‘ดุสิตธานี’ ขยายธุรกิจอาหาร เปิดโมเดล ‘ดุสิต ฟู้ดส์’ ตั้งเป้า 3 ปี รายได้พันล้าน

ดุสิตธานีขยายธุรกิจอาหารเปิดโมเดล ดุสิต ฟู้ดส์ตั้งเป้า 3 ปี รายได้พันล้าน

กลุ่มดุสิตธานี เปิดโมเดลธุรกิจอาหาร Bring Asia to the World ภายใต้การขับเคลื่อนของ ดุสิต ฟู้ดส์วางกลยุทธ์สร้างการเติบโตจาก 2 ส่วนทั้ง non-organic คือ การเข้าไปลงทุนในบริษัทต่างๆ และ organic ออกและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เอง นำร่องด้วยแบรนด์ ของไทยซึ่งเป็นสินค้าอาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุง วางจำหน่ายต่างประเทศเป็นหลัก พร้อมเปิดตัวเป็นครั้งแรกในงาน THAIFEX World of Food Asia 2019  พร้อมตั้งเป้าหมายรายได้ 400 ล้านในปีนี้ ขณะที่ยุทธศาสตร์ 3 ปีวางเป้ารายได้แตะระดับพันล้าน

นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ดุสิตธานีจำกัด (มหาชนกล่าวว่า หลังจากบริษัทประกาศขยายการลงทุนเข้าสู่ธุรกิจอาหาร ในนามบริษัท ดุสิต ฟู้ดส์ จำกัด ปีนี้จึงเป็นปีแรก ที่ ดุสิต ฟู้ดส์มีโอกาสเข้าร่วมงาน THAIFEX World of Food Asia 2019 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอาหาร ที่มีผู้คนที่เกี่ยวข้องในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารให้ความสนใจเข้าร่วม

ซึ่งตรงกับวิสัยทัศน์ของดุสิตฟู้ดส์ คือ Bring Asia to the World หมายถึง การนำอาหารไทย และอาหารในภูมิภาคเอเชียออกสู่ตลาด เพราะการนำความเป็นไทยไปสู่โลกนั้น เป็นจุดยืนที่เข้มแข็งของกลุ่มบริษัทดุสิตธานีตั้งแต่เริ่มแรก โดยตั้งใจวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์จากดุสิตฟู้ดส์ ให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (Healthy) มาจากธรรมชาติ (Natural) ปลอดสารเคมี (Organic) และเป็นผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนเกษตรกรและชุมชนพื้นถิ่น (Supporting farmers and local communities)

ซึ่งทั้งหมดนี้ ทำให้มั่นใจได้ว่า การขยายธุรกิจอาหารอย่างเต็มรูปแบบ จะสร้างโอกาสในการลงทุน การสร้างผลตอบแทน และสร้างความแข็งแกร่ง ให้กับการดำเนินธุรกิจของกลุ่มดุสิตธานีได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

นายเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร กรรมการผู้จัดการบริษัท ดุสิต ฟู้ดส์ จำกัด กล่าวว่า โมเดลธุรกิจของดุสิต ฟู้ดส์ จะสร้างการเติบโตจาก 2 ส่วน คือ organic ซึ่งเป็นการออกและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เอง และ non-organic คือการเข้าไปลงทุนในบริษัทต่างๆ ซึ่งนโยบายการลงทุนของบริษัทจะเน้นลงทุนในธุรกิจที่สามารถเชื่อมต่อ สร้างคุณค่า และยกระดับเพิ่มมาตรฐานให้กับธุรกิจที่มีอยู่เดิม โดยวางเป้าหมายสร้างรายได้จากธุรกิจอาหารรวม 1,000 ล้านบาทในช่วง3 ปี (2562-2564) และในปีนี้คาดว่า จะมีรายได้จากธุรกิจอาหาร ไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท ซึ่งมาจากการเข้าไปลงทุนในบริษัทต่างๆ

ส่วนการออกและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เองนั้น ดุสิต ฟู้ดส์ ได้วางแผนสร้างแบรนด์ ของไทยซึ่งเป็นแบรนด์สินค้าอาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุง ที่เน้นวางจำหน่ายในต่างประเทศเป็นหลัก โดยลูกค้ากลุ่มเป้าหมายในช่วงแรก จะเป็นภัตตาคารที่มีระดับ (White Table Cloth) ก่อน จึงขยายไปร้านอาหารทั่วไป (Food Services) เป็นต้น

ทั้งนี้ในเบื้องต้น มีการผลิตออกมา 4 เมนู ได้แก่ แกงเขียวหวาน แกงมัสมั่น แกงกะหรี่ และก๋วยเตี๋ยวแขก ซึ่งแต่ละเมนู จะมี 2 รูปแบบ คือ พร้อมปรุง (Simmer Sauce, Ready to Cook) และแบบเข้มข้น (Concentrate Paste) ที่สามารถนำไปเพิ่มกะทิและน้ำตามสูตรที่ต้องการ และในอีก 2 ปีข้างหน้า มีแผนจะขยายเป็น 8 เมนู ได้แก่ ซอสผัดไทย และซอสปรุงรสต่างๆ เช่น ซอสพริกศรีราชา น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซอสหอยนางรม ก่อนจะขยับเป็น 20 เมนูในอนาคต

เราวางสัดส่วนการทำตลาดแบรนด์ ของไทยด้วยการส่งออกไปขายในต่างประเทศ 90% และขายในประเทศ 10% ซึ่งในตลาดต่างประเทศนั้น จะโฟกัสไปที่สหรัฐอเมริกาเป็นหลัก เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ และรู้จักอาหารไทยดีอยู่แล้ว โดยจะเจาะตลาดทั้งออนไลน์กับออฟไลน์ ทำตลาดให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายหลัก ที่เป็นพ่อครัวและผู้ประกอบกิจการอาหาร หรือการบริการทำอาหารฟู้ดเซอร์วิส โดยจะเริ่มวางจำหน่ายสินค้าล็อตแรกที่สหรัฐอเมริกา ในเดือนกันยายนนี้ ก่อนจะขยายไปยังยุโรป เช่น อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศสคุณเจตน์ กล่าวทิ้งท้าย