ปีระกาไฟ! เอสเอ็มอี ไทย รู้อะไรถึงจะรอด

ช่วงส่งท้ายปลายปีที่ผ่านมา ทางสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้แถลงผลการดำเนินงานในปี 2559 ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณรวมกว่า 5 พันล้านบาท เพื่อบูรณาการงานส่งเสริมชาวเอสเอ็มอีของประเทศ ซึ่งมีจำนวนกว่า 2,800,000 ราย ให้เติบโตได้ตามศักยภาพในทุกด้าน ผ่านแผนงานสำคัญ 3 ด้านใหญ่ คือ ด้านการบ่มเพาะเอสเอ็มอีรายใหม่ ใช้งบประมาณรวม 250 ล้านบาท ด้านการส่งเสริมเอสเอ็มอี ที่ดำเนินกิจการอยู่แล้วให้เติบโตและมีนวัตกรรม ใช้งบประมาณรวม 1,162  ล้านบาท และด้านการฟิ้นฟูเอสเอ็มอี ให้ดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมั่นคง ใช้งบประมาณรวม 3.630 ล้านบาท

กล่าวเพิ่มเติม สำหรับแผนงานด้านการฟิ้นฟูเอสเอ็มอีให้ดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมั่นคงนั้น มีโครงการสำคัญอยู่ในแผนงานนี้  3 โครงการ

ได้แก่ หนึ่ง โครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถเอสเอ็มอี (Turn Around) โดยทางสสว.ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ภายใต้งบประมาณ 200 ล้านบาท ช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ประสบปัญหาธุรกิจจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ให้สามารถกลับมาประกอบธุรกิจได้อย่างมั่นคง ปรากฏมี    เอสเอ็มอีเข้าร่วมโครงการ 15,000 ราย และหลังจากผ่านกระบวนการวินิจฉัยศักยภาพและทำตามข้อเสนอแนะให้ปรับรูปแบบการทำธุรกิจแล้ว สรุปมีเอสเอ็มอีทั้งด้านสินค้าบริการและด้านการผลิต พร้อมเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้กับทางสถาบันการเงิน และส่งเข้าสู่โครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม รวมทั้งสิ้น 9,905 ราย

สอง โครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม วงเงิน 1,000 ล้านบาท เป็นการร่วมมือกันระหว่าง สสว. กับ ธนาคารเอสเอมอี และสมาคมธนาคารไทย ร่วมมือกันพิจารณาคำขอของเอสเอ็มอี ที่เข้าโครงการ Turn Around และผ่านการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว โดยเป็นเงินกู้ระยะยาว 7 ปี รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท ไม่มีดอกเบี้ยและปลอดเงินต้น 2 ปีแรก โดยคาดว่า จะสามารถปล่อยเงินกู้ทั้งหมด 1,000 ล้านบาท ได้ภายในสิ้นปี 2560 อย่างไรก็ตามนอกจากจะให้กู้แล้ว สสว.ยังช่วยพัฒนากิจการให้ดำเนินต่อไปอย่างยั่งยืน เช่น ช่วยให้ขายสินค้าออนไลน์ และดูแลผ่านศูนย์ OSS ในทุกจังหวัดด้วย

และ สาม มาตรการฟื้นฟูกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงิน 2,000 ล้านบาท ซึ่งความคืบหน้าในขณะนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ตกลงหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือกับกระทรวงการคลังแล้ว โดยรูปแบบสามารถดำเนินการได้ทั้งการอุดหนุน การให้กู้ยืมระยะยาวแบบผ่อนปรน หรือ การร่วมลงทุน เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถฟื้นตัวได้ หลังจากนั้นจะส่งกลับเข้าสู่ระบบสถาบันการเงินปกติ ซึ่งขณะนี้ สสว.อยู่ระหว่างนำเสนอระเบียบ หลักเกณฑ?การให้ความช่วยเหลือติ่นายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาลงนามต่อไป

ลองมาฟังประสบการณ์ตรง จากเอสเอ็มอี ที่เข้าร่วมโครงการ Turn Around กันบ้าง

เริ่มจาก คุณคุณสุพัฒน์ มนตลักษณ์ ผู้บริหารบริษัท มนตลักษณ์ กรุ๊ป จำกัด กิจการติดตั้งรับวางระบบเครื่องปรับอากาศ ดำเนินกิจการมาได้ราว 7 ปี กล่าวว่า ธุรกิจดีมาตลอด ซึ่งอาจเหมือนกับ เอสเอ็มอีทั่วไป คือ รู้จักผลิตภัณฑ์ของตัวเองดีมาก แต่อยู่มามาวันหนึ่ง เริ่มเห็นตัวเลขยอดขายลดลง แค่นั้นยังไม่พอ ของที่ขายไปแล้วลูกค้าก็ไม่ยอมจ่ายตังค์ ซึ่งตลดดเวลาในการทำธุรกิจ 7 ปีที่ผ่านมาไม่เคยเจอ กระทั่งส่งผลลกระทบ ระบบเงินสดเริ่มหายไป เกิดผลกระทบกับซัพพลายเออร์

“ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ใช่ไม่ระวัง แต่เนื่องจากการปรับตัวไม่ทัน เราอยู่ในธุรกิจภาคบริการ คือ การติดตั้ง แต่ไม่ได้ดูแลระบบหลังการขายมากนัก จนวันหนึ่งเริ่มรู้ตัวและยอมรับว่าสถานภาพไม่เหมือนเดิม เมื่อทราบข่าวโครงการของสสว. จากสื่อ จึงเข้าไปลงทะเบียนให้ข้อมูลเพื่อขอความช่วยเหลือทันที”คุณสุพัฒน์ บอก

และว่า  ตามปกติเมื่อเอสเอ็มอี มีปัญหาการเงิน มักพึ่งพาสถาบันการเงินไม่ค่อยได้ เนื่องจากไม่มีคุณสมบัติเข้าหลักเกณฑ์ของการกู้ยืม แต่โครงการ Turn Around นี้ ทำให้เอสเอ็มอี มีโอกาสกลับมาเหมือนเดิม ที่ผ่านมาเราพลาดไปเกี่ยวกับการประเมินเศรษฐกิจ แต่พอได้ทั้งทุนและคำแนะนำให้ จึงกล้าลงทุนมากขึ้น เริ่มมีกำลังใจในการต่อสู้ต่อไป หากไม่มีโครงการนี้เอสเอ็มอี ที่เกิดวิกฤติ หลายรายคงยอมแพ้ไปทำอย่างอื่น ไม่กลับมาเป็นผู้ประกอบการกันอีกแล้ว

คุณรุ่งอรุณ วิรัชพันธ์ เจ้าขอบริษัท โอเอเชีย แมเนจเมนท์ จำกัด กิจการรับทำทัวร์ทั้งในและต่างประเทศ มีประสบการการณ์มากว่า 20 ปี กล่าวว่า 15 ปีที่ผ่านมา กิจการรายได้ดีตลอด แต่ราว 3 ปีที่ผ่านมา ประสบภาวะเงินทุนหมุนเวียน ก็ได้โครงการ Turn Around นี้มาต่อยอดลมหายใจ คือ ได้ทั้งทุนมาเสริมสภาพคล่อง และได้ทั้งคำแนะนำ ในการปรับตัว ปรับรูปแบบของการให้บริการ รวมถึงการหาตลาดใหม่ๆ

“โครงการนี้ ให้มุมมองที่กว้างขึ้น เพราะต้องยอมรับว่า นักท่องเที่ยวยังมีอยู่ แต่เปลี่ยนพฤติกรรมมาเป็นหิ้วกระเป๋าเที่ยวเองเสียเป็นส่วนใหญ่ นับเป็นวิกฤติอยู่มากสำหรับบริษัททัวร์ขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก เราเลยต้องปรับตัวช่องทางการตลาดใหม่ โดยอาจเจาะลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น”คุณรุ่งอรุณ กล่าว

ด้าน คุณสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสสว. กล่าวถึงโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับแผนงานด้านการฟิ้นฟูเอสเอ็มอีให้ดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมั่นคง ว่า เป็นการช่วยเหลือทั้งงด้านคำแนะนำและเงินทุนเสริมสภาพคล่อง เพราะหากช่วยเหลือไปแต่เม็ดเงิน พอหมดเงินอาจไปต่อไม่ถูกอีก หรือหากให้แต่ควาสรู้ แต่ไม่มีเงินช่วยสนับสนุน เอสเอ็มอี คงไม่มีแก่ใจอยากเรียนรู้อะไร   ฉะนั้น ในปี 2560 โครงการช่วยเหลือลักษณะนี้ สสว.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเดินหน้าต่อไป

ผู้อำนวยการ สสว. ปัจจุบัน เอสเอ็มอีทั่วประเทศ มีอยู่ 2,800,000 ราย แต่ใช่ว่าทุกรายจะเข้มแข็งและมีพัฒนาการ  ไปถึงยุค 4.0  บางคนยังอยู่แค่ 1.0 หรืออย่างดีก็ 2.0 แต่ถึงวันนี้แล้วทุกฝ่ายต้องช่วยกัน อุ้มมาถึง 3.0 ให้ได้ ส่วนผู้ประกอบการ ก็ต้องช่วยตัวเองด้วย ต้องเข้าใจที่จะเรียนรู้ และตระหนักว่าการค้าขายผ่านอี-คอมเมิร์ส ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

“เมื่อปีก่อนความจำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องดิจิไทซ์ ตัวเอง  อาจไม่จำเป็นขนาดนี้ แต่วันนี้ไม่ได้แล้ว เพราะถ้าเราผลิตของในที่ห่างไกล จะนำของมาขายได้ยังไง ถ้าไม่นำอินเตอร์เน็ตมาช่วย เอสเอ็มอี จึงต้องขยับตัว จาก 1.0 มาเป็น 2.0 และมากกว่านั้น มาถึง 3.0 ให้ได้ แต่สสว.จะทำคนเดียวไม่ได้ ต้องบูรณาการกันทุกหน่วยงาน”คุณสาลินี กล่าว

และว่า  การที่ผู้ประกอบการ ต้องปรับตัวในยุคอินเตอร์เน็ต เพราะลูกค้าสามารถเชื่อมผู้ผลิตได้โดยตรง อินเตอร์เน็ต จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อกิจการที่เป็น “คนกลาง” ดังนั้น ต้องพยายามฉีกแนว คิด “กิมมิก” บางอย่างออกมา และจับลูกค้าเฉพาะกลุ่มให้ได้  เช่น บริษัททัวร์ จากเคยเจาะกลุ่มคนหนุ่มสาว ก็อาจหันมาโฟกัสแต่ผู้สูงอายุ ที่อาจต้องมีคนถือกระเป๋า หรือเข็นเข็นรถให้ด้วย

“ต้นปี 2560 สสว.จึงมีโครงการจะทำมาร์เก็ตเซอร์เวย์ เพื่อหาให้ได้ว่าผู้บริโภคในแต่ละกลุ่ม เช่น คนแก่ วัยทำงาน วัยรุ่น เด็ก ฯลฯ  มีความต้องการหรือคาดหวังอะไรจากสินค้าและบริการ จากนั้นค่อยสำรวจย่อยลงไปอีกว่า แต่ละกลุ่ม คาดหวังอะไรบ้างจากสินค้าและบริการ ของเอสเอ็มอี

เพราะสิ่งสำคัญที่สุดของเอสเอ็มอี ที่จะอยู่รอดได้ภายใต้ภาวะปี 2560  คือ ต้องรู้ให้ได้ ว่าตลาดคืออะไร ไม่ใช่แค่ตามตลาด เอสเอ็มอี ต้องดักตลาดให้ได้ถึงจะอยู่ได้ ถามว่าเป็นงานยากมั๊ย ตอบเลยว่ายาก ดังนั้นเอสเอ็มอี จึงต้องไม่อยู่โดดเดี่ยว หาเครือข่ายเกาะกลุ่มกันไว้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความช่วยเหลือกัน”ผู้อำนวยการ สสว. กล่าวทิ้งท้าย