งิ้วไม่ตาย แค่โรยรา! วิกฤตงิ้วไทยปรับตัวเพื่ออยู่รอด ความหวังเล็กๆ แม้เหลือเพียง 10 กว่าคณะในไทย

งิ้วไม่ตาย แค่โรยรา! วิกฤตงิ้วไทยปรับตัวเพื่ออยู่รอด ความหวังเล็กๆ แม้เหลือเพียง 10 กว่าคณะในไทย
งิ้วไม่ตาย แค่โรยรา! วิกฤตงิ้วไทยปรับตัวเพื่ออยู่รอด ความหวังเล็กๆ แม้เหลือเพียง 10 กว่าคณะในไทย

งิ้วไม่ตาย แค่โรยรา! วิกฤตงิ้วไทยปรับตัวเพื่ออยู่รอด ความหวังเล็กๆ แม้เหลือเพียง 10 กว่าคณะในไทย

“ตราบใดที่วัฒนธรรม ความเชื่อ ความศรัทธาต่อเทพเจ้ายังคงอยู่ งิ้วจะไม่มีวันหายไป” 

งิ้ว หรือ อุปรากรจีน เป็นศิลปะการแสดงเก่าแก่ของจีนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับพันปี ผสมผสานการขับร้อง การเจรจา และลีลาท่าทาง เพื่อเล่าเรื่องราว โดยมักนำเหตุการณ์ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมถึงนำความเชื่อทางประเพณีและศาสนามาผสมผสานด้วย

งิ้ว เริ่มเข้ามามีบทบาทในไทย และกระจายไปตามชุมชนชาวไทยเชื่อสายจีน โดยคณะงิ้วในประเทศไทย ย้อนไปหลายสิบปีก่อนรุ่งเรืองมาก โดยคุณต๋อง-ธัชชัย อบทอง ผู้จัดการคณะงิ้ว ไซ้หย่งฮง คณะงิ้วอันดับ 1 ของไทย ได้เล่าว่า

คุณต๋อง-ธัชชัย อบทอง
คุณต๋อง-ธัชชัย อบทอง

ในปัจจุบัน คณะงิ้วใหญ่ๆ ในประเทศไทยเหลือไม่เยอะมาก เพียง 10 กว่าคณะเท่านั้น แต่คณะที่เป็นที่รู้จักและโดดเด่นนับได้ไม่เกิน 4 คณะ จากนั้นไปแต่ละคณะก็จะใช้คนไม่ถึง 20 คน สมัยก่อนนักแสดงมีเป็นร้อยคนดูเป็นพัน เมื่อก่อนรุ่งเรืองมากจริงๆ เวลาจะออกไปแสดงในแต่ละครั้งขาสั่นกันเลยทีเดียว แต่ปัจจุบันคนดูเป็นร้อยนักแสดงเป็นสิบ

สำหรับการว่าจ้างงานแสดง เทียบกับปีที่แล้ว คุณต๋อง บอกว่า ปีที่แล้วดีกว่า ปีนี้ให้ลองสังเกตจากเสียงประทัด ไม่มีความอึกทึกครึกโครม เมื่อก่อนทำงานทั้งปีไม่มีหยุด พอหลังโควิด 1 ปีหยุดไปแล้ว 3 เดือน อย่างช่วงตรุษจีนปีนี้มันซบเซามาก เช่นเดียวกับงานในห้าง เรตราคาก็ลดลง เรตราคาตอนนี้ รับงานละ 40,000 บาท แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าฝน ราคาก็จะลดลง บางครั้งเหลือ 25,000 บาท แต่กลับกันค่าใช้จ่ายก็มาก เพราะมีสมาชิก 40-50 คน 

ทางเถ้าแก่ก็จะคอยสนับสนุน ถึงแม้จะทำแล้วขาดทุนก็ตาม แต่ด้วยใจรักและพร้อมที่จะรักษาวัฒนธรรมการแสดงงิ้วไว้ จำต้องปรับเปลี่ยน เพิ่มความแปลกใหม่ โดยนำจอแอลอีดีมาประกอบเป็นฉากหลัง คงคุณภาพการแสดงเพื่อคนดู ใช้ตัวแสดงที่หลากหลาย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการลงทุน ในอดีตอาจจะมองเป็นธุรกิจได้ แต่ปัจจุบัน หากจะมองเป็นธุรกิจ พูดสั้นๆ ว่า “ไม่ไหว อยู่ไม่ได้” นักแสดงงิ้วบางคนเขาก็ต้องมีอาชีพอื่นมารองรับ 

หากพูดถึงความเปลี่ยนแปลงจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ต่างกันราวกับฟ้าดิน คนจ้างงาน คนมาดู 100% หายไปประมาณ 70% แต่ยังมีชาวไทยเชื้อสายจีนที่เขายึดถือเรื่องเทพเจ้า งิ้วที่ยังอยู่ได้เพราะว่าเทพเจ้า การแสดงของงิ้วเอาไปแสดงให้กับเทพเจ้าดู ถ้าไม่มีเทพเจ้าก็ตัวใครตัวมัน เหมือนแบบว่าคนไทยเชื้อสายจีนเขายังคงมีความเชื่อในเรื่องตรงนี้อยู่ “ถ้าความเชื่อยังคงอยู่ ก็ยังคงอยู่ได้ในทุกยุคสมัย” 

การปรับตัวอย่างมากอีกรอบหนึ่ง จะเป็นในเรื่องของการแสดง ที่จะนำมายากลเข้ามาใช้ อย่างงิ้วเปลี่ยนหน้า หรือการแสดงงิ้วแบบร้องไทยแต่ใช้ทำนองจีน ให้เข้ากับยุคให้เข้ากับคนรุ่นใหม่ วันใดวันหนึ่งอนาคตงิ้วมันอาจจะลืมเลือนไป เแต่มันคงไม่หายไป เพราะว่าคนรุ่นใหม่ๆ ที่อยากจะอนุรักษ์เอาไว้ก็ยังมีอยู่

สำหรับเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปของอาชีพงิ้ว รอติดตามเรื่องราวเต็มๆ ได้เร็วๆ นี้