละ 80 ของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ Smeal เป็นผู้หญิงจากเมืองระดับ 1 และ 2 ของจีน (Tier 1–2) ขณะที่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดังของจีนอย่าง Xiaohongshu (เสี่ยวหงชู) เปิดเผยว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ มีจำนวนที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารประมาณ 200,000 โพสต์ และมีการโฆษณาทั้งแบบไลฟ์สดและคลิปวิดีโอสั้น ผ่านแพลตฟอร์มและ WeChat Official ด้วย ขณะที่บริษัทยักษ์ใหญ่เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภค ก็กำลังเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในตลาดผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารเช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น Quaker แบรนด์ข้าวโอ๊ต ของบริษัท PepsiCo ได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ในเดือนมิถุนายนของปีนี้ เช่นเดียวกับ Bestore แบรนด์ขนมขบเคี้ยวรายใหญ่ของจีน ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารมากถึง 27 รายการในเดือนสิงหาคมของปีนี้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคที่มีอายุระหว่าง 18–35 ปีเป็นหลัก

นอกจากนี้ยังมีบริษัทผู้ผลิตวิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของจีนอย่าง Byhealth ก็ได้เริ่มเข้าสู่ตลาดผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารเช่นกัน โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคเป็นคุณแม่ที่อายุน้อย และมีผลิตภัณฑ์หลักเป็นโปรตีนและไฟเบอร์พร้อมชงดื่ม (ผสมเชก) และเครื่องดื่มที่เป็นของแข็ง ซึ่งคาดว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างง่ายดาย และได้รับความนิยมมากขึ้นในระยะต่อไป

ปัจจุบัน ตลาดผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารของจีนอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการแข่งขัน และยังคงมีโอกาสสำหรับการพัฒนามากขึ้นในอนาคต เช่นเดียวกับตลาดในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น เนื่องจากรัฐบาลจีนกำลังเร่งสร้างสังคมที่มีความเจริญรุ่งเรืองในระดับปานกลาง และกำหนดระยะเวลาในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวภายในสิ้นปีนี้ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการในการบริโภคของผู้บริโภคชาวจีน ที่ต้องการพลังงานจากอาหารและรสชาติอาหารที่ดี และมีความต้องการบริโภคที่แสดงถึงความเป็นอยู่ที่ดีควบคู่กันไปด้วย

อย่างไรก็ดี สิ่งที่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารควรคำนึงถึงมากที่สุด เมื่อมีการแข่งขันในตลาดผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร ก็คือการกำหนดราคาที่สมเหตุสมผลกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อจะสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่มีความแตกต่างของระดับรายได้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจนและเพียงพอแก่ผู้บริโภคด้วย เนื่องจากคู่แข่งที่มีอยู่ในตลาดผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารจำนวนมาก อาจสร้างปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจนนำไปสู่การกำหนดมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารให้แก่ผู้บริโภคได้เช่นกัน

 

แหล่งอ้างอิง https://www.chinadaily.com.cn/

ส่านักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว 

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 

 

สินค้า Non-Dairy Yogurt เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร แก้ปัญหาล้นตลาด 

เมื่อผู้บริโภคต้องการอาหารที่มีนวัตกรรมและปลอดภัย

Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก หรือสายด่วน
1333