ม.หอการค้าไทย จับมือ หอการค้าจังหวัดสกลนคร เผยผลวิจัยผ้าย้อมคราม สร้างสินค้าธรรมชาติสู่การค้าโลก

นายจิรภัทร เริ่มศรี นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด คณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้าไทย(ซ้าย), คุณเศกสรร ชนาวิโชติ ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดสกลนคร และรศ.ดร.จันทิมา เขียวแก้ว ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้าไทย

.หอการค้าไทย จับมือ หอการค้าจังหวัดสกลนคร เผยผลวิจัยผ้าย้อมคราม สร้างอัตลักษณ์สินค้าธรรมชาติแท้สู่ประตูการค้าโลก

.หอการค้าไทย – ปัจจุบันรัฐบาลได้กำหนดกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (.. 2560- 2579) เพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน ทำให้รัฐบาลได้มีการส่งเสริมและพัฒนาทักษะองค์วามรู้ของผู้ประกอบการไทย สามารถแข่งขันและสามารถสร้างสรรค์สินค้าและบริการรูปแบบใหม่ให้มีจุดเด่น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดจังหวัดสกลนคร จึงได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสกลนคร (2561-2565) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดให้มีคุณภาพมาตรฐานระดับอาเซียน สนับสนุนแหล่งท่องเที่ยว 3 ธรรมชาติของจังหวัดสกลนครเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้นและเพิ่มศักยภาพในการคมนาคมขนส่งทั้งทางบกและทางอากาศสู่อาเซียนและจีนตอนใต้ ตลอดจนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถบริหารจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน ที่สำคัญมีการวางแผนพัฒนาแผนกลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์ผ้าย้อมครามสกลนคร ให้เป็นสินค้าประจำจังหวัดและสร้างชื่อเสียงระดับโลก

ล่าสุด คณะนิเทศศาสตร์ .หอการค้าไทย ร่วมกับ หอการค้าจังหวัดสกลนครพาณิชย์จังหวัดอุตสาหกรรมจังหวัดพัฒนาชุมชนจังหวัดผู้ผลิตผ้าย้อมครามและผู้ประกอบการผ้าย้อมครามระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อตอบโจทย์งานวิจัย ภายใต้หัวข้อกลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์ผ้าย้อมครามสกลนครโดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยสำหรับแผนงานเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ตามทิศทางยุทธศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ประเภทบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาเอก ประจำปี 2562 ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

นายจิรภัทร เริ่มศรี นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด คณะนิเทศศาสตร์ .หอการค้าไทย เปิดเผยว่าจากผลงานวิจัย กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์ผ้าย้อมครามสกลนครครั้งนี้พบว่า อัตลักษณ์ผ้าย้อมครามสกลนคร 4 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (Brand as Product) พบว่า เป็นผลิตภัณฑ์ทำมือ (Hand made) ที่ต้องเอาใจใส่ทุกขั้นตอนของการผลิต โดยใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) หรือการใช้ฝ้ายและครามจากธรรมชาติที่อยู่ในจังหวัดสกลนครเท่านั้นมีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดี ทำให้สวมใส่สบายและไม่ทำให้เกิดกลิ่นอับชื้น เนื้อผ้ามีความนุ่มนวลในเวลาใช้ซับน้ำได้ดี ใช้เทคนิคมัดหมี่ให้เกิดลวดลายที่สามารถถ่ายทอดและสื่อสารอัตลักษณ์แต่ละชุมชนได้

ด้านองค์กร (Brand as Organization) พบว่าสะท้อนให้เห็นถึงองค์กรที่มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความซื่อสัตย์จริงใจ ใส่ใจผู้บริโภค ดำเนินงานสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนและสอดคล้องกับภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษเพื่อสืบทอดให้คงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน

ด้านบุคคล (Brand as Person) พบว่า บุคคลที่สวมใส่ หรือใช้ผ้าย้อมครามสกลนคร เป็นคนที่ใส่ใจวัฒนธรรมท้องถิ่น ช่วยเสริมให้มีความสมาร์ท ดูดี มีเสน่ห์ มีความอ่อนโยน ร่าเริง สดใส เป็นคนเข้มแข็ง และอดทน

ด้านสัญลักษณ์ (Brand as Symbol) พบว่า สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นธรรมชาติ เช่น สีครามธรรมชาติ และแนวคิดการสร้างลวดลายจากธรรมชาติที่อยู่รอบๆ ตัว มีความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของแต่ละชุมชน สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นธรรมะ เช่น การย้อมครามต้องเป็นคนที่มีสมาธิ ใจเย็น และผ้าย้อมครามสกลนครสะท้อนให้เห็นถึงความซื่อสัตย์ และจริงใจ

รศ.ดร.จันทิมา เขียวแก้ว ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่าจากการร่วมมือกับสภาหอการค้าจังหวัดสกลนครและหน่วยงานรัฐ เอกชนต่างๆ มากมาย ทำให้ผลงานวิจัยมีเนื้อหาน่าสนใจ การสื่อสารการตลาดผ้าย้อมครามของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจังหวัดสกลนคร ได้เลือกใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดที่หลากหลาย เพื่อสื่อสารถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ด้วยผลิตภัณฑ์ผ่านสีคราม เส้นใย และลวดลาย ในงานแสดงและจำหน่ายสินค้าของภาครัฐและเอกชน มีการจัดทำของที่ระลึก เปิดให้เข้าชมกลุ่มผ้าย้อมคราม มีการจัดกิจกรรมชุมชน จัดทำแผ่นพับแนะนำกลุ่ม และผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีการซื้อขายผ้าย้อมครามในหมู่บ้าน โดยมีศูนย์จำหน่ายสินค้าของชุมชนเป็นจุดศูนย์กลาง มีการนำเสนอการผลิตผ้าย้อมครามผ่านทางรายการวิทยุโทรทัศน์ การจัดทำสารคดีผ้าย้อมครามของสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานในจังหวัดสกลนคร เพื่อนำเสนอผ่านยูทูป (YouTube)  การจัดทำคู่มือ หนังสือ นิตยสารหรือวารสารเกี่ยวกับผ้าย้อมครามของหน่วยงาน และการใช้ตลาดออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊กในการนำเสนอและซื้อขายผ้าย้อมคราม ในบางกลุ่มสร้างแรงจูงใจและส่งเสริมการตลาดโดยอาศัยพ่อค้าคนกลางทั้งตลาดในระดับท้องถิ่น ตลาดในระดับจังหวัด ตลาดต่างประเทศ หรือส่งไปขายกับร้านค้าที่รู้จักกันในจังหวัดใหญ่หรืองานแสดงสินค้าที่หน่วยงานต่างๆ จัดขึ้น

นายเศกสรร ชนาวิโชติ ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดสกลนคร กล่าวว่าหอการค้าจังหวัดเริ่มสนับสนุนทำเรื่องผ้าย้อมครามย้อนหลังกลับไปเมื่อ 20 ปีที่แล้วตั้งแต่ในช่วงที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้เดินทางมายังจังหวัดสกลนคร  ในส่วนมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้เข้ามาทำวิจัยตรงนี้มองว่าเป็นส่วนที่น่าจะมาช่วยกันผลักดันและส่งเสริมด้วยประสบการณ์มุมมองความรู้เชิงธุรกิจ ทั้งในเรื่องวิชาการที่เข้ามาเติมเต็มหรือเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้มีการยกระดับผ้าย้อมครามให้ขึ้นไปอีกในระดับหนึ่ง ที่สำคัญเอกลักษณ์ต้องบอกว่าตัวครามที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการย้อมถ้าเป็นของจังหวัดสกลนคร เนื่องจากว่าด้วยสภาพของภูมิประเทศที่ประกอบไปด้วยภูพานและลุ่มน้ำเลยทำให้ครามสกลนครมีคุณลักษณะที่แตกต่างจากที่อื่นเช่น คุณภาพของการให้สี ภูมิปัญญาในการแปรรูปที่นำมาเป็นสีย้อม ตรงนี้จะเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งชี้ว่าเป็นของจังหวัดสกลนคร  ตอนนี้ทางหอการค้าจังหวัดสกลนครก็ได้มีการดำเนินการในเรื่องของการเสนอให้ภูมิปัญญาการย้อมครามเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ประเทศไทยเราตอนนี้ที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วคือเรื่องโขน เราก็เลยมองว่าภูมิปัญญาของการย้อมครามเป็นภูมิปัญญาของชาติพันธุ์ของไทย ช่วงถ้าเราหยิบเอาตรงนี้ขึ้นมาขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “Intangible Cultural Heritage” ประเทศไทยเราก็จะได้นำมาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของประเทศ การย้อมครามนี้เป็นภูมิปัญญาที่อยู่ในประเทศไทย