หลักเกณฑ์การออกแบบเครื่องหมายการค้าที่ SMEs ควรรู้

หลักเกณฑ์การออกแบบเครื่องหมายการค้าที่ SMEs ควรรู้
หลักเกณฑ์การออกแบบเครื่องหมายการค้าที่ SMEs ควรรู้

หลักเกณฑ์การออกแบบเครื่องหมายการค้าที่ SMEs ควรรู้

เพื่อหลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อน เสียเวลา ยื่นจดเครื่องหมายการค้าไม่ผ่าน ผู้ยื่นจดควรศึกษาข้อกำหนด กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเครื่องหมายการค้าให้เข้าใจถี่ถ้วน ก่อนทำการออกแบบและยื่นจด โดยเราเรียบเรียงข้อมูลทุกเรื่องที่คุณต้องรู้ไว้ในนี้แล้ว
#เครื่องหมายการค้า
#bangkokbank #bangkokbanksme #sme

หลังทำการออกแบบรีแบรนด์ให้กับสินค้าและบริการที่มีแล้ว สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรต้องให้ความสำคัญ นั่นก็คือ การยื่นจดเครื่องหมายการค้า เพื่อขอความคุ้มครองสิทธิ เช่นเดียวกับการยื่นขอจดลิขสิทธิ์ในส่วนของสินค้าหรือบริการ เพื่อป้องกันการแอบอ้างลอกเลียนแบบหรือสวมรอย ปกป้องสิทธิของตัวเอง ซึ่งผู้ประกอบการสามารถศึกษาค้นคว้ารายละเอียดข้อมูลประกอบการยื่นจดเครื่องหมายการค้าเพิ่มเติมได้ที่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา

และเพื่อหลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อน เสียเวลา ยื่นจดเครื่องหมายการค้าไม่ผ่าน ผู้ยื่นจดควรศึกษาข้อกำหนดกฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเครื่องหมายการค้าให้เข้าใจถี่ถ้วนก่อนทำการออกแบบและยื่นจด เพื่อเป็นการลดปัญหาข้อพิพาทฟ้องร้องในกรณีที่อาจจะไปพาดพิงแบรนด์อื่นให้เสื่อมเสีย โดยเฉพาะข้อห้ามต่างๆ ที่มีอยู่ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 6, มาตรา 7 และมาตรา 8 ในพระราชบัญญัตินั้นเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งมาตรา 4 ใจความสำคัญที่เกี่ยวข้อง ระบุไว้ว่า

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

เครื่องหมาย หมายความว่า ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่าง หรือรูปทรงของวัตถุหรือสิ่งเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน

เครื่องหมายการค้า หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น

เครื่องหมายบริการ” หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้ หรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายบริการนั้น แตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น     

มาตรา 6 เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ ต้องประกอบด้วย ลักษณะดังต่อไปนี้ 

(1) เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ 

(2) เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ และ

(3) ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว

มาตรา 7 เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ

(1) ชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมาย อันเข้าใจกันโดยธรรมดา ชื่อเต็มของนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือชื่อในทางการค้าที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ และไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง     

(2) คำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด     

(3) กลุ่มของสีที่แสดงโดยลักษณะพิเศษหรือตัวหนังสือ ตัวเลข หรือคำที่ประดิษฐ์ขึ้น    

(4) ลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียน หรือของเจ้าของเดิมของกิจการของผู้ขอจดทะเบียน หรือลายมือชื่อของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว    

(5) ภาพของผู้ขอจดทะเบียนหรือของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว หรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้วโดยได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้น ถ้ามีแล้ว    

(6) ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น ชื่อคำหรือข้อความที่ไม่มีลักษณะตาม (1) หรือ (2) หากได้มีการจำหน่ายเผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ก็ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ  

มาตรา 8 เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ห้ามมิให้รับจดทะเบียน    

(1)  ตราแผ่นดิน พระราชลัญจกร ลัญจกรในราชการ ตราจักรี ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตราประจำตำแหน่ง ตราประจำกระทรวง ทบวง กรม หรือตราประจำจังหวัด    

(2) ธงชาติของประเทศไทย ธงพระอิสริยยศหรือธงราชการ    

(3) พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย พระปรมาภิไธยย่อ พระนามาภิไธยย่อ หรือนามพระราชวงศ์    

(4) พระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือรัชทายาท    

(5) ชื่อ คำ ข้อความ หรือเครื่องหมายใด อันแสดงถึงพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือพระราชวงศ์

(6) ธงชาติหรือเครื่องหมายประจำชาติของรัฐต่างประเทศ ธงหรือเครื่องหมายขององค์การระหว่างประเทศ ตราประจำประมุขของรัฐต่างประเทศ เครื่องหมายราชการและเครื่องหมายควบคุมและรับรองคุณภาพสินค้าของรัฐ ต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือชื่อและชื่อย่อของรัฐต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ของรัฐ ต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศนั้น    

(7) เครื่องหมายราชการ เครื่องหมายกาชาด นามกาชาด หรือกาเจนีวา    

(8) เครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายกับเหรียญ ใบสำคัญ หนังสือรับรอง ประกาศนียบัตรหรือเครื่องหมายอื่นใด อันได้รับเป็นรางวัลในการแสดงหรือประกวดสินค้าที่รัฐบาลไทย ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐของประเทศไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศได้จัดให้มีขึ้น เว้นแต่ผู้ขอจดทะเบียนจะได้รับเหรียญ ใบสำคัญ หนังสือรับรอง ประกาศนียบัตร หรือเครื่องหมายเช่นว่านั้นเป็นรางวัลสำหรับสินค้านั้น และใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้านั้น แต่ทั้งนี้ต้องระบุปีปฏิทินที่ได้รับรางวัลด้วย    

(9) เครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรัฐประศาสนศาสตร์นโยบาย   

(10) เครื่องหมายที่เหมือนกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด หรือคล้ายกับเครื่องหมายดังกล่าว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสน หลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่ก็ตาม  

(11) เครื่องหมายที่คล้ายกับ (1) (2) (3) (4) (5) (6) หรือ (7) 

(12) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น   

(13) เครื่องหมายอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

ทั้งหมดนี้ เป็นใจความสำคัญที่ผู้ประกอบการควรศึกษาให้ละเอียด ก่อนทำการออกแบบเครื่องหมายการค้าและยื่นจดทะเบียน ทั้งนี้ หากต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการคำแนะนำช่วยเหลือเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ข้อบังคับในการออกแบบเครื่องหมายการค้า

แหล่งอ้างอิง : www.ipthailand.go.th 

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<

4 ข้อต้องรู้สกัดการถูกก๊อบปี้สินค้าในจีน

คัมภีร์ผู้ประกอบการมือใหม่ ถ้าไม่รู้ อย่าทำธุรกิจ

Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก หรือสายด่วน
1333