นศ.หอการค้าไทย ขายน้ำปลาร้าออนไลน์ช่วงโควิด สร้างรายได้หลักแสน

นศ.หอการค้าไทย ขายน้ำปลาร้าออนไลน์ช่วงโควิด สร้างรายได้หลักแสน

นศ.หอการค้าไทย ขายน้ำปลาร้าออนไลน์ช่วงโควิด สร้างรายได้หลักแสน

“ปลาร้า” สินค้าประเทศไทยเป็นที่ยอมรับทั้งด้านคุณภาพและมาตรฐาน สามารถเป็นเครื่องปรุงรสของชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีความนิยมมาก ปัจจุบันปลาร้าได้มีการพัฒนาเพื่อเป็นสินค้าในรูปแบบบรรจุขวดพาสเจอร์ไรซ์หลากหลายรสชาติ จัดจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกบริโภคได้ตามความต้องการ

แบรนด์ซีออน (Zeon) มาจากภาษาอีสานที่แปลว่าน้องสาว ผลิตภัณฑ์ปลาร้ากลุ่มคีโตรับประทานได้ง่าย ไม่มีผงชูรสเป็นปลาร้าคลีน เป็นอันดับหนึ่งสำหรับคนรักสุขภาพ

นายธีระศักดิ์ แท่นประมูล วิทยาลัยผู้ประกอบการ ชั้นปีที่4 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เล่าว่า ปลาร้าซีออน (Zeon) เป็นน้ำปลาร้าที่มีความเข้มข้นมาก จากที่ปลาร้าปกติตามท้องตลาดถ้ามีการตั้งไว้นาน ภายในขวดจะมีเศษขาวๆ ขุ่นๆ ที่เป็นเนื้อปลาและกระดูกปลาอยู่ในนั้น แต่ปลาร้าซีออนไม่มีลักษณะแบบนั้น

เมื่อนำปลาร้าของเราไปปรุงอาหารจะไม่มีกลิ่น แต่มีรสชาติที่อร่อย ถือได้ว่าเป็นปลาร้าที่ทุกคนสามารถรับประทานได้ดีต่อสุขภาพ ปลาร้าซีออนได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซีออน เน้นเรื่องมาตรฐานความสะอาดเป็นหลัก เป็นเครื่องการันตีความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค

ปลาร้าซีออนมีรสชาติดีและไม่มีกลิ่น สามารถใช้ปรุงรสกับอาหารต่างๆแทนน้ำปลา ซึ่งหนึ่งขวดสามารถเก็บได้นานเป็นระยะเวลา1 – 2 ปี สาเหตุที่เก็บได้ระยะเวลานาน เพราะผลิตภัณฑ์ปลาร้าซีออนไม่ใส่สารกันบูดและไม่ได้ใส่น้ำตาล แต่มีการใช้เกลือหิมาลัยซึ่งเป็นเกลือที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ มีลักษณะเป็นสีแดงชมพูกับสีดำ

อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินซีต่างๆ ทำให้สามารถคุมวัตถุดิบไว้ได้ รวมถึงเราใช้เนื้อปลาที่เข้มข้นจากปลาน้ำจืด จึงทำให้เกิดแบคทีเรียและจุลินทรีย์ได้น้อยมาก ที่สำคัญซีออนเคยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าประจำ แต่ในช่วงนี้เกิดวิกฤตโควิด-19 นี้ ทำให้ไม่สามารถส่งออกมากเหมือนแต่ก่อน แต่เชื่อว่าหลังวิกฤตยอดขายนั้นจะเติบโตอย่างมาก

ปลาร้าซีออน (Zeon)

เจ้าของแบรนด์คนเดิมยังกล่าวต่อว่า ตอนนี้อยู่ในช่วงวิกฤตไวรัสโควิด-19 ระบาดอย่างหนัก กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นคนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลและตามหัวเมืองหลักต่างๆ อายุประมาณ 30–40 ปี ซึ่งยอดขายในตอนนี้มาจากทางออนไลน์เป็นหลัก ทำให้ยอดขายซีออนขายดีมาก มียอดสั่งซื้อสินค้าเข้ามาทุกวัน

โดยยอดขายในแต่ละเดือนในช่วงวิกฤตแบบนี้เฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 – 300,000 บาทต่อเดือน หลังจากพ้นวิกฤตโควิด–19 มีการวางแผนจะบุกตลาดภายในประเทศให้ครอบคลุมมากกว่านี้ในปีนี้ ทุกร้านอาหารที่ขายอาหารคลีน หรือ อาหารเพื่อสุขภาพนั้นต้องมีผลิตภัณฑ์ซีออนวางขาย อีกทั้งจะมีการขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม เป็นต้น

อีกทั้งปลายเดือนพฤษภาคม ปี 63 นี้ จะมีการไปออกบู๊ธที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งก็ถือว่าเป็นการขยายตลาดและบุกไปยังตลาดเวียดนามได้เช่นกัน เพราะประเทศเวียดนามนั้นก็มีกลุ่มคนที่ต้องการปลาร้าระดับพรีเมี่ยมเช่นกัน ตอนนี้ส่วนหน้าร้านที่ผู้บริโภคต้องการที่จะไปซื้อเองนั้น

สามารถหาซื้อตามร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพหรือร้านขายอาหารคีโต หากสนใจสั่งซื้อช่องทางออนไลน์ สามารถค้นหาชื่อซีออนช่องทางต่างๆ ได้แก่ Shopee , Lazada และเว็บไซต์ www.zeonthailand.com 

 

เผยแพร่ครั้งแรก วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2563