ที่มา | เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ |
---|---|
เผยแพร่ |
ความหมายของชื่อภาษามลายู “ราชาแมวป่า” ถิ่นกำเนิด ประเทศมาเลเซีย สถาบันวิจัยและพัฒนาการเกษตร มาเลเซียได้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ เมื่อประมาณ 20 ปีก่อน มีชื่อเรียกตามพื้นบ้านว่า “พันธุ์คุนยิต” หลังจากประกวดและได้รับความแพร่หลาย เป็นทุเรียนรสชาติดีนิยมจากผู้บริโภคในประเทศจีน จึงถูกขนานนามว่า ราชาแห่งทุเรียนมาเลเซีย “มูซังคิง” แต่อาจจะเรียกเพี้ยนเป็น เหมาซังคิง เหมาซานหว่อง เหมาซานหวัง หรือคนมาเลเซีย เรียกว่า ราจาคุนยิต (Raja Kunyit) มืชื่อวิทยาศาสตร์และลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนทุเรียนทั่วไป เป็นทุเรียนพันธุ์เบา ผลสวย
ลักษณะเด่น มีเอกลักษณะประจำพันธุ์ คือบริเวณก้นผลจะเป็นรูปดาว 5 แฉก เปลือกบาง เมล็ดเล็กและลีบบาง เนื้อสีเหลืองเข้มละเอียดเนียน รสชาติหวานมันและหวานแหลม มีกลิ่นเฉพาะตัว รสชาติอร่อยมาก ออกดอกติดผลใช้เวลาปลูก 4 ปี
การเก็บ นิยมปล่อยให้ผลทุเรียนสุกจัดจนหล่นจากต้นเอง
ตลาดและความนิยม คนจีน และมาเลเซีย ราคาทุเรียนมูซังคิงในมาเลเซียไม่เคยตกและไม่เพียงพอต่อความต้องการของชาวจีนและมาเลเซีย
พื้นที่เหมาะกับการปลูก ต้องเป็นเนินสูงและเขาชัน ประเทศไทยมีปลูกทางภาคตะวันออก ที่ จ.จันทบุรี ภาคใต้ที่ อ.เบตง จ.ยะลา ซึ่งมีภูมิประเทศและอากาศใกล้เคียงกับมาเลเซีย เป็นการบ้านสำหรับชาวสวนทุเรียนหมอนทองในเมืองไทย
เมื่อมีทุเรียนมูซังคิงคู่แข่งที่มีศักยภาพใกล้เคียงกัน จะต้องหันมามองย้อนดูว่าจะรักษาตำแหน่งในตลาดได้อย่างไร !!!