รู้จัก ทายาทรุ่น 3 สี่มุมเมือง กับอาคารรถผัก ช่วยเกษตรกรมีรายได้ กลางวิกฤต

รู้จัก ทายาทรุ่น 3 สี่มุมเมือง กับอาคารรถผัก ช่วยเกษตรกรมีรายได้ กลางวิกฤต
รู้จัก ทายาทรุ่น 3 สี่มุมเมือง กับอาคารรถผัก ช่วยเกษตรกรมีรายได้ กลางวิกฤต

รู้จัก ทายาทรุ่น 3 สี่มุมเมือง กับอาคารรถผัก ช่วยเกษตรกรมีรายได้ กลางวิกฤต

หากพูดถึงศูนย์กลางค้าส่งผัก-ผลไม้ ชั้นนำของเอเชีย ต้องยกให้ ตลาดสี่มุมเมือง เกือบ 40 ปีที่ตลาดแห่งนี้ ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวม และกระจายผักผลไม้ โดยมีเกษตรกร และพ่อค้าคนกลาง นำสินค้าจากแหล่งผลิตที่มีคุณภาพ มาจำหน่ายให้กับผู้ค้าปลีก ในราคายุติธรรม ตลอด 24 ชั่วโมง

คุณปณาลี ภัทรประสิทธิ์
คุณปณาลี ภัทรประสิทธิ์

เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ มีโอกาส ได้พูดคุยกับ คุณปณาลี ภัทรประสิทธิ์ ทายาทรุ่น 3 แห่งตระกูล ภัทรประสิทธิ์ บุตรสาวคนโตของ คุณประพันธ์-คุณยุพดา ภัทรประสิทธิ์ นักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ และผู้บุกเบิกตลาดสี่มุมเมือง

หลังเรียนจบปริญญาโท จากสหรัฐอเมริกา ทายาทสาว ได้เข้ามาช่วยบริหารตลาดสี่มุมเมือง ในตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ดูแลงานด้านพัฒนาธุรกิจและการตลาด โดยเธอได้ต่อยอดธุรกิจ และปรับภาพลักษณ์ใหม่เพื่อดึงดูดผู้ซื้อ ผ่านโครงการ สี่มุมเมืองยุคใหม่ 

คือ พัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ตลาดค้าส่งผัก และตลาดค้าส่งผลไม้ ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ เมื่อปลายปี 2563 นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มเติมในส่วนลานคอนเทนเนอร์ และตลาดอาหารแปรรูป เพื่อให้สินค้าบริโภคสมบูรณ์มากขึ้น

อาคารผัก
อาคารรถผัก

และอีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญ คือ เปิดให้บริการ อาคารรถผัก ซึ่งต่อยอดมาจากลานรถผัก จากไม่มีหลังคากันร้อน ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกกับผู้ที่มาใช้บริการ อาทิ การติดตั้งระบบระบายอากาศ, มีแผงอาหารปรุงสำเร็จบริการ, ห้องน้ำสาธารณะ เป็นต้น

นับเป็นเจ้าแรกในประเทศไทย ที่เปิดพื้นที่การค้าส่งผักท้ายรถจากเกษตรกรใหญ่ที่สุดในประเทศ เพื่อระบายผลผลิตในประเทศช่วยเกษตรกรฝ่าวิกฤตโควิด-19 โดยให้บริการ 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุด

“อาคารรถผัก ถือเป็นหัวใจสำคัญของ ตลาดสี่มุมเมือง เพราะเป็นเจ้าแรกที่มีพื้นที่ให้เกษตกรเข้ามาเปิดท้ายขายผักโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าแผง และไม่เสียค่าใช้จ่ายอื่นแอบแฝง เกษตรกรสามารถนำผลผลิตมาขายได้เมื่อพร้อม ประหยัดเวลาและประหยัดต้นทุน”

อาคารผัก
อาคารรถผัก

มีพื้นที่การค้ากว่า 23,300 ตร.ม. ซึ่งมีผลผลิตจากเกษตรกรทั่วประเทศเข้ามาขายมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ผักคะน้า ผักกาดขาว ถั่วฝักยาว พริก ต้นหอม ผักชี ฟักเขียว กวางตุ้ง ต้นหอม ผักชี ผักบุ้งจีน กะหล่ำปลี ฯลฯ สามารถรองรับรถผู้ค้า หรือเกษตรกร และผู้ที่เข้ามาใช้บริการหมุนเวียนวันละ 1,500 คัน โดยเสียค่าเข้าเป็นรอบๆ ตามขนาดของรถ เริ่มต้น 500 บาท ถ้ามีบัตรสมาชิกจะได้ลด 100 บาท เหลือ 400 บาท สามารถสมัครสมาชิกได้ฟรี 24 ชั่วโมง

ลักษณะการเข้ามาเปิดท้ายขายผัก ในอาคารผัก เหมือนการเข้าโรงหนัง มีที่จอดรถต่อคิวรอเข้าอาคาร ในขณะต่อคิวก็สามารถทำการค้าขายได้ โดยรถที่เข้าเปิดท้าย ส่วนใหญ่ขายหมดทุกวัน จากความสำเร็จทำให้มีหลายๆ ประเทศเข้ามาดูงาน

รอบรถผัก ของอาคารผัก
รอบรถผัก ของอาคารรถผัก

ปัจจุบัน ตลาดสี่มุมเมือง มีปริมาณการซื้อขายผักต่อวันมากถึง 7,800 ตัน ครอบคลุมผักทุกชนิดที่ผู้บริโภคต้องการ สำหรับผู้ที่เข้ามาซื้อเฉลี่ยต่อวันมากถึง 10,000 คน มูลค่าการซื้อขาย 360 ล้านบาทต่อปี กว่า 70% ของผัก ที่บริโภคในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มาจากตลาดสี่มุมเมือง มีการแบ่งโซนตลาดแยกประเภทผัก เพื่อให้ง่ายต่อเกษตรกรที่ต้องการเข้ามาขายสินค้า รวมถึงเพื่อให้ง่ายกับผู้บริโภคที่จะมาเลือกซื้อสินค้า

คุณปณาลี เผยต่อถึงการบริหารตลาด ท่ามกลางสถานการณ์โควิด ซึ่งปัจจุบัน มีการแพร่ระบาดของสายพันธ์ุโอมิครอน ว่า

“ตลาดค้าส่ง ไม่เหมือนตลาดสด หรือตลาดค้าปลีก ที่ผู้บริโภคเข้ามาจับจ่ายใช้สอยน้อยลง เพราะตลาดค้าส่ง มีลูกค้าประจำ คือแม่ค้าจากตลาดสด มาซื้อของไปขายต่อ ซึ่งแม่ค้าก็ยังมากันอยู่ เพราะเป็นอาชีพ ปริมาณสินค้ายังเข้าตลาดเท่าเดิม มีเพียงปริมาณการซื้อเท่านั้นที่ลดลง”

อาคารผัก
อาคารรถผัก

ในด้านการปรับตัว ทายาทรุ่น 3 เผยว่า ได้ยกระดับมาตรการป้องกันโควิดให้เข้มข้นขึ้น เพื่อไม่ให้ตลาดปิด และให้ผู้ค้าทุกแผงยังสามารถค้าขายได้ เพราะกว่า 70% ของผัก ที่บริโภคในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มาจากตลาดสี่มุมเมือง หากตลาดปิด เกษตรกรจะไม่มีพื้นที่จำหน่ายผลผลิต และแม่ค้าจากตลาดสด จะไม่มีแหล่งซื้อของไปขายต่อ

“เรามีการฉีดวัคซีน ทำความสะอาดตลาดทุกวัน เช็ดห้องน้ำทุก 30 นาที ฯลฯ เป้าหมายของผู้บริหารคือช่วยชุมชนของเราให้อยู่ได้ เราผ่านการแพร่ระบาดมาหลายระลอก ทำให้รู้วิธีการปรับตัวตามสถานการณ์ แรกๆ ทุกคนอาจจะตื่นตระหนก แต่ตอนนี้เราสามารถอยู่กับมันได้ โดยห้ามการ์ดตก และที่สำคัญ มาตรการยังต้องเข้มข้นเหมือนเดิม” คุณปณาลี เผย

อาคารผัก
อาคารรถผัก