ไปไงต่อ! สื่อกระดาษหาย รายได้หด นักเขียนการ์ตูน คิดไม่ตก ซื้อแฟรนไชส์ก็ไม่รุ่ง

ไปไงต่อ! สื่อกระดาษหาย รายได้หด นักเขียนการ์ตูน คิดไม่ตก ซื้อแฟรนไชส์ก็ไม่รุ่ง
ไปไงต่อ! สื่อกระดาษหาย รายได้หด นักเขียนการ์ตูน คิดไม่ตก ซื้อแฟรนไชส์ก็ไม่รุ่ง

ไปไงต่อ! สื่อกระดาษหาย รายได้หด นักเขียนการ์ตูน คิดไม่ตก ซื้อแฟรนไชส์ก็ไม่รุ่ง

คุณป้อม-จิรบูล ศิริเมือง ปัจจุบันอายุ 52 ปี พื้นเพเป็นคนร้อยเอ็ด จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร คณะครุศาสตร์ เอกประถมฯ แต่ด้วยมีใจรักด้านศิลปะขีดเขียน หลังจากเรียนจบออกมาแล้ว ยึดอาชีพเป็น นักเขียนการ์ตูน มาตลอด

“ชอบวาดการ์ตูนมาตั้งแต่เด็ก ตอนแรกจะเรียนสถาปัตย์ แต่มีเหตุผิดพลาด ประกอบพ่อ อยากให้เป็นครู เลยเรียนให้ท่าน ผมเป็นผู้ชายคนเดียวในห้อง หลังเรียนจบ เคยไปสอบเป็นข้าราชการครู สอบติดนะแต่ไม่สละสิทธิ์ และหาเลี้ยงตัวด้วยการวาดการ์ตูนเรื่อยมา” คุณป้อม ย้อนความทรงจำ

ก่อนคุยให้ฟังต่อ การยึดอาชีพ นักเขียนการ์ตูน ของเขานั้น เป็นลักษณะ ฟรีแลนซ์ คือ ได้ค่าตอบแทนจากสื่อสิ่งพิมพ์สำนักต่างๆ เป็นรายชิ้นไป

“อาชีพนักเขียนการ์ตูน สมัยก่อนพอเลี้ยงตัวได้ ที่ผ่านมาไม่เคยสมัครงานบริษัทเลย ช่วงปี 2535-2536 เคยมีคนเสนอให้เป็นบรรณาธิการหนังสือเด็ก ให้เงินเดือน 8 พันบาท ก็มานั่งคิด ไม่คุ้ม เพราะช่วงนั้น เขียนการ์ตูน เริ่มต้น ได้ชิ้นละ 250 บาท หน้าสี ชิ้นละ 400-450 บาท ถ้าเป็นการ์ตูนการเมือง จะได้เยอะขึ้นอีกหน่อย” คุณป้อม เผย รายได้ที่ผ่านมา

คุณป้อม-จิรบูล ศิริเมือง

และว่า เลี้ยงชีพด้วยการเขียนการ์ตูนอย่างเดียว มาตลอด เลยไม่คิดดิ้นรนทำอย่างอื่น กระทั่ง สื่อสิ่งพิมพ์  ค่อยๆ สลายหายไปจากแผง ผู้คนจับจ้องแต่โทรศัพท์มือถือ ไม่มีใครอ่านหนังสือ เลยคิดหาอะไรทำ และต้องปรับตัวแล้ว

“จากที่เคย เขียนการ์ตูน ส่งให้สื่อพิมพ์หลายหัว แต่ตอนนี้ เหลือหัวเดียวเป็นรายสัปดาห์ รายรับแผ่นละหนึ่งพันห้าร้อยบาท เดือนหนึ่งมีรายได้ไม่เกินหกพันบาท ยุคนี้ไม่ไหวแน่ๆ เลยกะจะหันมาทำสติ๊กเกอร์ไลน์ แต่ยังไม่ได้เริ่มสักที” คุณป้อม บอกยิ้มๆ

 

 

ผลงานที่ผ่านมา

 

ก่อนเผยต่อ ที่ผ่านมา เขาเคยซื้อแฟรนไชส์ ชายี่ห้อหนึ่ง และ พิซซ่ายี่ห้อหนึ่ง  ไปตั้งคีออส ขายที่แหล่งชุมชนใกล้โรงเรียน ที่อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด บ้านเกิด ปรากฏช่วงแรกขายดี แต่ผ่านไปไม่นาน ยอดเริ่มตก ลูกค้าบางตาลงเรื่อยๆ

หลังหมดสัญญาแฟรนไชส์กับสินค้าทั้งสองอย่างดังกล่าวแล้ว เลยตัดสินใจปรับปรุงรสชาติพิซซ่า ให้ถูกปากลูกค้ามากขึ้น และ “ปั้นออกมา” เป็นแบรนด์ของตัวเอง ให้ชื่อว่า พิซซ่า เฮาส์

“ตั้งเป้าไว้จะเปลี่ยนนิสัยในการเล่นโซเชียล  กล้าโชว์ตัวเองในโลกออนไลน์ให้มากขึ้น  และอยากให้ พิซซ่า เฮาส์ มีขายทั่วประเทศ อำเภอละ 1 ร้าน แต่คงต้องเรียนรู้ระบบแฟรนไชส์ให้ละเอียดมากกว่านี้” คุณป้อม ทิ้งท้ายถึงความตั้งใจ