จบ ป.โท มาปลูกมะนาว – เลี้ยงไส้เดือนผลิตปุ๋ย ช่วยลดต้นทุน พื้นที่น้อยก็ทำได้ กำไรงาม

กระแสคนรุ่นใหม่หันมาสนใจเกษตรกันเพิ่มมากขึ้น หลายคนหันกลับไปสานต่อพื้นที่
เกษตรของครอบครัว ต่อยอดให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เกิดการทำเกษตรแบบผสมผสาน แปรรูปและหาวิธีที่
จะช่วยลดต้นทุนในการผลิต และเห็นความสำคัญในเรื่องของสุขภาพทั้งเกษตรกรผู้ทำเองและผู้บริโภคด้วย

จะเห็นไอเดียการทำสวนผักกลางกรุง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ สวนผักดาดฟ้า
สวนผักบนคอนโดฯต่างๆ หรืออีกหลากหลายไอเดียของเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่มีความต้องการใช้พื้นที่ที่มี
อย่างสร้างสรรค์และคุ้มค่า

รู้จักเกษตร ตั้งแต่จำความได้

ทำเกษตรอินทรีย์ หัวใจหลัก “ครบวงจร”

คุณศศิธร จุ้ยนาม วัย 38 ปี เจ้าของฟาร์มลุงเครา รุ่นที่ 2 เล่าในฟังว่า “รู้จัก
อาชีพเกษตรกรรม มาตั้งแต่จำความได้ คลุกคลีกับสภาพแวดล้อมการทำเกษตรมาตลอด เนื่องจาก
ครอบครัวยึดอาชีพเกษตรกรรม เริ่มทำเกษตรกันตั้งแต่ประมาณปี 2520 ซึ่งตอนนั้นพื้นที่ตรงนี้ยังเป็น
ป่าอยู่เลย บนพื้นที่ 25 ไร่ของฟาร์มลุงเครา ผ่านการพัฒนาและปลูกพืชผล ทางการเกษตรที่หลาก
หลาย เป็นการปลูกพืชหมุนเวียน และพืชกระแสที่สามารถปลูกเพื่อสร้างรายได้ เลี้ยงครอบครัวได้

3

ตั้งแต่เด็กจำความได้ ช่วยพ่อแม่ทำการเกษตรมาตลอด จนตอนนี้เรียนจบปริญญาโท
ด้านเศรษฐศาสตร์ ก็ยังกลับมาสานต่อความตั้งใจการทำเกษตรต่อจากครอบครัว

ช่วงที่โรงเรียนปิดเทอมหรือมหาวิทยาลัยปิดเทอม เวลากลับมาบ้าน ก็เข้าสวนเสมอ
จึงมีความคิดจะสานต่องานเกษตรของครอบครัว ยุคคุณพ่อ ทำเกษตรโดยการปลูกผัก ทำนาข้าว ซึ่ง
รายได้หลักของสวนเกษตรแห่งนี้ ในตอนนั้นคือ ผักกระเฉดและกุยช่าย ซึ่งทำเงินให้ครอบครัวได้ไม่น้อย”

ต้องยอมรับว่า เมื่อก่อนการทำเกษตร ไม่ว่าจะปลูกผัก ปลูกข้าวมีการใช้ยาฆ่าแมลงกันเยอะ ต้นทุน
สูง แต่รับรายที่ได้ก็ถือว่าดีมาก พอช่วงปี 2539 เกิดน้ำท่วมใหญ่ สร้างความเสียหายต่อฟาร์มลุง
เคราอย่างมาก ตอนนั้นคิดเป็นเงินร่วมล้านบาททีเดียว คุณศศิธร บอก

ฟาร์มลุงเครา เริ่มศึกษาดูเรื่องชีวภาพ การทำเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ปี 2528 แล้ว ซึ่งตอนนั้นคุณ
ศศิธร บอกว่า เป็นการศึกษามาเรื่อยๆ จนกระทั่งปรับสวนมาเริ่มต้นใช้ชีวภาพกันในปี 2543 ก่อนจะ
ปรับการทำสวนเป็นแบบอินทรีย์เมื่อปี 2547 ถึงปัจจุบัน และสามารถนำการทำเกษตรไปสู่รูปแบบของ
ฟาร์มธุรกิจได้ เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทำเกษตรแบบผสมผสาน
ภายใต้แนวคิดที่เน้นทำให้ “ครบวงจร” ซึ่งคือหัวใจหลักของฟาร์มลุงเครา

เพาะไส้เดือน ทางเลือกลดต้นทุน

ทำเอง ใช้เอง ขายได้ กำไรงาม

คุณศศิธร เล่าให้ฟังว่า“ที่นี่ไม่จมปลักกับการเกษตรที่ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ยก
ตัวอย่างเช่น การปลูกผักชนิดต่างๆ มันมีทั้งที่ดีและเจ๊ง ไม่ได้ผลดีหรือขายได้ดีทั้งหมด ต้องปรับตัว
และหาสิ่งที่เหมาะสมกว่าทำต่อไป แต่ก่อนที่จะลงมือทำอะไร ต้องมีการศึกษาก่อน

และด้วยต้องการหาวิธีลดต้นทุนให้ต่ำลง จึงศึกษาหาข้อมูลต่างๆ มองเห็นในช่วง
หลายปีมานี้ มีผู้สนใจหันมาเลี้ยงไส้เดือนจำนวนมาก เนื่องจากใช้เงินทุนเริ่มต้นไม่สูงนัก กระบวน
การเลี้ยงไม่ยุ่งยาก และตลาดมีความต้องการสูง ทั้งสามารถช่วยลดต้นทุนให้ต่ำลงในเรื่องของการ
บำรุงพืชผลได้”

2

ฟาร์มลุงเคราจึงทดลองนำไส้เดือนมาเลี้ยง จนสามารถประสบผลสำเร็จ ซึ่งปัจจุบัน
ฟาร์มลุงเคราได้กลายเป็นฟาร์มผักครบวงจร ทั้งถือเป็นต้นแบบและศูนย์เรียนรู้ในการเลี้ยงไส้เดือน
ตั้งแต่การเลี้ยงขยายพันธุ์จนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง ตั้งแต่ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพบรรจุ
ขวด ขายอุปกรณ์เลี้ยง รวมถึง สร้างเครือข่ายทำรายได้ให้แก่ชุมชน จนได้กลายเป็นอีกธุรกิจ ทำ
รายได้อย่างงดงาม

การเลี้ยงไส้เดือนจะช่วยปรับสภาพดิน กำจัดขยะ และได้มูลไส้เดือนทำเป็นปุ๋ย
อินทรีย์ธรรมชาติคุณภาพดีมาใช้ในฟาร์ม เพราะไม่มีผลข้างเคียงต่อพืช ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ใช้ได้
กับพืชทุกชนิด เช่น ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนต้น กล้วยไม้ ผักสวนครัวหรือนำไปเพาะต้นกล้าได้

ไส้เดือนมีอยู่มากมายหลายพันธุ์ โดยฟาร์มลุงเคราเลือกเลี้ยงพันธุ์ “แอฟริกันไน
ท์ครอเลอร์” (African night crawler) หรือที่เรียกกันติดปากว่า AF กับพันธุ์ “ไทเกอร์”
(Eisenia foetida) เนื่องจากทั้งสองพันธุ์นี้ มีคุณสมบัติขยายพันธุ์รวดเร็ว และเหมาะเป็นปุ๋ย
คุณภาพดี ส่วนวัสดุที่ใช้เลี้ยง ประยุกต์ได้หลากหลาย เช่น กะละมัง บ่อซีเมนต์ ลังไม้ ฯลฯ หรือชั้น
กล่องพลาสติกลิ้นชัก ซึ่งเหมาะกับผู้มีพื้นที่น้อยในการเลี้ยง

โดยวิธีการเลี้ยง เริ่มจากเตรียมทำปุ๋ยหมักเพื่อเป็นที่อยู่สำหรับไส้เดือน
(Bedding) ใช้ส่วนผสม ของมูลวัว เศษเปลือกผักผลไม้ ฟาง ขี้เลื่อย ใบไม้ ขุยมะพร้าว นำมา
คลุกแล้วหมักรวมกันประมาณ 1-2 เดือน ระหว่างนั้นให้รดน้ำพอชุ่มชื้น เมื่อได้แล้ว ใส่ปุ๋ยหมักลงใน
ภาชนะที่จะเลี้ยงไม่ว่าจะเป็นกะละมัง บ่อซีเมนต์ เป็นต้นจากนั้น ปล่อยไส้เดือนลงไป แล้วคอยให้
อาหารไส้เดือนและรดน้ำสม่ำเสมอ เมื่อครบกำหนด 20 วันของรอบการเพาะเลี้ยงนั้น จะหยุดการ
รดน้ำต่อเนื่องไปอีก 10 วัน เพื่อเอามูลไส้เดือน

คุณศศิธร ชี้บอกว่า จะทำให้เลี้ยงไส้เดือนเจริญเติบโตดี ตัวโต ขยายพันธุ์รวดเร็ว
รวมถึงได้มูลไส้เดือนที่จะไปทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีคือ ต้องให้ไส้เดือนกินอาหารที่มีคุณประโยชน์สูง ซึ่ง
แต่ละฟาร์มจะมีสูตรอาหารของตัวเอง โดยที่ฟาร์มลุงเคราเน้นให้เศษผัก กับรำข้าว

4

ทำสวนผักกางมุ้ง ปลูกมะนาว

มองการแปรรูป ชี้คนรุ่นใหม่ทำเกษตรรุ่ง

ในส่วนของธุรกิจฟาร์มลุงเครานั้น เจ้าของฟาร์มรุ่นที่ 2 บอกว่า พื้นที่รวมมากกว่า
25 ไร่นี้ ทำเป็นฟาร์มผักครบวงจร มีทั้งปลูกผักสด สร้างโรงปลูกผักแบบกางมุ้ง เน้นเป็นผักที่ไม่ต้อง
ดูแล ไม่ยุ่งยาก ตัดขายแล้วก็สามารถแตกยอดขึ้นใหม่

อีกทั้งมองไปถึงการทำผลิตภัณฑ์แปรรูปต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปจากการเพาะเลี้ยงไส้เดือน
ซึ่งทางฟาร์มก็มีหลากหลายผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว แต่จะขยายไปยังกลุ่มผู้เลี้ยงอื่น และสร้างเครือข่ายใน
การจำหน่ายมากขึ้น เนื่องจากกระแสความนิยมที่เพิ่มขึ้น

ทั้งมองอนาคตและวางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นการจัดการของทางฟาร์มมานานแล้ว เป็นเทคนิควิธี
อย่างหนึ่งในการบริการงานเกษตรแบบครบวงจรนี้คือ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าจากการศึกษา เป็น
แผนระยะ 3-5 ปี ซึ่งตอนนี้พื้นที่ของฟาร์มลุงเคราปลูกมะนาวเป็นส่วนใหญ่ จึงมองไปสู่การแปรรูป
มะนาวในอนาคต

“อาชีพเกษตรกรรมยังมีความน่าสนใจอีกมาก เพราะตลาดยังต้องการอีก ตราบใดที่
คนยังต้องกินต้องใช้ เกษตรกรรมก็ยังเป็นอาชีพที่ไม่มีวันตาย แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้ประสบความ
สำเร็จ เกษตรกรต้องรู้จักทำเกษตรแบบผสมผสาน พยายามทำให้ครบวงจรมากที่สุด ซึ่งจะช่วยทั้งลด
ต้นทุน เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และลดความเสี่ยงในการทำเกษตร อีกทั้งตอนนี้เป็นยุคของคนรักสุขภาพ
อาหารการกินจึงเป็นสิ่งสำคัญ

และยิ่งคนรุ่นใหม่ด้วยแล้วที่สนใจ ยิ่งทำได้รุ่ง เนื่องจากมีองค์ความรู้ รู้จักนวัตกรรม มีเงินทุน พวก
เขาเหล่านี้จะสามารถพัฒนาไปได้อีกไกล” คุณศศิธร กล่าวทิ้งท้าย

ใครที่สนใจเรื่องราวของการทำเกษตรไปสู่ธุรกิจ สามารถติดต่อได้ที่ เลขที่ 4/1 หมู่ 4 ทวีวัฒนา
อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี โทรศัพท์ 089-497-8448 หรือทาง Facebook : ฟาร์มลุงเครา