คนจนมีสิทธิไหมคะ สิทธิขั้นพื้นฐานมีอะไรบ้าง ที่ประเทศนี้มอบให้

คนจนมีสิทธิไหมคะ สิทธิขั้นพื้นฐานมีอะไรบ้าง ที่ประเทศนี้มอบให้

“คนจนมีสิทธิ์ไหมคะ คนจนมีสิทธิ์ไหมคะ ปริญญาไม่มี แต่…” ได้อะไรบ้างในประเทศนี้

ถือเป็นเพลงติดหูของคนทั้งประเทศไปแล้วกับเนื้อความข้างต้น ถึงกระนั้นก็มีคนนำไปต่อยอดเนื้อหา หาว่าเป็นคำพูดที่หยาบโลน ต่ำ ไร้เกียรติ ไร้ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ แต่หารู้ไม่ ว่าก่อนที่โลกนี้จะมีกฎเกณฑ์อะไรมาครอบคลุม สิ่งนั้นเป็นมากกว่าพระเจ้ามาก่อน

อื่นใด เรื่องราวที่เราจะคุยกันต่อไปนี้ไม่ใช่เรื่องอย่างว่า แต่คือเรื่องของ “คนจน” ว่ายังคงมีสิทธิอะไรบ้างในประเทศที่ตนเกิดมา

ซึ่งแน่นอน ทันทีที่เกิดมาเราต่างได้รับสิทธิในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง แต่สิทธิเหล่านั้น หาใช่ทุกกลุ่มและทุกชนชั้นจะเท่ากันไปทั้งหมด บางคนก็ได้รับสิทธิมากกว่า บางคนก็ได้สิทธิน้อยกว่า และหลายคนก็ไม่เคยได้รับสิทธิเลย

วันนี้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ จะพาไปสำรวจว่าสิทธิอันจริงแท้ของมนุษย์คนหนึ่งในประเทศไทยได้รับอะไรบ้าง

 

บัตรทอง

หลายคนอาจมีความเข้าใจเบื้องต้นว่า สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท หรือสิทธิบัตรทองจะคุ้มครอง ผู้สูงอายุ แรงงานนอกระบบ หรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ  

หากขยายความสิทธิบัตรทองจะครอบคลุมสิทธิแก่ คนไทยที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก ซึ่งยังไม่ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจใดๆ รวมไปถึงยังไม่ได้รับสิทธิประกันสังคม ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะมีสิทธิหลักประกันสุขภาพตามกฎหมาย และสามารถลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  

ยกตัวอย่างกลุ่มคนที่ได้รับสิทธิบัตรทอง เช่น  

เด็กแรกเกิด ที่ไม่ได้มีสวัสดิการข้าราชการจากพ่อแม่ 

บุตรข้าราชการคนที่ 4 (เนื่องจากสิทธิข้าราชการคุ้มครองบุตรเพียง 3 คน) 

ข้าราชการที่เกษียณอายุหรือออกจากข้าราชการ โดยไม่มีบำนาญ 

ผู้ประกอบอาชีพอิสระและไม่ได้เป็นผู้ประกันตน ฯลฯ 

 

ประกันสังคม

สิทธิประโยชน์ประกันสังคมแต่ละมาตรา

มาตรา 33

คุณสมบัติ : เป็นลูกจ้าง/พนักงานของบริษัทเอกชน

เงินสมทบ : 5% ของเงินเดือน และสูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์ : 7 กรณี

1. เจ็บป่วย

2. ทุพพลภาพ

3. เสียชีวิต

4. คลอดบุตร

5. สงเคราะห์บุตร

6. ชราภาพ

7. ว่างงาน

วิธีสมัคร : นายจ้างดำเนินการให้

มาตรา 39

คุณสมบัติ : เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 แล้วลาออกไม่เกิน 6 เดือน, ส่งเงินสมทบมาตรา 33 มามากกว่า 12 เดือน

เงินสมทบ : 423 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์ : 6 กรณี

1. เจ็บป่วย

2. ทุพพลภาพ

3. เสียชีวิต

4. คลอดบุตร

5. สงเคราะห์บุตร

6. ชราภาพ

วิธีสมัคร : สมัครด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคม

มาตรา 40

คุณสมบัติ : อาชีพอิสระทั่วไป เช่น ค้าขาย ฟรีแลนซ์ เกษตรกร, ไม่เคยเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39

เงินสมทบ : มี 3 ทางเลือก

ทางเลือกที่ 1 : 70 บาท/เดือน

ทางเลือกที่ 2 : 100 บาท/เดือน

ทางเลือกที่ 3 : 300 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์ : มี 3 ทางเลือก

ทางเลือกที่ 1 : เงินทดแทนเจ็บป่วย/ทุพพลภาพ/เสียชีวิต

ทางเลือกที่ 2 : เงินทดแทนเจ็บป่วย/ทุพพลภาพ/เสียชีวิต/ชราภาพ

ทางเลือกที่ 3 : เงินทดแทนเจ็บป่วย/ทุพพลภาพ/เสียชีวิต/ชราภาพ/สงเคราะห์บุตร

วิธีสมัคร : มี 3 วิธี

1. สมัครที่สำนักงานประกันสังคม

2. สมัครผ่านเว็บไซต์

3. สมัครที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส

 

รถเมล์ฟรี

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ “บัตรคนจน” รอบใหม่เพิ่มวงเงินค่าเดินทางเป็น 750 บาท พร้อมขยายสิทธิใช้บริการ 8 ประเภท

มีการปรับวงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะจากวงเงิน 500 บาทต่อเดือน เป็น 750 บาทต่อคนต่อเดือน โดยขยายการใช้โดยสารเพิ่มจากเฉพาะระบบขนส่งของรัฐ เป็นสามารถใช้ระบบขนส่งของเอกชนได้ รวม 8 ประเภท ได้แก่

1. รถ ขสมก.

2. รถ บขส.

3. รถไฟฟ้ามหานคร (MRT), บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTS) และ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด

4. รถไฟ

5. รถเอกชนร่วม ขสมก. รถเอกชน และส่วนราชการ กทม.

6. รถเอกชนร่วม บขส. และรถเอกชน

7. รถสองแถวรับจ้าง

8. เรือโดยสารสาธารณะ

 

เบี้ยผู้สูงอายุ

คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับสิทธิเบี้ยผู้สูงอายุ ดังนี้

1. มีสัญชาติไทย

2. มีอายุ 60 ปี

3. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได

อายุ 60-69 ปี 600 บาท/เดือน

อายุ 70-79 ปี 700 บาท/เดือน

อายุ 80-89 ปี 800 บาท/เดือน

อายุ 90 ปีขึ้นไป 1,000 บาท/เดือน

 

เบี้ยผู้พิการ

ต้องเป็นผู้ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ หรือถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับเงินจำนวน 800 – 1,000 บาท โดยจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มช่วงอายุ ดังนี้

1. ผู้พิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับเงิน 1,000 บาท

2. ผู้พิการที่อายุ 18 ปีขึ้นไป จะได้รับเงิน 800 บาท

นอกจากที่ผู้พิการจะได้รับเงินรายเดือนแล้ว สำหรับผู้พิการที่อายุเกิน 18 ปีขึ้นไป และมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอยู่ในมือ จะได้เงินเพิ่มอีก 200 บาท โดยจะโอนเข้าในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถถอนเงินได้ที่ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา และสะสมในเดือนถัดไป

 

สวัสดิการเด็กแรกเกิด

เป็นโครงการของกรมกิจการเด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กได้รับสวัสดิการ ตั้งแต่เด็กแรกเกิด รับเงินอุดหนุนฯ เดือนละ 600 บาท จนอายุครบ 6 ปี โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

1. สัญชาติไทย

2. อาศัยอยู่กับบิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่ดูแลเด็ก

3. ในครัวเรือนที่สมาชิกมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อปีต่อคน