เปิดสูตร ขนมผิงโบราณ แป้งกรอบ ละลายในปาก ทำไว้ทานเพลินๆ คู่กับ ชา-กาแฟ

เปิดสูตร ขนมผิงโบราณ แป้งกรอบ ละลายในปาก ทำไว้ทานเพลินๆ คู่กับ ชา-กาแฟ
เปิดสูตร ขนมผิงโบราณ แป้งกรอบ ละลายในปาก ทำไว้ทานเพลินๆ คู่กับ ชา-กาแฟ

เปิดสูตร ขนมผิงโบราณ แป้งกรอบ ละลายในปาก ทำไว้ทานเพลินๆ คู่กับ ชา-กาแฟ

ขนมผิง เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำมาจากแป้งผสมกับน้ำตาล แล้วนำไปอบด้วยไฟบน-ล่างจนกรอบ มีรูปร่างแบนคล้ายไข่แมงมุม มีสีเหลืองนวล ขนมผิง มีต้นกำเนิดมาจาก มารี กีมาร์ หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม ท้าวทองกีบม้า ซึ่งได้สอนการทำขนมหวาน และอีกหลายๆ อย่าง ให้กับผู้ที่ทำงานอยู่ใกล้ชิด และได้กลายมาเป็นขนมไทยที่ได้รับความนิยม ซึ่งนั่นก็รวมถึง ขนมผิง ด้วยนั่นเอง

คุณครูนิด-นิสาภ์รัชฏ์ เหล่าก้อนคำ เจ้าของเพจ ห้องขนมครูนิด ได้มาแบ่งปันสูตรการทำขนมผิงโบราณนี้ให้ทำทานเป็นของว่างคู่กับชาร้อนหรือกาแฟ หรือจะทำขายก็ได้เช่นกัน โดยวัตถุดิบและวิธีการทำ ดังนี้

1. แป้งมันคั่วสุก 500 กรัม
2. น้ำตาลทรายขาว 250 กรัม
3. ไข่แดงของไข่ไก่ 2 ฟอง
4. หัวกะทิ 250 กรัม
5. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
คุณครูนิด-นิสาภ์รัชฏ์ เหล่าก้อนคำ เจ้าของเพจ ห้องขนมครูนิด
วิธีทำ
1. นำแป้งมันคั่วสุกไปตากแดด 1 แดดเพื่อไล่ความชื้นของแป้งแล้วนำไปอบควันเทียนให้หอม
2. นำน้ำตาล กะทิ และเกลือ ใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้ คนให้ส่วนผสมละลายเข้ากันดีกรองด้วยผ้าขาวบาง
หรือกระชอนตาถี่ๆ ลงในกระทะหรือหม้อ ยกขึ้นตั้งไฟใช้ไฟกลางเคี่ยวให้พอเป็นยางมะตูมยกลงพักให้เย็น ใส่ไข่แดงลงในน้ำเชื่อมคนให้เข้ากัน
3. ร่อนแป้งที่เตรียมไว้ลงในชามผสม ค่อยๆ ใส่น้ำเชื่อมลงในแป้ง สังเกตแป้งจับก้อนพอปั้นได้ จากนั้นนวดแป้งต่อจนแป้งเนียน
4. พักแป้งอย่างน้อย 6-12 ชั่วโมง แป้งเมื่อหมักได้ที่ เนื้อจะมีลักษณะอัดแน่น ค่อยๆ แกะแป้งแล้วนวดให้แป้งแตกตัวนำไปปั้นเป็นก้อนกลมๆ ขนาดตามต้องการ
5. ขั้นตอนปั้นขึ้นรูป ต้องใช้น้ำหนักมือเบาๆ แป้งจะได้ไม่แตก หรือจะใช้วิธีคลึงแป้งเป็นแท่งแล้วตัดเป็นก้อนขนาดตามต้องการก็ได้
6. จัดเรียงขนมวางลงในถาดอบที่ทาเนยขาว อบด้วยไฟบน-ล่าง อุณหภูมิ 175 องศา หรือผิงด้วยไฟกลางบน-ล่าง 15-20 นาทีหรือจนขนมสุก โดยระยะเวลาในการอบ ขึ้นอยู่กับเตาของแต่ละคน ให้สังเกตลักษณะแป้งขนมจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ นำออกจากเตาพักไว้ให้เย็น นำไปอบควันเทียนอีกครั้ง เพื่อให้ขนมมีความหอม
7. จัดเก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด อย่าให้โดนลม ขนมจะกรอบหอมละมุนเก็บได้นาน
เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2564