เคล็ดลับภาษีธุรกิจเอสเอ็มอี จัดการอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

Time for Taxes Planning Money Financial Accounting Taxation Businessman Tax Economy Refund Money

เคล็ดลับภาษีธุรกิจเอสเอ็มอี จัดการอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ทุกวันนี้ธุรกิจเอสเอ็มอี เริ่มเป็นที่รู้จักและกลายมาเป็นรูปแบบธุรกิจที่ได้รับการจับตามองมากที่สุดในปัจจุบัน ทั้งจากคนรุ่นใหม่ที่มีไอเดียความชอบหรือความหลงใหลส่วนตัวและแปรรูปออกมาเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ หรือธุรกิจเล็กๆ ภายในครอบครัว แต่ก็อย่าลืมว่า การวางแผนบริหารการเงิน บัญชี และภาษีนั้น คือ สิ่งสำคัญที่ธุรกิจทุกขนาดควรต้องใส่ใจไม่ว่าคุณจะประกอบธุรกิจในรูปแบบไหนก็แล้วแต่

บทความนี้อาจเป็นอีกหนึ่งอาวุธนำพาเจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอี ช่วยจัดการภาษีได้อย่างอยู่หมัด

  1. พิจารณาให้ดีเลือกรูปแบบธุรกิจให้ถูกต้อง

เพราะรูปแบบของการจดทะเบียนธุรกิจมีผลต่องานบัญชีและอัตราภาษี ดังนั้นเจ้าของกิจการควรทำความเข้าใจให้ดี ซึ่งแต่ละประเภทล้วนมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป ก่อนที่เราจะทำธุรกิจนั้นต้องพิจารณาให้ดีก่อนว่า รายได้จากธุรกิจในแต่ละรูปแบบนั้นเสียภาษีต่างกันอย่างไร และธุรกิจของเราเหมาะสมกับรูปแบบไหนมากที่สุด จะเป็น ธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา อย่างร้านต่างๆ หรือ ธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งการจดทะเบียนแบบนิติบุคคลนั้นอาจมีข้อดีตรงที่ในระยะยาวจะมีอัตราภาษีคงที่มากกว่าแบบบุคคลธรรมดา แต่ขณะเดียวกันก็มีความยุ่งยากในเรื่องการจัดการบัญชี และการจัดทำเอกสารต่าง ๆ เพื่อแสดงต่อกรมสรรพากร

2.ศึกษาให้ดีก่อนเสียภาษี

แม้ภาษีจะเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่หลายคนก็ยังคิดว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยากอยู่ดี แต่หากศึกษาดูดีๆ แล้วจะเห็นว่า ถ้าวางแผนดี ก็ช่วยให้จ่ายน้อยลงได้ โดยไม่จำเป็นต้องหลบเลี่ยงด้วยซ้ำ เผลอๆ อาจจะจ่ายน้อยกว่าอีกด้วย เพราะยังมีสิทธิประโยชน์อีกมากมายที่ เอสเอ็มอี หลายคนยังไม่รู้ หรือมองข้ามไป อย่างเช่น เอสเอ็มอีที่จดทะเบียนนิติบุคคลจ่ายภาษีน้อยกว่าบุคคลธรรมดา เพราะสรรพากรคำนวณภาษีจากกำไร หากปีไหนขาดทุนก็ไม่ต้องเสีย หรือมีกำไรไม่ถึง 300,000 บาทก็ไม่ต้องจ่ายภาษี แต่หากปีไหนขายดีมีกำไรเกิน 300,000 บาทก็เสียภาษีในอัตราคงที่ 10% เท่านั้น ในขณะที่บุคคลธรรมดาเสียภาษีจากรายได้ในอัตราขั้นบันไดตั้งแต่ 5% – 35% เลยทีเดียว

  1. ใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี

จากนโยบายของภาครัฐที่เอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจเอสเอ็มอี ทั้งธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยให้สิทธิในการหักลดหย่อน ไม่ว่าจะมาจากค่าวิจัยและพัฒนา ค่าฝึกอบรมพนักงาน ค่าประกันภัยและค่าประกันชีวิตพนักงาน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถนำหลักฐานมาแสดงในการขอลดหย่อนภาษีได้ทั้งสิ้น หากเจ้าของกิจการศึกษาอย่างครบถ้วน จะสามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้อย่างคุ้มค่า ซึ่งในส่วนนี้สามารถศึกษาข้อมูลได้เพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร

4. การบริหารจัดการเงินสด แยกบัญชี และหาตัวช่วย

นิติบุคคลส่วนใหญ่ เลือกวิธีการที่สะดวกโดยการจ้างนักบัญชีหรือบริษัทดูแลบัญชีที่มีความละเอียด รอบคอบ เข้าใจกฎหมาย และมีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรงมาช่วยดูแล ในขณะที่เจ้าของกิจการเองควรรู้ว่า รายจ่ายส่วนบุคคลและรายจ่ายของบริษัทควรแยกออกจากกัน และรายรับรายจ่ายต่าง ๆ ของธุรกิจควรเก็บใบเสร็จเอาไว้ให้ครบถ้วน เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการแสดงรายจ่ายต่าง ๆ ของธุรกิจซึ่งรายจ่ายบางประเภทสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้

สำหรับเจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอี ที่กำลังมองหาตัวช่วยในการทำบัญชี การตรวจสอบบัญชีและการจัดการด้านภาษี  TMB ได้คัดสรรสิทธิประโยชน์ผ่านรีวอร์ดโปรแกรม TMB BIZ WOW มามอบให้สำหรับลูกค้าบัญชีเพื่อธุรกิจ TMB SME One Bank ที่ใช้ TMB BIZ TOUCH โดยเฉพาะ เพียงใช้คะแนนสะสมจากการทำธุรกรรมทางการเงิน 1,500 WOW แลกรับ ส่วนลด 3,500 บาท เมื่อรับบริการออกแบบและติดตั้งโปรแกรมบัญชีออนไลน์ Xero สำหรับธุรกิจบริการโดยเฉพาะ ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธ.ค. 2561

ติดตามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ www.tmbbank.com/bizwow/ หรือศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ TMB SME   โทร. 02- 828-2828 วันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 08.00 – 20.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดธนาคาร