กินมะระ พืชรสขม มากประโยชน์ ปลูกง่าย ได้ตลอดปี 45-60 วัน ติดผล

โบราณท่านมักเปรียบเปรยถึงรสชาติอาหารที่เราได้ยินกันชินหูเสมอๆ ว่า หวานเป็นลม ขมเป็นยา และเชื่อแน่ว่าคนสมัยใหม่ก็คงเคยได้ยินคำโบราณที่ว่านี้กันมาบ้าง เพราะพืชผักบางชนิดที่มีรสขมมักไม่ค่อยมีใครอยากกินเอาซะเลย ยิ่งเป็นคนรุ่นใหม่สมัยนี้แล้วล่ะก้อ! มักจะร้องยี้ และแทบอ้วกกันเป็นแถว บางคนยังบอกว่า มีแต่คนแก่เท่านั้นแหละที่กินผักขมๆ แต่หารู้ไม่ว่ารสขมของผักเหล่านั้นมีสรรพคุณมากมาย ถึงแม้พืชผักที่มีรสขมจะไม่ถูกปากใครหลายๆ คน แต่ก็มากด้วยคุณค่า ซึ่งพืชรสขมเหล่านั้นนอกจากนำมากินเป็นอาหารแล้วยังเป็นยาได้อีกด้วย อาทิ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยให้เจริญอาหาร และเป็นยาระบาย เรามาดูกันว่ามีพืชผักรสขมอะไรบ้างที่ดีต่อสุขภาพเพื่อสุขภาพ

ท่านผู้อ่านคงเคยได้ยินชื่ออำเภอ อำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใกล้ๆ กรุงเทพฯ เรานี่เอง อำเภอนั้นมีชื่อว่า อำเภอผักไห่ และมีผู้สงสัยว่า…ผักไห่ นั้นมีลักษณะอย่างไร ขอบอกว่า ผักไห่ นั่นก็คือ มะระ เรานี่เอง

ก่อนจะมาถึงผักไห่ ที่เป็นชื่อเรียกของมะระในภาคกลาง ขอนำเรื่องราวของผักไห่ มาเล่าให้ฟังกันก่อน

ผักไห่ เป็นชื่อของพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งประเทศในทวีปเอเชียกินเป็นผัก เพราะมีรสขม และเชื่อว่ารสขมนั้นมีส่วนสร้างให้เกิดความสมดุลของอาหาร

ชาวอินเดีย มักนำผักไห่ไปปรุงเป็นแกง ชาวศรีลังกานำไปปรุงเป็นผักดอง ส่วนชาวอินโดนีเซียนั้นใช้กินเป็นผักสด  สำหรับประเทศไทยเรานิยมนำไปปรุงเป็นอาหารทั้งแกงเผ็ด แกงจืด รวมทั้งผัด และเป็นผักแนมกับน้ำพริก หรือกินคู่กับขนมจีน เป็นต้น

ผักไห่ เป็นชื่อเดิมเฉพาะท้องถิ่นในชนบทของชาวอยุธยาใช้เรียกกัน สำหรับคนทางภาคใต้โดยทั่วๆ ไปมักเรียก ลูกระ (มะระจีน) จะมีคนสงขลา บางคนเรียกว่า ผักเหย ส่วนทางภาคเหนือ เรียก มะห่อย, มะไห่, มะนอย และกะเหรี่ยงแถวแม่ฮ่องสอน เรียก สุพะชู, สุพะเด สำหรับทางภาคอีสานนิยมเรียก ผักไซ, ผักไส่ แต่ชาวภาคกลางจะเรียกผักชนิดนี้ว่า มะระ

สายพันธุ์มะระ ที่รู้จักกันทั่วไป

  1. มะระขี้นก มีลักษณะผลป้อม เล็ก มีรสขมจัด ผิวขรุขระ เป็นหนามแหลม เนื้อบาง ปลูกง่าย ผลดก
    มะระขี้นก ลักษณะผลป้อม เล็ก มีรสขมจัด ผิวขรุขระ เป็นหนามแหลม เนื้อบาง ปลูกง่าย ผลดก มีความเชื่อว่ามะระขี้นกสยบโรคเอดส์ได้
    มะระขี้นก ลักษณะผลป้อม เล็ก มีรสขมจัด ผิวขรุขระ เป็นหนามแหลม เนื้อบาง ปลูกง่าย ผลดก มีความเชื่อว่ามะระขี้นกสยบโรคเอดส์ได้
  2. มะระย่างกุ้ง ลักษณะเล็ก ยาว หัวท้ายแหลม ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-8 เซนติเมตร มีรสขมเพียงเล็กน้อย
    ลักษณะของมะระย่างกุ้ง ลักษณะเล็ก ยาว หัวท้ายแหลม ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-8 เซนติเมตร มีรสขมเพียงเล็กน้อย
    ลักษณะของมะระย่างกุ้ง ลักษณะเล็ก ยาว หัวท้ายแหลม ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-8 เซนติเมตร มีรสขมเพียงเล็กน้อย
  3. มะระจีน ผลมีขนาดใหญ่ สีเขียวอ่อน เนื้อหนา มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-8 เซนติเมตร มีรสขมเพียงเล็กน้อย (นิยมปลูกเป็นการค้า เพราะตลาดผู้บริโภคมีมาก)
    มะระที่นิยมของผู้บริโภคและเป็นที่ต้องการของตลาดคือ มะระจีน เพราะมีรสชาติดี (ไม่ขมมาก) เนื้อหนา ผลใหญ่
    มะระที่นิยมของผู้บริโภคและเป็นที่ต้องการของตลาดคือ มะระจีน เพราะมีรสชาติดี (ไม่ขมมาก) เนื้อหนา ผลใหญ่
  4. มะระสองพี่น้อง คือมะระที่กลายพันธุ์ไปจากมะระจีน ลักษณะผลจึงเหมือนมะระจีน เพียงแต่มีผลเล็กกว่า

ผักรสขมอีกชนิดหนึ่งที่ผู้เขียนได้พบในพื้นที่ทางภาคใต้ ส่วนมากชาวบ้านมักจะเรียกว่า ยอดแหมะ ผักแมะ หรือยอดยอง จากการสอบถามคนพื้นบ้านเขาบอกว่า มันก็คือ ยอดมะระขี้นกนั่นแหล่ะ ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านที่พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ บางคนนำมาปลูกเป็นผักสวนครัว ยอดอ่อนและผลอ่อนลวกกะทิจิ้มน้ำพริก หรือนำไปแกงเลียง แกงกะทิ แกงเผ็ด และผัดน้ำมัน (คนใต้จะนิยมกินมาก รสชาติจะออกขมนิดๆ แต่น้อยกว่ามะระขี้นก หรือผักไซ ของคนอีสาน)

สำหรับมะระที่นิยมของผู้บริโภคและเป็นที่ต้องการของตลาดคือ มะระจีน เพราะมีรสชาติดี (ไม่ขมมาก) เนื้อหนา ผลใหญ่ ส่วนมะระที่มีรสขมมากๆ อย่าง มะระขี้นก ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน เพราะเชื่อว่ามีสรรพคุณช่วยลดไขมัน และลดน้ำตาลในกระแสเลือดได้

ประโยชน์ และสรรพคุณของมะระ

มะระ มีคุณสมบัติในการรักษาโรค คือช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้เบาหวาน เป็นยาถ่ายระบายท้อง ลดความอ้วน แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำให้ตาสว่าง แก้เสมหะกำเริบ ระงับเสมหะ ขับพยาธิ แก้บิด รักษาโรคเลือด แก้โลหิตจาง แก้หืด แก้หลอดลมอักเสบ รักษาแผลเรื้อรัง แก้อาการคันตามผิวหนัง รักษาชันนะตุ (หนังศีรษะเป็นเม็ด) ผด ผื่น คัน แก้พิษบิด ถ่ายเป็นเลือด บำบัดโรคแผลฝีบวมอักเสบ และปวดฟัน และเชื่อว่า มะระขี้นกเป็นสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยโรคเอดส์ได้

เมนูง่ายๆ ใครๆ ก็ทำเป็น มะระผัดไข่
เมนูง่ายๆ ใครๆ ก็ทำเป็น มะระผัดไข่

ตำรายาที่ใช้มะระ

ผลสดๆ มาคั้นเป็นน้ำดื่ม สรรพคุณช่วยฟอกเลือดและกระตุ้นการทำงานของตับ ลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มอินซูลินตามธรรมชาติให้กับร่างกาย (เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานอย่างยิ่ง)

แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ใช้มะระจีน 1 ผล ขูดไส้ในออก หั่นฝอย ต้มน้ำดื่ม

แก้บิดปวดท้อง ถ่ายเป็นเมือก นำรากสดหนักสี่บาท ต้มกับน้ำตาลกรวด หนักสี่บาทเท่ากัน ดื่มแทนน้ำ (1 บาท จะเท่ากับ 15 กรัม)

แก้ฝีบวมอักเสบระบม ใช้ใบสดตำ คั้นเอาน้ำทาที่ฝี และใช้ใบแห้งบดผสมเป็นผงชงเหล้าดื่มตามต่างหาก

แก้ปวดฟัน ใช้รากสดตำพอก

แผลคัน ใช้ผลแห้งบดเป็นผงโรยที่คัน

สำหรับในต่างประเทศนิยมใช้มะระเป็นยาเช่นกัน ในฟิลิปปินส์ เปอร์โตริโก และศรีลังกา ใช้มะระรักษาโรคเบาหวาน แพทย์จีนเชื่อว่ามะระนั้นมีรสเย็น ใช้ขับพิษ ฟอกเลือด บำรุงตับ บำรุงสายตา และผิวหนัง ยังมีแม่บ้านชาวจีนนำมะระมาปรุงเป็นอาหารเพื่อขจัดสิวได้อีกด้วย

มะระใช้เป็นผักแนมกับน้ำพริก หรือกินคู่กับขนมจีน
มะระใช้เป็นผักแนมกับน้ำพริก หรือกินคู่กับขนมจีน

วิธีปลูกมะระ

มะระ เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นเถาเลื้อย ชอบพันขึ้นบนต้นไม้อื่น หรือร้านที่ทำไว้ ลำต้นมีขนนุ่มๆ สั้นๆ มีมือเกาะ ใบเดี่ยว ดอกเดี่ยว มะระมีอายุสั้นเพียงแค่ปีเดียว แต่สามารถปลูกได้ตลอดปี มะระจะให้ผลผลิตมากในหน้าหนาว หากจะปลูกมะระในหน้าร้อนควรนำเมล็ดไปแช่น้ำก่อนปลูก ประมาณ 1 ชั่วโมง ถ้าปลูกในฤดูฝนควรเพาะเมล็ดให้งอกเสียก่อนเพื่อป้องกันเมล็ดเน่า หากฝนตกชุกต้องทำทางระบายน้ำ อย่าให้น้ำขังในแปลงปลูก เพราะจะทำให้ต้นเน่าตาย

มะระชอบขึ้นในดินร่วนซุย ก่อนปลูกจึงต้องพรวนดินให้ร่วนเสียก่อน และผสมด้วยปุ๋ยคอก เมื่อเตรียมดินเรียบร้อยแล้ว นำเมล็ดมะระไปหยอดลงหลุม หลุมละ 3-4 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่ม คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง เมื่อต้นโตขึ้นให้คัดถอนทิ้งออกบ้างให้เหลือต้นที่แข็งแรงไว้ หลุมละ 2 ต้นก็พอ หมั่นพรวนดิน จนยอดไต่ค้างแล้วจึงหยุดพรวนดิน ทิ้งระยะประมาณ 45-60 วัน มะระจะติดผล ลูกมะระในช่วงระยะแรกๆ จะสมบูรณ์และมีลูกใหญ่

 

ที่มา เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์