Aging Society กับวิถี New Normal

Aging Society กับวิถี New Normal
Aging Society กับวิถี New Normal

Aging Society กับวิถี New Normal

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นเมกะเทรนด์ที่ธุรกิจทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ ขณะที่การระบาดของโควิด-19 และการกักตัวอยู่บ้านทำให้พฤติกรรมของผู้สูงอายุหันหน้าเข้าออนไลน์มากขึ้น เรื่องนี้แบรนด์ต้องรับมืออย่างไร
#NewNormal #AgingSociety #bangkokbank #bangkokbanksme #sme

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหลังสิ้นสุดการแพร่ระบาดของโควิด-19 พฤติกรรมของคนทั่วโลกและคนไทยจะเปลี่ยนแปลงไปสิ้นเชิงจนกลายเป็น New Normal หรือ ชีวิตวิถีใหม่ ไปในทุกด้านของการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการใส่หน้ากากอนามัยที่จะกลายเป็นเรื่องปกติ ไม่จำเป็นว่าใส่เฉพาะตัวเองป่วยไข้ ตลอดทั้งการหมั่นล้างมือบ่อยครั้งเพื่อป้องกันเชื้อโรค หรือแม้แต่การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) โดยเฉพาะสังคมกลุ่มผู้สูงอายุ (Aging Society) ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อโควิดมากที่สุด

ดังนั้น การดำรงชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุต่อจากนี้ไปก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ต่อเนื่องสม่ำเสมอ แม้ว่าจากข้อมูลของกรมการแพทย์ยืนยันว่ากลุ่มผู้ป่วยโควิดในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุวัยทำงาน แต่กลุ่มที่มีการเสียชีวิตมากที่สุด คือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป โดยคิดเป็นร้อยละ 12.1 ส่วนผู้ป่วยอายุ 80-89 ปี จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 24 หรือหากติดเชื้อจำนวน 4 คน เสียชีวิตอย่างน้อย 1 ราย

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

การเว้นว่างระยะห่างทางสังคมทำให้กลุ่มผู้สูงวัยต้องอยู่กับบ้านมากขึ้น จากวิถีชีวิตเดิมต้องออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านพบปะเพื่อนฝูงในกลุ่มวัยเดียวกันเพื่อคลายความเหงา แต่หลังจากนี้ความตระหนักด้านสุขอนามัยสำคัญมากขึ้น ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผิดปกติจากเดิม

เมื่ออยู่บ้านนานเข้าทำให้กลุ่มผู้สูงวัยจะหันมาเสพสื่อ ทำกิจกรรม ช็อปปิ้ง และท่องโลกออนไลน์นานมากขึ้น อินเตอร์เน็ตจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นจนแทบขาดไม่ได้ ทุกอย่างจะทำงานผ่านระบบดิจิทัลทั้งหมด ทั้งการจ่าย การโอน หรือการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านออนไลน์จะกลายเป็นเรื่องปกติแทนที่การใช้เงินสด ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุแต่เดิมถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่มีความเชื่องช้าในการเข้าถึงเทคโนโลยี แต่ปัจจุบันภายหลังล็อกดาวน์กลับปรากฏว่าผู้สูงอายุในเมืองใหญ่มีความสามารถในการเข้าถึง และใช้เทคโนโลยีไม่ต่างจากคนกลุ่มอื่นเท่าไหร่นัก หรือจะเรียกได้ว่าเป็น New Normal สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุเลยก็ว่าได้

 

ตลาดผู้สูงวัยมีศักยภาพสูง กำลังซื้อสูง

ในอนาคตอันใกล้ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยแท้จริง เพราะในปัจจุบันนั้นประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 66.5 ล้านคน เป็นประชากรที่สูงอายุเกิน 60 ขึ้นไปจำนวน 9.4 ล้านคน หรือคิดเป็น 14% ของประชากรทั้งหมด และจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 5 แสนคน ซึ่งคาดว่าในปี 2568 จะมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุเกิน 20% ของประชากรทั้งหมด

นั่นหมายความว่ามูลค่าตลาดกลุ่มผู้สูงวัยจะมีกำลังซื้อขนาดใหญ่และกลุ่มมีกำลังซื้อสูง นักการตลาดและแบรนด์ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อสุขภาพที่สามารถตอบโจทย์กลุ่มผู้สูงวัยในช่วงชีวิตเปลี่ยนผ่านจากโควิด ไม่ว่าจะเป็นอาหารแปรรูป, เฟอร์นิเจอร์, สินค้าไลฟ์สไตล์, เครื่องมือที่ใช้ทางการแพทย์ และวัสดุก่อสร้างตกแต่งบ้าน ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าคาดว่าจะขายดีเป็นพิเศษ

สำหรับผู้ประกอบการหากต้องการเข้าไปเจาะตลาดกลุ่มผู้สูงอายุที่นับวันเป็นตลาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูงต่อเนื่อง ซึ่งต้องสร้างแบรนด์สินค้าให้มีคุณภาพมาตรฐานสากล ฝีมือประณีต และแม้ผู้สูงอายุจะเน้นการซื้อด้วยเหตุผลไม่ใช้อารมณ์ แต่ก็ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจเป็นหลักด้วย ดังนั้น ทั้งเหตุผลและความพึงพอใจต้องอยู่ควบคู่กัน แต่ส่วนใหญ่กับดักที่นักการตลาดมักใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีกำลังซื้อ คือการเจาะเข้าการขายตรงทางโทรทัศน์ โดยใช้กลยุทธ์ของถูกและดี คุ้มค่า ที่สำคัญคือ การใช้คำว่า ‘จำเป็น’ ก็สามารถสร้างแรงจูงใจได้อย่างมาก

มูลค่าตลาดพุ่งแตะ 1 แสนล้านรับผู้สูงวัยเพิ่มสูงขึ้น

นับตั้งแต่ปี 2562 ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ และในอีก 20 ปีข้างหน้าสังคมผู้สูงอายุจะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของจำนวนประชากร ซึ่งหลากหลายปัจจัยเกี่ยวข้อง เช่น คู่รักที่ไม่นิยมมีบุตร, อัตราการเกิดลดน้อยลง และการแพทย์มีการพัฒนามากขึ้น จึงเป็นเหตุผลให้ผู้สูงวัยมีอายุยืนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยปี 2561 จำนวนประชากรผู้สูงอายุอยู่ที่ 10,666,803 ล้านคน คิดเป็น 15% จากจำนวนประชากรทั้งหมดของไทย คาดว่าในปี 2564 จะเพิ่มเป็น 20% ของจำนวนประชากร ส่งผลให้สถานการณ์ตลาดผู้สูงอายุ มีแนวโน้มการเติบโตในกลุ่มธุรกิจที่สอดคล้องกับความต้องการผู้สูงอายุ อาทิ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ, ธุรกิจการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ธุรกิจเนิร์สซิ่งโฮมและโฮมแคร์, ธุรกิจความงาม ธุรกิจการวางแผนทางการเงิน เป็นต้น

สำหรับตลาดกลุ่มสินค้าและธุรกิจบริการสุขภาพในประเทศไทย มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 107,000 ล้านบาท โดยที่ผ่านมาพบว่าตลาดคนไข้ต่างชาติของโรงพยาบาลเอกชนไทยมีผู้ใช้บริการกว่า 3.42 ล้านครั้งในปี 2561 โดยแบ่งเป็นผู้ที่เดินทางมาท่องเที่ยวพร้อมกับรักษาพยาบาล หรือกลุ่ม Medical Tourism 2.5 ล้านครั้ง และกลุ่มชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทย 9.2 แสนครั้ง ตลาดสำคัญยังเป็นลูกค้าชาวเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น เมียนมา กัมพูชา และจีน ซึ่งจะเข้ามาชดเชยรายได้กลุ่มคนไข้จากตะวันออกกลางที่มีจำนวนลดลงต่อเนื่อง

ตลาดผู้สูงอายุในประเทศไทยจึงยังมีโอกาสในการทำธุรกิจได้อีกมากแบบคาดไม่ถึง ผู้ประกอบการที่ต้องการตอบโจทย์ความต้องการของผู้สูงอายุในการใช้ชีวิตประจำวันที่ลำบากยากขึ้น เนื่องด้วยสภาพร่างกาย สภาพความเป็นอยู่ของที่อยู่อาศัย การต้องการคนดูแลช่วยเหลือ พออายุมากขึ้นทุกอย่างดูเหมือนยากลำบากขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 

Baby Boomer Insights เข้าใจความคาดหวังของผู้สูงอายุ

COVID-19 กับโอกาสของธุรกิจเพื่อสุขภาพ

Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก หรือสายด่วน 1333