หลอดอะไรทำไมกินได้! แถมใช้ไม่หมด เอาไปผัดทำอาหาร ไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง 

หลอดอะไรทำไมกินได้! แถมใช้ไม่หมด เอาไปผัดทำอาหาร ไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง 
หลอดอะไรทำไมกินได้! แถมใช้ไม่หมด เอาไปผัดทำอาหาร ไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง 

หลอดอะไรทำไมกินได้! แถมใช้ไม่หมด เอาไปผัดทำอาหาร ไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง 

ช่วงที่ผ่านมา ข่าวการเสียชีวิตของสัตว์ทะเลส่วนใหญ่ มีสาเหตุมาจากขยะพลาสติก โดยเฉพาะหลอดที่มนุษย์ใช้สำหรับดูดน้ำ แต่เมื่อใช้แล้วขยะเหล่านั้นกลับสร้างปัญหาให้โลก เพราะไม่มีวิธีการจัดการที่ถูกวิธี และกว่าจะย่อยสลายได้ต้องใช้เวลาหลายร้อยปี

หลอดอะไรทำไมกินได้! แถมใช้ไม่หมด เอาไปผัดทำอาหาร ไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง 
หลอดอะไรทำไมกินได้! แถมใช้ไม่หมด เอาไปผัดทำอาหาร ไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง

เพราะสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องไกลตัว ด้วยเหตุนี้ทำให้ คุณบิว-วิวรรธน์ สุเชาว์อินทร์ วัย 30 ปี เล็งเห็นถึงปัญหา เมื่อ 3-4 ปีก่อนเขาได้ปั้นแบรนด์ผลิตหลอดกินได้ จากแป้งข้าวและแป้งมัน ซึ่งสามารถย่อยสลายได้เพียงปักลงดิน 

“ผมซึมซับเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เด็ก เพราะครอบครัวเป็นคนรักษ์โลก ถ้าซื้ออาหารจะไม่ใส่กล่องหรือถุงพลาสติก แต่จะนำกล่องทัปเปอร์แวร์ไปใส่อาหารเอง ตั้งแต่เล็กแม่พยายามสอนเรื่องนี้ตลอด จนโตขึ้นผมอยากทำธุรกิจนอกจากหารายได้แล้ว ยังช่วยดูแลโลกได้ด้วย” คุณบิว เล่าถึงแรงบันดาลใจ

หลอดอะไรทำไมกินได้! แถมใช้ไม่หมด เอาไปผัดทำอาหาร ไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง 
หลอดอะไรทำไมกินได้! แถมใช้ไม่หมด เอาไปผัดทำอาหาร ไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง

สุดท้ายแล้ว แนวคิดรักษ์โลกต่อยอดมาเป็น แบรนด์ Strawry- the edible straw หลอดกินได้ ชายหนุ่มอธิบายว่า การรักษ์โลกมีหลายแบบ แต่เลือกผลิตหลอดเพราะ นอกจากรักษ์โลกแล้ว ยังรักษ์สัตว์ด้วย

“ถ้าสังเกตสาเหตุการเสียชีวิตของสัตว์ใต้ทะเล ส่วนใหญ่แล้วมาจากหลอด ด้วยลักษณะเป็นแท่ง คล้ายอาหาร ทำให้สัตว์กินเพราะความไม่รู้” คุณบิว บอกถึงปัญหา 

โดยเงินทุนในการเริ่มธุรกิจ หนุ่มวัย 30 บอกว่า เริ่มเก็บหอมรอมริบมาตั้งแต่อายุ 16-17 ปี

“ผมรับถั่วงอกมาขายตามร้านก๋วยเตี๋ยว ทำได้ไม่นานต้องไปเรียนต่อด้านภาษาจีนที่กว่างโจว แล้วขยับขยายทำธุรกิจแบบซื้อมาขายไป และการมีเพื่อนต่างประเทศทำให้ผมได้เห็นอะไรแปลกใหม่ของประเทศนั้นๆ ได้เห็นโรงงานผลิตข้าว ซึ่งทำหลอดด้วย ทำไมที่ไทยไม่มี คิดว่าจะดีมากถ้ามีที่ไทย”

หลอดอะไรทำไมกินได้! แถมใช้ไม่หมด เอาไปผัดทำอาหาร ไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง 
หลอดอะไรทำไมกินได้! แถมใช้ไม่หมด เอาไปผัดทำอาหาร ไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง

ก่อนบอกว่า หลอดแป้งข้าว ในต่างประเทศใช้กันแพร่หลาย แต่ที่ไทยกลับไม่ได้รับความนิยม และหลายคนยังไม่รู้จักด้วยซ้ำ จึงเป็นส่วนในการตัดสินใจทำธุรกิจร่วมกับเพื่อน

“ก่อนมาเป็นหลอดกินได้ ผมดูหลอดอย่างอื่นไว้เหมือนกัน ตอบโจทย์เรื่องการใช้งาน แต่ไม่ตอบโจทย์เรื่องสิ่งแวดล้อม ทั้งหลอดข้าวสาลี หรือหลอดพลาสติกชีวภาพ เลยคิดว่าหลอดแป้งข้าวหรือหลอดกินได้ช่วยโลกได้แท้จริงมากกว่า”

หลอดอะไรทำไมกินได้! แถมใช้ไม่หมด เอาไปผัดทำอาหาร ไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง 
หลอดอะไรทำไมกินได้! แถมใช้ไม่หมด เอาไปผัดทำอาหาร ไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง

สำหรับหลอดกินได้ ผลิตมาจากแป้งข้าวและแป้งมัน นอกจากไม่เป็นพิษกับร่างกายแล้ว ยังเป็นมิตรกับธรรมชาติอีกด้วย สามารถย่อยสลายได้หลังการใช้งานในระยะเวลา 4 สัปดาห์ เพียงปักลงดิน ส่วนการใช้งาน ไม่ต้องกังวลเรื่องประสิทธิภาพ เพราะหลอดของ Strawry สามารถอยู่ในเครื่องดื่มร้อน อุณหภูมิ 45 องศา ได้นานถึง 1-2 ชั่วโมง และ 6-10 ชั่วโมง ในเครื่องดื่มเย็น

“สูตรผลิตแต่ละที่ไม่เหมือนกัน ความลับอยู่ตรงนี้ แต่วัตถุดิบมีแค่แป้งข้าวเจ้าและแป้งมันสำปะหลัง ผมผลิตในโรงงานเวียดนาม ความตั้งใจเดิมผมไม่ได้จะสื่อว่าหลอดกินได้ แต่เลือกคำว่ากินได้ เพราะอยากให้คนว้าว ทานเสร็จทิ้งรวมเป็นเศษอาหารได้เลย ไม่ต้องแยกขยะให้ลำบาก เผลอทำหล่นพื้นก็ย่อยสลายได้ เลิกกังวลเรื่องทิ้งขยะไปได้เลย”

หลอดอะไรทำไมกินได้! แถมใช้ไม่หมด เอาไปผัดทำอาหาร ไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง 
หลอดอะไรทำไมกินได้! แถมใช้ไม่หมด เอาไปผัดทำอาหาร ไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง

ส่วนถ้านำไปกิน เจ้าของแบรนด์บอกว่า สามารถนำไปกินได้ มีผลตรวจว่ากินได้ มีลูกค้าบางคนนำไปผัด ทำอาหาร เพราะใช้ไม่หมด เป็นข้อดีเสริมมา

“หลอดไม่มีรสชาติ เพราะถ้าผมใส่รสชาติหรือกลิ่น จะมีผลต่อการดื่มเครื่องดื่ม แต่จะมีรสสัมผัสคล้ายเส้นสปาเกตตี้ เพราะผลิตมาจากแป้ง ผมผลิตมาสองสี คือ สีขาว และสีเขียว จากสีผสมอาหาร” คุณบิว อธิบาย

หลอดอะไรทำไมกินได้! แถมใช้ไม่หมด เอาไปผัดทำอาหาร ไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง 
หลอดอะไรทำไมกินได้! แถมใช้ไม่หมด เอาไปผัดทำอาหาร ไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง

จากปีแรกที่เริ่มทำ หลอดกินได้ ถึงตอนนี้ คุณบิว บอกว่า พฤติกรรมของผู้คนมีแนวโน้มไปในทางดีขึ้น แต่ยังไม่ถึงกับที่คาดหวังไว้ อาจจะเป็นเพราะราคาที่สูงกว่าหลอดทั่วไป โดยเฉลี่ย 1-1.50 บาท ต่ออัน ซึ่งมีการทำโปรโมชั่นจำหน่ายด้วยตามช่วงเวลา โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดสินค้าได้ที่เพจ Strawry – the edible straw

เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2564