กูรูแนะช่องทางทำธุรกิจออนไลน์ให้รุ่ง ในปี 60

เป็นที่ทราบกันว่าธุรกิจออนไลน์ในบ้านเราเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ผู้ประกอบการหน้าเก่าหน้าใหม่ต่างก็เข้ามาสู่ช่องทางนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า ขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนไป มาดูกันว่าในปีที่ผ่านมาการค้าขายบนออนไลน์มีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง และในปี พ.ศ. 2560 หรือ ค.ศ. 2017 ผู้ประกอบการควรจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ยอดขายเพิ่มขึ้น

%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b9%8c

 สรุปปัญหาอุปสรรค ปี 59

คุณบุรินทร์ เกล็ดมณี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฎิบัติการ บริษัท เรดดี้แพลนเน็ต จำกัด ฉายภาพปัญหาปี 2559 ให้ฟังว่า ผู้ประกอบการมักเผชิญกับปัญหา 4 ข้อใหญ่ๆ ดังนี้ 1. ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ แม้ปัจจุบันมีผู้บริโภคเข้ามาใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้นแต่พฤติกรรมส่วนใหญ่คือการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ เช่น เฟซบุ๊ก, อินสตาแกรม ใช้ไลน์แชต ใช้ยูทูบ เข้าเว็บคอนเทนต์ต่างๆ ซึ่งหากผู้ประกอบการไม่รู้วิธีการใช้ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งที่ถูกต้อง จะเข้าหากลุ่มเป้าหมายไม่ได้ หรือเข้าหาผิดกลุ่ม ทำให้ขายสินค้าไม่ได้

  1. ไม่มีแบรนด์สินค้า ไม่สามารถบอกความแตกต่าง จุดเด่น จุดขายของสินค้าออกมาเป็นเนื้อหา (Content) เพื่อทำการตลาดต่อไปได้ ทำให้ไม่สามารถตั้งราคาได้สูง ต้องแข่งขันในตลาดราคาที่ต่ำ ซึ่งมีคู่แข่งทางการค้ามาก 3. ปัญหาช่องทางในการชำระเงิน การชำระเงินยังเป็นออฟไลน์ เช่น ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ผ่านตู้เอทีเอ็ม เพราะร้านค้าไม่อยากเสียค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต ส่วนลูกค้าไม่สะดวกจ่ายผ่านบัตรเครดิต เมื่อผู้บริโภคสนใจสินค้าแต่ไม่ชำระเงินทันที ส่งผลให้ผู้บริโภคบางส่วนตัดสินใจไม่ซื้อสินค้าในที่สุด
  2. ปัญหาเรื่องบุคลากร เนื่องจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยเพิ่งได้รับความนิยมมาประมาณ 10 ปี และด้วยธรรมชาติของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงต้องอาศัยความรวดเร็วในการนำเสนอสินค้า การติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การชำระเงิน ตลอดจนการจัดส่งสินค้า ต้องอาศัยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งค่อนข้างหาได้ยาก

 

%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e-15

คุณบุรินทร์ กล่าวว่า ในปี 2560 ผู้ประกอบการต้องหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ตลอดจนติดตามแนวโน้มด้านอีคอมเมิร์ซที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต อันประกอบด้วย 1. โทรศัพท์มือถือยังคงเติบโตต่อเนื่อง ช่องทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดที่ผู้บริโภคใช้เพื่อซื้อสินค้าคือสมาร์ตโฟน กูเกิลเองก็ออกนโยบายเพื่อสนับสนุนเว็บไซต์โมบายเฟรนด์ลี่ (Mobile Friendly) ให้ได้รับอันดับการแสดงผลบนหน้าค้นหาที่ดีขึ้น แบรนด์ต่างๆ จึงได้พัฒนาเว็บไซต์ของตัวเองให้สามารถแสดงผลได้ดีบนหน้าจอสมาร์ตโฟน นอกจากนั้น ผู้ประกอบการยังสามารถสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าเดิม ด้วยการใช้โมบายแอพของธุรกิจ หรือ ใช้ LINE@ เพื่อให้สื่อสารเนื้อหาของแบรนด์ไปยังสมาร์ตโฟนของกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง 2. ช่องทางการชำระเงินจะมีความหลากหลายมากขึ้น 3. การจัดส่งสินค้าจะสะดวกและรวดเร็วขึ้น 4. เน้นการทำการตลาดเฉพาะกลุ่ม

สิ่งสำคัญ “เสิร์ช โซเชียล และ แชต”

สำหรับการทำตลาดออนไลน์ในปี 2560 คุณบุรินทร์ แนะนำว่า ทุกวันนี้ เส้นทางของผู้บริโภคในการซื้อสินค้า แตกต่างจากที่เคยเป็นมาและดูจะซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญแก่ 3 สิ่งหลัก ได้แก่ “เสิร์ช โซเชียล และ แชต”

  1. “เสิร์ช” เมื่อผู้บริโภคต้องการสินค้าหรือบริการ ก็จะค้นหาสินค้าหรือบริการนั้นๆ บนกูเกิล และอาจพบสินค้าหรือบริการนั้นๆ บนเว็บไซต์ของแบรนด์ ผ่านโซเชียลมีเดีย หรือรีวิวสินค้าจากลูกค้าที่เคยใช้สินค้าหรือบริการ เป็นต้น แล้วจึงตัดสินใจติดต่อเข้ามาหาธุรกิจนั้น ดังนั้น เจ้าของธุรกิจจะต้องสร้างเว็บไซต์ให้ติดอันดับบนหน้าผลการค้นหาของกูเกิลให้ได้เมื่อมีการค้นหาแบรนด์ หรือความต้องการสินค้า หรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นผลการค้นหาธรรมชาติหรือโฆษณาก็ตาม
  2. “โซเชียล” การเข้าหาผู้บริโภคเฉพาะที่เสิร์ชดังข้างต้นอาจจะไม่เพียงพอ การใช้โซเชียลเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อสร้างความต้องการของผู้บริโภคขึ้นมา (Demand Generation) ซึ่งโซเชียลที่มีพลังที่สุดก็คือ เฟซบุ๊ก ตามด้วยอินสตาแกรม และอื่นๆ การเริ่มต้นทำได้โดยการเปิดบัญชีธุรกิจ เช่น เฟซบุ๊กเพจ และสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เขียนเนื้อหาที่เป็นจุดเด่น จุดขายของธุรกิจ สร้างแบรนด์และความน่าเชื่อถือตลอดเวลา และใช้โฆษณาเพื่อเข้าสู่กลุ่มเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง ดังที่ได้กล่าวถึงการทำการตลาดเฉพาะกลุ่มข้างต้น
  3. “แชต” ผู้บริโภคโดยเฉพาะในประเทศไทย นอกจากจะทำการค้นหา และเปรียบเทียบสินค้าแล้ว ส่วนใหญ่อยากพูดคุยกับพนักงานก่อนการซื้อ แทนที่จะโทรศัพท์ตามวิธีการเดิม ผู้บริโภคปัจจุบันใช้การแชตเพื่อสอบถาม ซึ่งในประเทศไทยเราใช้ไลน์มากที่สุด ดังนั้น ธุรกิจจึงควรเปิด LINE@ เพื่อใช้ตอบคำถาม พูดคุยกับผู้บริโภค และยังใช้ LINE@ ในการส่งข่าวสารได้อีกด้วย

 

img_3464

ธุรกิจโฮเรก้าต้องปรับตัว

ทีนี้มาดูภาพรวมตลาดธุรกิจโฮเรก้า อันประกอบด้วย โรงแรม ร้านอาหาร กาแฟ และธุรกิจการจัดเลี้ยง ผู้เชี่ยวชาญในวงการนี้อย่าง คุณปริพัตร บูรณสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เกวินน์ คอนซัลติ้ง จำกัด ระบุถึงปัจจัยเสี่ยงภาคธุรกิจโฮเรก้า ในปี 2560 ว่า แบ่งได้ 5 ประการ คือ 1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป สินค้าใหม่ที่เกิดขึ้นทดแทนรูปแบบเดิม และเสถียรภาพทางการเมือง 2. ความเสี่ยงด้านธุรกิจ การบริหารต้นทุนแรงงาน การแข่งขันภายในอุตสาหกรรมโฮเรก้า และกำลังซื้อของผู้บริโภค

  1. ความเสี่ยงด้านการเงิน กลุ่มเอสเอ็มอีต้องวางแผนการใช้เงิน กระแสเงินสด ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการลงทุนเพิ่มเติม 4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน คุณภาพบริการที่ดีต้องรักษาแรงงานที่ดี โรคระบาด และความปลอดภัยของอาหารและสุขภาพ 5. ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนต้องคำนึงถึงทุกฝ่าย

%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%a3

คุณปริพัตร ให้คำแนะนำสำหรับแนวทางทำธุรกิจนี้ ในปี 2560 ว่า ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้ธุรกิจทุกระดับมีโอกาสเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างเท่าเทียมกัน และกระแสโลกในเรื่องรักษ์โลก จะเพิ่มระดับมากขึ้น ส่งผลต่อการวางแผน จัดการ และออกแบบธุรกิจให้สอดคล้องเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน รวมทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นตลาดที่น่าจับตามองในธุรกิจโฮเรก้า ซึ่งต้องให้ความสำคัญด้านการบริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกให้มากขึ้น นอกจากนี้ การขยายเมืองใหญ่และการเพิ่มขึ้นของระบบขนส่ง ทำให้ธุรกิจโฮเรก้าขยายตัวตามไปด้วย

“เมื่อทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้นผ่านปลายนิ้ว ทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโต ผู้ประกอบการธุรกิจโฮเรก้าต้องพร้อมที่จะปรับตัว แต่ต้องไม่ลืมเรื่องความปลอดภัยในระบบ การจัดส่งสินค้า การบริการหลังการขาย ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการแข่งขัน รวมทั้งอาจจะเกิดคู่แข่งใหม่ๆ ขึ้นตลอด”