เทคนิคทำกำไรใน “สงครามตัดราคา”

ราคา กลยุทธ์หนึ่งที่มักใช้ได้ผล เทคนิคยอดนิยมที่ผู้ค้ามักใช้สร้างโอกาสในการขายสินค้าให้เหนือกว่าคู่แข่งในท้องตลาด นั่นคือ ลดราคาและจัดโปรโมชั่น อันนำไปสู่สมรภูมิราคา ที่ใครสายป่านสั้นกว่าอาจแพ้ล้มทั้งกระดาน ดังนั้น นำไปใช้ได้แต่ไม่ใช่สูตรสำเร็จ
#กลยุทธ์ราคา #bangkokbank #bangkokbanksme #sme  

บนโลกนี้อาจมีน้อยสิ่งที่เกิดขึ้นมาแบบสดใหม่ไม่เหมือนใครอย่างจริงแท้แน่นอน  แม้แต่เมล็ดพืชยังสืบทอดพันธุกรรมจากต้นแม่ ดังนั้น หลายๆ สิ่งที่เกิดขึ้นล้วนต่อยอดมาจากสิ่งเก่าๆ ในโลกของการทำธุรกิจก็เช่นกัน การจะเป็นผู้นำหนึ่งแบบไร้คู่แข่ง นั้นเป็นไปได้ยากพอๆ กับการที่จะผลิตสินค้าที่ไม่มีใครสามารถทำซ้ำหรือลอกเลียนแบบขึ้นมาได้ หรือต่อให้ทำขึ้นมาได้ก็จะมีความเป็นเอกเทศแค่เพียงชั่วเวลาสั้นๆ ด้วยอีกไม่นานก็จะถูกลอกเลียนแบบและทำซ้ำโดยคนอื่นตามมา เพราะนี่คือวงจรของโลกของสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้สิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว

ดังนั้น เรื่องการทำธุรกิจ การผลิตสินค้า แล้วมีคู่แข่งเกิดขึ้นในท้องตลาด ชนิดที่ผลิตสินค้าแบบเดียวกันแล้วขายตัดราคาในสงครามตัดราคาจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยาก เนื่องจากใครๆ ก็อยากมีพื้นที่ยืนทางตลาดให้แก่สินค้าตัวเอง ซึ่งในบางครั้งบางทีอาจจะไม่ใช่แค่การเลี่ยงหลบเพื่อให้สินค้าตัวเองจบสวยเพียงเท่านั้น เพราะหลายครั้งการที่จะจบสวยได้อาจต้องลงแข่งในสงครามตัดราคากับคู่แข่งด้วย จึงจะทำให้รอดตายผ่านสถานการณ์มาได้โดยไม่ปิดประตูเจ๊งไปเสียก่อน

แล้วจะลงสนามสู้ศึกในสงครามตัดราคาครั้งนี้อย่างไรให้ win-win โดยที่เราไม่ต้องเป็นฝ่ายถือมีดเถือเนื้อตัวเองจนตายคาสนามจริงๆ หากต้องตกอยู่ในสถานการณ์สินค้าที่เหมือนกับเจ้าอื่น การลงทุนหั่นราคาลงมาให้ต่ำกว่าก็มีแต่จะทำให้เสี่ยงต่อการปิดกิจการ และไม่สามารถสร้างความแตกต่างเพื่อหนีจากคู่แข่งได้ กลยุทธ์และชั้นเชิงทางการตลาดที่นำมาใช้รับมือเท่านั้นที่จะทำให้รอดจากสถานการณ์นี้ ซึ่งหนึ่งในไม้เด็ดที่ใช้สู้สงครามตัดราคาก็คือ กลยุทธ์การลดราคาล่อใจ (Loss Leader Pricing) 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

กลยุทธ์ลดราคาล่อใจ (Loss Leader Pricing)

กลยุทธ์หนึ่งที่ร้านค้าชั้นนำนิยมนำมาใช้ทำตลาดในการสู้ศึกสงครามราคา โดยการลดราคาแบบเกือบแตะต้นทุนไปจนถึงยอมขาดทุน เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้าชนิดนี้ ในขณะที่มีการเสนอขายสินค้าชนิดอื่นควบคู่ไปด้วย เพื่อจะได้ทำกำไรจากสินค้าตัวอื่นแทนสินค้าตัวที่ตัดราคาลง ด้วยการประเมินโอกาสเสนอขายสินค้าอื่นที่ทำกำไรได้จากมูลค่าของลูกค้าที่ได้มา (Net Customer Lifetime Value) ที่ต้องมีมากกว่ากำไรสินค้าที่เสียไป

ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในกลยุทธ์ตัดราคาล่อใจเพื่อแลกกำไรที่จะได้มา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สินค้าเป็นตัวคัดกรองแบ่งแยกลูกค้า เนื่องจากลูกค้าธรรมดาจะซื้อสินค้าที่ตัดราคาและไม่ทำกำไร ส่วนลูกค้าคุณภาพนอกจากจะซื้อสินค้าตัวที่ไม่ทำกำไรแล้ว ยังจะมีการซื้อสินค้าตัวอื่นเพิ่มเติมเป็นการเสริมกำไรให้แก่ผู้ประกอบการด้วย  

โดยการตั้งราคาสินค้าตัวล่อให้ถูกลงไปจนคาดหวังเรื่องกำไรไม่ได้นั้น จะเป็นการล่อใจและดึงดูดลูกค้าให้กลับมาซื้อซ้ำบ่อยครั้ง จึงเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าอื่นโดยรวมเพิ่มขึ้นด้วย และเป็นตัวช่วยกีดกันคู่แข่งรายใหม่ที่จะเกิดขึ้นตามมา จากการถูกบังคับด้วยกลไกทางการตลาดให้ตั้งราคาสินค้าถูกตามไปด้วย  

ฉะนั้น หากคู่แข่งสายป่านไม่ยาวพอ ก็จะล้มหายตายจากไปจากระบบเอง ภายใต้การทำธุรกิจที่ไม่ควรยึดติดอยู่ที่สินค้าชิ้นเอกเพียงอย่างเดียว แต่ควรเพิ่มความหลากหลายของสินค้าให้ครอบคลุมความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

ทั้งนี้ ก็เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสที่จะเสนอขายสินค้าอื่นที่ทำกำไรในขณะที่มีโอกาส และในสงครามราคาที่ห้ำหั่นกัน ก็ไม่ควรพลาดไปลดราคาสินค้าตัวพรีเมี่ยมที่มีราคาแพงลง จนอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าไปแล้วก่อนหน้า ถึงแม้จะต้องขายสินค้าตัวพรีเมี่ยมออกไปให้ผู้คนรับรู้ถึงคุณภาพของสินค้าหรือภาพลักษณ์ของแบรนด์แค่ไหน ก็ไม่ควรใช้วิธีการลดราคา แต่ควรใช้วิธีแถมสินค้าตัวอื่นเพิ่มเติมเข้าไปแทนการลดราคา ตราบใดที่สินค้าของเราไม่มีความแตกต่างจากเจ้าอื่น 

อย่างไรก็ตาม การลงทุนหั่นราคาลงมาก็ไม่ใช่หนทางที่จะประสบความสำเร็จได้เสมอไป เพราะในความเป็นจริงแล้วลูกค้าจะตัดสินใจซื้อจากตัวสินค้ามากกว่าราคาที่ลดลง แต่ยังประกอบด้วยปัจจัยที่หลากหลายและซับซ้อน

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 

6 เทคนิคเพิ่มยอดขายด้วย Video Content 

5 เทคนิคปั้นแบรนด์ให้ปังด้วยพลังรักษ์สิ่งแวดล้อม

Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก หรือสายด่วน 1333