แจกสองสูตร “เปี๊ยะหูเสือ-วุ้นเบญจรงค์ ” ทำกินได้ ทำขายดี

ปอเปี๊ยะสดเนียมหูเสือ

หูเสือ

ผักโบราณ มากคุณค่าทางยา มีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นคล้ายออริกาโน ในสมัยก่อนเป็นสมุนไพรที่หมอโบราณจะปลูกไว้ทุกบ้านเพื่อกันคุณไสย และนิยมรับประทานเป็นผัดสด แกล้มกับลาบหรือน้ำพริก ซึ่งเชื่อว่าใบหูเสือ มีสรรพคุณทำให้แข็งแรง บำรุงร่างกาย ช่วยเลือดลมไหลเวียนดี ทำให้จิตใจฮึกเหิม เป็นผักที่ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ชอบรับประทานมากชนิดหนึ่ง

นอกจากนี้ทางยา ยังเด่นในเรื่องของการแก้ไอ บำรุงปอดได้อย่างดีเยี่ยม คนสมัยก่อนทั้งจีน- ไทย -เขมร นิยมนำใบหูเสือมาประกอบอาหาร เช่น สับกับหมูทำหมูบะช่อ ต้มให้ลูกหลายกินแก้ไอ แก้หวัด หรือตำพอกแก้ฟกบวม แมลงสัตว์กัดต่อยก็ได้

ใบหูเสือ

 สูตรการทำ ปอเปี๊ยะสดเนียมหูเสือ

 ส่วนประกอบ

  1. หมูยอ                                     4          ชิ้น (หั่นตามยาว)
  2. แผ่นปอเปี๊ยะ                         4          แผ่น

น้ำจิ้ม (ประมาณ 200 มิลลิลิตร)

  1. หัวไชเท้า 1          แว่น
  2. แครอท 1          แว่น
  3. น้ำตาลทราย 1          ถ้วยตวง
  4. น้ำปลา 2          ช้อนโต๊ะ
  5. น้ำส้มสายชู 1/3       ถ้วยตวง
  6. พริกชี้ฟ้า 10        เม็ด
  7. ถั่วลิสง 1          ช้อนชา
  8. กระเทียม 1          หัว
  9. เกลือ ¼         ช้อนชา

ผักสำหรับห่อปอเปี๊ยะ

  1. ผักกาดหอม 20        กรัม
  2. โหระพา                                     20        กรัม
  3. สะระแหน่                                     20        กรัม
  4. ผักแพว                                     20        กรัม
  5. แตงกวา                                     20        กรัม
  6. แครอท                                     20        กรัม
  7. เนียมหูเสือ                                     50        กรัม

วิธีทำ

  1. นำหมูยอหั่นเป็นเส้นๆ นำมาทำเป็นส่วนประกอบ
  2. นำแผ่นปอเปี๊ยะสดไปแช่น้ำ จนนิ่ม นำผักและหมูยอมาห่อ
  3. ตัดแบ่งออกเป็นชิ้นพอคำ ตกแต่งหน้าด้วยดอกอัญชันและใบหูเสือ

วุ้นเบญจรงค์

ส่วนประกอบ (สำหรับ 6 ที่)

  1. น้ำคั้นบัวบก 75        มิลลิลิตร
  2. น้ำต้มกระเจี๊ยบ 150      มิลลิลิตร
  3. น้ำต้มอัญชัน 75        มิลลิลิตร
  4. น้ำต้มคำฝอย 75        มิลลิลิตร
  5. ผงวุ้น ¼         ช้อนชา (ต่อน้ำสมุนไพรและกะทิ 75 ml.)
  6. น้ำตาลทราย 1          ช้อนชา (ต่อน้ำสมุนไพรและกะทิ 75 ml.)
  7. น้ำกะทิอบควันเทียน 300      มิลลิลิตร (ชั้นละ 75 ml.)
  8. เกลือ 1/8       ช้อนชา (ต่อ 1 ชั้นกะทิ)

วิธีทำ

ขั้นที่ 1 นำน้ำกะทิ 75 มิลลิลิตร ผสมผงวุ้น ¼  ช้อนชา ผสมน้ำตาลและเกลือ คนให้เข้ากัน นำไปตั้งไฟให้เดือดแล้วยกลงแล้วหยอดลงแก้วทันที (1 ช้อนชา ต่อชั้น) รอให้วุ้นแข็งตัว

ขั้นที่ 2 ต้มน้ำสมุนไพร* (อัญชัน คำฝอย บัวบก กระเจี๊ยบ ตามลำดับ) 75 มิลลิลิตร
ผสมผงวุ้น ¼  ช้อนชา ผสมน้ำตาล ต้มให้เดือด แล้วยกลงแล้วหยอดลงแก้วทันที (1 ช้อนชา ต่อชั้น)

ขั้นที่ 3 หยอดจนครบชั้นบนสุด คือ กระเจี๊ยบ (หยอด 1 ช้อนชาครึ่ง) แล้วตกแต่งด้วยดอกไม้

 *หมายเหตุ

ต้มทีละชั้น น้ำกะทิ สลับกับน้ำต้มสมุนไพร

ประโยชน์สมุนไพร

  1. บัวบก : แก้ร้อนใน กระหายน้ำ เพิ่งการไหลเวียนเลือด ฤทธิ์ต้านการอักเสบ บำรุงสมอง
  2. กระเจี๊ยบแดง : แก้ร้อนในกระหายน้ำ  ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ  บำรุงเลือด  เพิ่มการไหลเวียนเลือด ลดความดัน-ไขมันในเลือด
  3. อัญชัน : เพิ่มการไหลเวียนเลือดเลี้ยงหลอดเลือดฝอยส่วนปลาย บำรุงสายตา ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม บำรุงร่างกาย
  4. คำฝอย : บำรุงโลหิต บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ลดไขมันในเลือดสูง
  5. กะทิ : กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน อุดมด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และไขมันจำเป็น ที่สามารถช่วยเผาผลาญให้เป็นพลังงานในตับโดยไม่สะสมเป็นไขมัน จึงช่วยทำให้มีกำลังได้

 

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  ศูนย์สารสนเทศสมุนไพรอภัยภูเบศร 037-211089  www.abhaiherb.com หรือ Facebookสมุนไพรอภัยภูเบศร