เกือบถอดใจ! อดีตชาวประมง กำเงินลงทุน ร้านโดนใจ ปลื้ม เหมือนเป็นฮีโร่ พลิกชีวิต

เกือบถอดใจ! อดีตชาวประมง กำเงินลงทุน ร้านโดนใจ ปลื้ม เหมือนเป็นฮีโร่ พลิกชีวิต
เกือบถอดใจ! อดีตชาวประมง กำเงินลงทุน ร้านโดนใจ ปลื้ม เหมือนเป็นฮีโร่ พลิกชีวิต

เกือบถอดใจ! ชาวประมง กำเงินทุนก้อนสุดท้าย ลงทุน ร้านโดนใจ ปลื้ม เหมือนเป็นฮีโร่พลิกชีวิต

จากความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนาร้านโชห่วยของไทยให้มีระบบการบริหารจัดการที่ดีและเติบโตไปได้ในระยะยาว บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเจซี จึงได้เปิดตัวโมเดลธุรกิจ “ร้านโดนใจ” ในปี 2565 ที่ผ่านมา

ด้วยการพัฒนาระบบ POS เข้ามายกระดับร้านโชห่วยไทยให้มีระบบบริหารจัดการที่ดี ซึ่งล่าสุดยังคงเดินหน้าขยายผลอย่างต่อเนื่องโดยได้เปิดตัวพันธมิตรจากหลากหลายกลุ่มสินค้ากว่า 30 บริษัท เพื่อร่วมกันเสริมแกร่งให้ร้านโดนใจมีคู่ค้าทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ให้สามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างตรงใจ

และที่สำคัญคือ การสร้างการเติบโตไปด้วยกันทั้งอีโคซิสเท็ม โดยในปี 2566 นี้ บีเจซีเตรียมกางโรดแมปออนทัวร์ลงพื้นที่ทั่วไทย ประเดิมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้ ในไตรมาสแรกของปี โดยวางเป้าเปิดร้านโดนใจที่ 8,000 ร้านค้า และเติบโตสู่ 30,000 ร้านค้า ภายในปี 2570

คุณสมชาย จู่เซ่ง วัย 54 ปี เจ้าของร้านโชห่วยรายหนึ่ง ให้สัมภาษณ์กับ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ว่า ตนนั้นอาศัยอยู่ทางภาคใต้ ซึ่งเดิมทียึดอาชีพเป็นชาวประมง แต่เมื่อประสบปัญหาต้นทุนในการออกหาปลาที่เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องขายเรือแล้วมาลงทุนค้าขาย เปิดร้านโชห่วย

ตัวแทนผู้ประกอบการในโครงการ ร้านโดนใจ และ ผู้บริหาร

อีกทั้งคุณสมชายได้รวบรวมเงินทุนจากญาติๆ ที่ช่วยเหลือมาซื้อของจาก บีเจซี มาขายในร้าน ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นลูกค้าอยู่ก่อนแล้ว กระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ทุกอย่างแย่ลง ก็มีเจ้าหน้าที่จากบีเจซี เข้ามาเซอร์เวย์พื้นที่และแนะนำตัวโครงการ ร้านโดนใจ

“ตอนแรก ผมถอดใจจะเลิกทำร้านโชห่วยแล้ว เพราะเราไม่มีเงินทุน พอเจ้าหน้าที่เข้ามา ตอนแรกก็จะไม่เอาด้วยซ้ำ เพราะคิดว่าข้อสัญญามันต้องเยอะ ยุ่งยากแน่ๆ เราต้องไม่เป็นอิสระแน่เลย เพราะผมก็เป็นคนชอบอิสระ แต่พอได้คุยกับเจ้าหน้าที่จริงๆ ก็พบว่า ข้อสัญญาไม่เยอะอย่างที่คิด และเราก็ยังถือครองเป็นเจ้าของร้านอยู่เหมือนเดิม พออ่านแล้วก็รับได้ เลยตอบรับเข้าร่วมโครงการ ซึ่งก็ต้องใข้เงินวางประมาณ 1 แสนบาท เพราะร้านผมเป็นไซซ์ S พอครบสัญญา ทางบริษัทก็คืนเงินวางให้ครบ ซึ่งเมื่อวางเงินประกันไปแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะเข้ามาช่วยเรา พัฒนาระบบร้าน ช่วยจัดร้านให้ดูดีขึ้น และยังช่วยสอนการขายให้เราด้วย เพราะผมเป็นคนความรู้น้อย เขาก็สอนจนผมสามารถดูแลได้เอง”

“ต้องบอกว่า พอเข้าโครงการร้านโดนใจแล้ว ผมได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นนะ จากเดิมเป็นคนไทยที่อาศัยในละแวก ก็ได้กลุ่มลูกค้าที่เป็นฝรั่งเพิ่มขึ้น และสินค้าที่เดิม มีแต่สินค้าทั่วๆ ไปวางขาย ก็มีโอกาสได้นำสินค้านำเข้า อย่างพวก ไวน์ อะไรแบบนี้เข้ามาขายในร้านด้วย มันก็ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ขายได้วันละหลักหมื่น ตอนนี้เฉลี่ยก็อยู่ที่ประมาณ 2 หมื่นต่อวัน พอเข้ามาสัมผัสจริงๆ ก็ทำให้รู้ว่า มันไม่ใช่แค่ โดนใจ แล้วครับ แต่ ได้ใจ เลย เพราะโครงการเข้ามาช่วยยกระดับร้านโชห่วยบ้านๆ อย่างเราจริงๆ” คุณสมชาย ว่าอย่างนั้น

คุณฐาปณี เตชะเจริญวิกุล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเจซี กล่าวว่า ร้านโดนใจหรือร้านค้าปลีกสมัยใหม่ได้รับความร่วมมือที่ดีจากทุกภาคส่วนและได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเจ้าของร้านโชห่วยในพื้นที่ต่างๆ โดยในขณะนี้มีร้านโชห่วยเข้าร่วมโมเดลธุรกิจร้านโดนใจแล้วกว่า 1,200 ร้านค้า

ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าการนำระบบ POS หรือระบบขายหน้าร้าน การให้คำปรึกษาทางธุรกิจจากทีมผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเติมเต็มจะช่วยยกระดับและเสริมประสิทธิภาพในการขายสินค้าให้กับผู้ค้า เปลี่ยนโฉมร้านโชห่วยให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค มากไปกว่านั้นการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ยังสามารถนำไปขยายผลเพื่อวางแผนการตลาดในอนาคตให้สอดรับกับพื้นที่

“อย่างไรก็ดี นอกจากการพัฒนาโมเดลร้านค้าปลีกสมัยใหม่ด้วยระบบการบริหารจัดการที่ดี มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญคือ การหาคู่ค้า วันนี้บีเจซีได้เดินหน้าเปิดตัวพันธมิตรกว่า 30 บริษัท เพื่อติดปีกเสริมแกร่งให้ร้านโดนใจมีสินค้าและผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายที่หลากหลายแบรนด์ ในราคาที่เหมาะสม อาทิ โค้ก แฟนต้า เนสกาแฟ ไฮยีน บรีส ดาวน์นี่ นีเวีย แอทแทค เปา คอลเกต ไฟน์ไลน์ ดัชมิลล์ แลคตาซอย สิงห์ มาม่า ไวไว เบอร์ดี้ น้ำมันมรกต ข้าวเบญจรงค์ เด็กสมบูรณ์ เลย์ อิงอร ปินโต้ ข้าวตราแตงโม ซอสม้าบิน ขนมปูจ๋า ซีพี-เมจิ บีทาเก้น ขนมปังมิงโก้ และแหนมดอนเมือง เป็นต้น”

คุณฐาปณี เตชะเจริญวิกุล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเจซี

“พร้อมกันนี้ยังได้เปิดตัวพันธมิตรในกลุ่มสถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อต่อยอดในการสร้างทุนให้กับผู้ประกอบการที่สนใจที่จะเปิดร้านโดนใจในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าการเชื่อมโยงพันธมิตรที่หลากหลายจะเป็นส่วนเติมเต็มที่สำคัญให้ร้านโดนใจสามารถเติบโตไปได้อย่างยั่งยืนในอนาคต” คุณฐาปณี กล่าวเสริม

คุณฐาปณี กล่าวต่อไปว่า สำหรับเป้าหมายการยกระดับร้านโชห่วยเข้าร่วมในแพลตฟอร์มเครือข่ายร้านโดนใจในปี 2566 วางเป้าไว้ที่ 8,000 ร้านค้า โดยมีการประชาสัมพันธ์และเตรียมลงพื้นที่ผ่านโครงการโดนใจออนทัวร์ เพื่อสร้างการรับรู้และเสริมองค์ความรู้ให้กับร้านโชห่วยในพื้นที่ต่างๆ

โดยในไตรมาสที่ 1 จะเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ตามลำดับ เน้นในพื้นที่จังหวัดที่เป็นหัวเมือง อาทิ อุบลราชธานี ขอนแก่น ภูเก็ต และชลบุรี เป็นต้น ซึ่งจากข้อมูลร้านโชห่วยทั่วประเทศที่มีกว่า 400,000 ร้านค้า

“เรามองว่านี่คือโอกาสที่ร้านโชห่วยต่างๆ จะปรับโฉมการบริหารจัดการเพื่อยกระดับร้านค้าให้กลายเป็นร้านที่โดนใจและถูกใจ สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเท่าทัน ทั้งนี้ เรามองว่าการเป็นหนึ่งฟันเฟืองในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากจะทำให้ร้านโชห่วยของไทยเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับสังคมและชุมชนด้วยความสมดุล”

คุณฐาปณี เสริมต่อไปว่า แพลตฟอร์มร้านโดนใจมีจุดเด่นที่ผู้ประกอบการร้านค้าโชห่วยสามารถเลือกลงทุนและสินค้าที่จำหน่ายได้เอง โดยไม่ต้องแบ่งผลกำไร ใช้งบลงทุนที่ไม่สูง ซึ่งรูปแบบของร้านแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ

1. บีเจซีจะใช้เครือข่ายของบิ๊กซีเป็นคนจำหน่ายสินค้าให้กับร้านค้าในชุมชน

2. นำเอาระบบ POS ที่พัฒนาขึ้นเข้าไปเสริมแกร่งธุรกิจให้กับร้านโชห่วย

ทั้งนี้ สำหรับการกระจายสินค้าร้านโดนใจจะใช้เครือข่ายสาขาของบิ๊กซีที่มีอยู่ทั่วประเทศเข้ามาเป็นเครือข่ายในการกระจายสินค้า ขณะที่การปรับปรุงร้านค้านั้นหากผู้ประกอบการต้องการปรับโฉมหรือตกแต่งให้ดูทันสมัยสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของงบประมาณที่ตัวเองเห็นสมควร

“เราเชื่อมั่นว่า ร้านโดนใจ จะเป็นส่วนเติมเต็มที่สำคัญให้กับการพัฒนาร้านโชห่วยในประเทศไทยให้สามารถเติบโตและขานรับความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างหลากหลาย มากไปกว่านั้นการมีระบบบริหารจัดการที่ดีจะทำให้ร้านค้ารวมไปถึงผู้ประกอบการและลูกค้ามีความสะดวกสบาย ที่สำคัญ จะทำให้ระบบนิเวศทางธุรกิจนับตั้งแต่ผู้ประกอบการ คู่ค้า และซัพพลายเออร์เจ้าของสินค้าที่เข้ามาร่วมอยู่ในอีโคซิสเท็มของโดนใจเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน”

“โดยเป้าหมายระยะยาวต่อจากนี้วางเป้าเปิดร้านโดนใจให้เติบโตสู่ 30,000 ร้านค้า ภายในปี 2570 พร้อมกันนี้ยังพัฒนาโครงการโดนใจในเวียดนามด้วยการใช้ต้นแบบจากไทย ถือเป็นหนึ่งจุดหมายที่สำคัญในการนำสินค้าไทยไปขายยังภูมิภาคอาเซียน และสอดรับกับวิสัยทัศน์บีเจซีที่พร้อมเป็นผู้นำในตลาดโลกด้วยสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ” คุณฐาปณี กล่าวสรุป