เปิดเวที คิดใหม่ ไทยก้าวต่อ ภาคใต้ปรับตัวรับธุรกิจท่องเที่ยวเปลี่ยน

เปิดเวที คิดใหม่ ไทยก้าวต่อ ภาคใต้ปรับตัวรับธุรกิจท่องเที่ยวเปลี่ยน
เปิดเวที คิดใหม่ ไทยก้าวต่อ ภาคใต้ปรับตัวรับธุรกิจท่องเที่ยวเปลี่ยน

เปิดเวที คิดใหม่ ไทยก้าวต่อ ภาคใต้ปรับตัวรับธุรกิจท่องเที่ยวเปลี่ยน

เปิดเวที คิดใหม่ ไทยก้าวต่อ ประเดิมเวทีสาธารณะครั้งแรกในภาคใต้ 8 องค์กรหลักร่วมระดมสมองฝ่าวิกฤตโควิด-19 วางแนวทางช่วยคนไทยปรับตัวให้เท่าทันกับสังคมโลกที่เปลี่ยนไป ศึกษาความรู้ใหม่ ปรับรูปแบบทำงาน สร้างงานเพิ่ม ลดการกระจุกตัวด้านธุรกิจ

ภายใต้ความร่วมมือของ 8 องค์กร ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันนโยบายสาธารณะและการพัฒนา สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ และสำนักข่าวไทยพับลิก้าเป็นผู้ประสานงานโครงการ

นายประสิทธิ์ โอสถานนท์ ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ
นายประสิทธิ์ โอสถานนท์ ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ

นายประสิทธิ์ โอสถานนท์ ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ กล่าวว่าจุดมุ่งหมายสำคัญของสถาบันฯ คือการทำให้ประชาชนพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาปรับใช้

กรอบความคิดหลักของ โครงการคิดใหม่ ไทยก้าวต่อ คือวิเคราะห์บริบทของสังคมโลกและประเทศไทย ในช่วงก่อนและหลังวิกฤตโควิด-19 ว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ส่งผลกระทบอะไรตามมา เพื่อเตรียมความพร้อมให้คนไทยรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และวางโมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยฝ่าวิกฤตครั้งนี้

นายสันติ รังสิยาภรณ์รัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ 
นายสันติ รังสิยาภรณ์รัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้

นายสันติ รังสิยาภรณ์รัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ ชี้ว่าเมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 ภาคท่องเที่ยวที่กระจุกตัวทางฝั่งอันดามันกระทบอย่างรุนแรง เช่นเดียวกับภาคการผลิตที่เน้นส่งออกก็กระทบหนัก เพราะถูกระงับการสั่งซื้อเกือบทั้งหมด ขณะที่ภาคค้าปลีกค้าส่งปรับตัวค่อนข้างดีในบางกลุ่ม โดยหันไปพึ่งพาเทคโนโลยี เช่น ช่องทางค้าขายออนไลน์

นายสันติ ชี้ว่า ผู้ประกอบการจะต้องเร่งปรับตัวเพื่อรองรับพฤติกรรมใหม่ เช่น ภาคแรงงานอาจจะไม่เคลื่อนย้ายไปตามพื้นที่ที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่จะอยู่กับพื้นที่เดิม กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะต้องเคลื่อนที่ไปหาแรงงาน เทคโนโลยีจึงจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยอาจจะเข้ามารองรับหรือทดแทนแรงงาน

นายสมบูรณ์ พฤกษานุศักดิ์ ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมภาคใต้
นายสมบูรณ์ พฤกษานุศักดิ์ ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมภาคใต้

นายสมบูรณ์ พฤกษานุศักดิ์ ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ กล่าวว่า ก่อนโควิด-19 แพร่ระบาด เศรษฐกิจโลกชะลอตัวอยู่แล้ว รวมถึงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศลดลง หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น แม้การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลาย แต่ก็เกิดแพร่ระบาดระลอกสองในหลายประเทศแล้ว ส่งผลให้ประเทศไทยอาจต้องเลื่อนแผนเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวขยับออกไปอีก

นายสมบูรณ์ เสนอแนะว่า ภาครัฐควรขยายกรอบเวลามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่กำลังจะสิ้นสุด ให้ยาวไปจนถึงสิ้นปี 2563 เช่น การพักหนี้ ลดการส่งเงินประกันสังคม เพื่อช่วยเหลือด้านสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการ และต้องเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณภาครัฐ โดยเฉพาะงบในโครงการลงทุนของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ

นายณัฐนนท์ พงษ์ธัญญะวิริยา ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี
นายณัฐนนท์ พงษ์ธัญญะวิริยา ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี

นายณัฐนนท์ พงษ์ธัญญะวิริยา ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า เมื่อยังเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่ได้ ก็ต้องท่องเที่ยวกันเองภายในประเทศ เริ่มจากการท่องเที่ยวในพื้นที่ใกล้เคียง แล้วขยับไปสู่ภูมิภาคเดียวกัน ก็จะช่วยกระตุ้นในภาคท่องเที่ยวได้

ส่วนเกษตรกรต้องหาอาชีพทดแทน หรือปลูกพืชแซม เช่น การเลี้ยงแพะ ไก่เบตง วัว เพาะพันธ์ุปูทะเล ปลูกเมล่อน ซึ่งเป็นแนวทางที่สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ กำลังส่งเสริมในพื้นที่ภาคใต้ซึ่งได้ผลอย่างดี และการยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยให้คนไทยฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปได้

สำหรับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ได้วางแนวทางพัฒนาอาชีพเดิมและส่งเสริมอาชีพใหม่อย่างครบวงจร หนึ่งในนั้นคือ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพตามศาสตร์พระราชาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือโครงการทุเรียนคุณภาพ สร้างรายได้กว่า 60 ล้านบาท

หัวใจสำคัญของโครงการทุเรียนคุณภาพ คือ วางแผนเพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งระบบน้ำ สภาพดิน การใส่ปุ๋ย คัดดอกที่สมบูรณ์ ผสมเกสร ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ตัดแต่งผลทุเรียน เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพสูง โดยมีอาสาสมัครนับร้อยคนคอยดูแลให้คำแนะนำใกล้ชิด

เปิดเวที คิดใหม่ ไทยก้าวต่อ ภาคใต้ปรับตัวรับธุรกิจท่องเที่ยวเปลี่ยน
เปิดเวที คิดใหม่ ไทยก้าวต่อ ภาคใต้ปรับตัวรับธุรกิจท่องเที่ยวเปลี่ยน

นายเอกพล เพ็ชรพวง อดีตข้าราชการครู ลาออกมาทำเกษตรต่อจากพ่อ ปัจจุบันเป็นรองประธานกลุ่มทุเรียนแปลงใหญ่ นำทุเรียน 65 ต้น บนพื้นที่ 40 ไร่ ใน ต.กาหลง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส เข้าร่วมโครงการ ทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มมากขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น สามารถขายได้ราคาดีกว่าในอดีตหลายเท่าตัว

“เมื่อก่อนทุเรียนใน 3 จังหวัดใต้ กิโลกรัมละ 35 บาท หลังจากโครงการทุเรียนคุณภาพของมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ เข้ามาช่วยพัฒนา จนราคาทะลุ 100 กว่าบาท ต้องจ้างคนมานอนเฝ้าเพราะมีมูลค่าหลักล้านบาท แม้แต่นายหน้าชาวจีนยังลงมาถึง 3 จังหวัดเพื่อขอซื้อเหมาสวน ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน” นายเอกพล เล่าถึงชีวิตที่เปลี่ยนไปในช่วงไม่กี่ปี

นางมารียะห์ กียะ ชาวสวนทุเรียน จ.นราธิวาส วัย 50 ปี กล่าวว่า “ไม่เคยคิดว่าจะมีวันนี้ เมื่อก่อนฉันแบมือขอคนอื่นเขามาตลอด วันนี้ จากผู้ขอ ฉันกลายเป็นผู้ให้ ถ้าจะเสียดายก็ตรงที่โครงการเกิดขึ้นช้าไปหน่อย แต่อย่างน้อยวันนี้เราก็ทำได้แล้ว”