พ่อแม่ระวัง! ให้ยา ‘พาราเซตามอล’ ลูกน้อยเกินขนาด เสี่ยงตับอักเสบ รุนแรงถึงขั้นมะเร็ง!!

ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) แถลงข่าวเรื่อง “เตือนภัยยาที่มีพิษต่อตับ” ว่า ภาวะตับอักเสบ เป็นภัยสุขภาพที่หลายครมองข้าม ซึ่งมีทั้งชนิดเรื้อรัง และชนิดเฉียบพลัน โดยสาเหตุเกิดจากยาหลายชนิด โดยเฉพาะคีโตโคนาโซล ยาฆ่าเชื้อรา ชนิดรับประทาน และพาราเซตามอล ซึ่งพาราฯ เป็นยาลดไข้ที่ดีที่สุดที่มีการใช้ในปัจจุบัน แต่ที่ต้องเตือนเพราะหากรับประทานไม่ถูกวิธี เกินขนาดเป็นเวลานานจะเกิดพิษต่อตับๆ ล่าสุดมีรายงานว่าเกิดปัญหาในเด็กมากขึ้น ทั้งเจตนาฆ่าตัวตายและอุบัติเหตุกินเกินขนาด กว่า 1 พันคนต่อปี อายุน้อยสุด 1 ขวบ เพราะพ่อแม่ ให้ยาลดไข้พาราฯ เกินขนาด
ส่วนหนึ่งมาตากฉชากยาไม่ชัดเจน ทำให้ไม่ทราบว่าปริมาณที่รับมากเกินไป ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา( อย.) แจ้งว่าจะมีการทบทวนตั้งแต่ 2557 แต่ขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จ ส่วนยาคีโตโคนาโซนล่าสุดบริษัทผู้ผลิตได้ทำเรื่องขอยกเลิกยาในหลายประเทศ และอยู่ระหว่างการเรียกคืนเนื่องจากมีพิษต่อตับมากเช่นกัน แต่ในส่วนของประเทศไทยยังมีการใช้อยู่ถึง 89 ทะเบียนยา

รศ.พญ.วัฒนา สุขีไพศาลเจริญ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ปัจจุบันโรคมะเร็งตับเป็น 1 ใน 5 สาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ทั้งที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การที่เป็นโรคเรื้อรัง และการติดเชื้อตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการติดเชื้อตับอักเสบจำนวนมากการดูแลคนไข้ คือการควบคุมตับให้คงที่ ซึ่งพบว่าปัญหาตับอักเสบส่วนหนึ่งมาจากการใช้ยา ซึ่งหลายคนรับประทานยาด้วยความรู้สึกว่าไม่เป็นอันตราย บางคนใช้ผิดประเภทเพื่อทำร้ายร่างกาย บางคนใช้เพราะไม่รู้ทำให้มีปัญหาการทำงานของตับ ตับอักเสบ ตับแข็งและเป็นมะเร็งตับตามมา ทั้งนี้จากข้อมูลผู้ได้รับความเป็นพิษจากยาพาราฯ เมื่อปี 2558 พบเด็กอายุน้อยกว่า 6 ขวบ จำนวน 99 คน อายุ 7-13 ปี 30 คน ในจำนวนนี้พบว่ามีการใช้เพื่อฆ่าตัวตาย 18 คน อายุมากกว่า 13 ปี จำนวน 831 คน ในจำนวนนี้ใช้เพื่อการฆ่าตัวตาย 773 คน

“สำหรับคนที่เป็นโรคตับเรื้อรังอย่างไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ต้องรับประทานยาพาราไม่กินวันละ 2 กรัมหรือ 4 เม็ด การคำนวณการกินยาพาราฯ แบบง่ายๆ ให้คำนวณดังนี้ คือ เอาน้ำหนักตัวเราคูณด้วย 10 มากสุดไม่เกิน 15 ก็จะได้ปริมาณที่เหมาะสม เป็นต้น”รศ.พญ.วัฒนา กล่าว

img_2239-768x576

ภก.ศิริพร จิตรประสิทธิศิริ ตัวแทนชมรมเภสัชชนบท กล่าวว่า ที่น่ากังวลคือ ร้านขายของชำในหมู่บ้านต่างๆ พบมีการจำหน่ายยาพาราฯ ชนิดน้ำสำหรับเด็ก ที่มีความหลากหลาย ในเรื่องปริมาณความเข้มข้นของการกินแต่ละครั้ง ซึ่งปกติเด็กเล็กจะกินปริมาณ 120 มิลลิกรัม แต่ปัจจุบันมีสูงถึง 250 มิลลิกรัม ซึ่งถือเป็นยาที่ต้องจ่ายโดยเภสัชกร อีกทั้ง เด็กเล็กไม่ควรกินเกิน 120 มิลลิกรัมต่อครั้ง ดังนั้น ฉลากควรมีความชัดเจน ควรเป็นภาษาไทย และปรับขนาดให้ใหญ่ขึ้น

ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ประธานคณะทำงานสร้างเสริมความเข้มแข็งภาคประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล กล่าวว่า ข้อเสนอในการจัดการกับยาพาราฯ คือ 1. ยกเลิกทะเบียนยาพาราที่ไม่เหมาะสม ชนิดฉีด 300 มก.ต่อหลอด ถือว่าน้อยเกินกว่าจะออกฤทธิ์ ที่สำคัญบางชนิดยังมีการผสมยาชา 10 มก.แอลกอฮอล์ ฟอมาดีไฮด์ ถ้ายังมีอาจจะเสียงทำให้เสียชีวิต 2. ถอนทะเบียนยาพาราชนิดแตกตัวดูดซึมทันที (immediate release) ที่ไม่ใช่ยาขนาด 325 หรือ 500 มิลลิกรัม(มก.)ต่อเม็ด โดยเฉพาะสูตร 650 มก. ต่อเม็ด 3. ปรับสูตรผสมต้องให้มียาที่มีพาราฯ เป็นส่วนประกอบไม่เกิน 350 มก.ต่อเม็ด 4.ปรับสูตรยาพาราฯ ชนิดหยด เพราะมีความเข้มข้น 4 เท่า 500 มก.ของสูตรผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นพิษต่อตับ สามารถทำให้เด็กเสียชีวิตได้

“การกินยาพาราฯเกิน จะไม่เห็นอาการในเร็ววัน จะเห็นก็ต่อเมื่อระยะอันตราย เป็นตับอักเสบ ตับแข็ง และก่อให้เกิดมะเร็งตับแล้ว ดังนั้นต้องป้องกันดีที่สุด เพราะข้อมูลที่ผ่านมามีเภสัชกรคนหนึ่งได้รวบรวมข้อมูลจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เกี่ยวกับการใช้พาราฯเกินมาตรฐาน โดยพบว่าวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ร้อยละ 70.75 ได้รับพาราฯ เกินขนาด ขณะที่ทารกกินยาเกินมาตรฐานถึง ร้อยละ 36.84 ปัญหาของทารกน่ากลัวมาก ยิ่งในพื้นที่ต่างจังหวัด พ่อแม่เวลาไปซื้อยาพาราฯชนิดน้ำ ไม่ได้ดูว่าฉลากอย่างละเอียด ขณะที่ฉลากยาก็ไม่ชัดเจน เป็นภาษาอังกฤษ แต่ในความเป็นจริงยาพาราฯชนิดน้ำสำหรับเด็กกลับมีความเข้มข้นหลายขนาดมาก ทั้งๆที่ไม่ควรเป็นเช่นนั้น เพราะจะทำให้กินเกินขนาดและสะสมพิษต่อตับตั้งแต่เด็กไปจนโต จึงขอให้มีการปรับสูตรยาน้ำของเด็กให้เท่ากันหมด ทั้งเด็กเล็กและเด็กโต” ผศ.นพ.พิสนธ์ กล่าว

 

ที่มา มติชนออนไลน์