“คิง ฟรุทส์” ขายกล้วยหอมแช่แข็ง–กล้วยหวีดีลิเวอรี่ ยอดพุ่ง คนงานรายได้เพิ่ม

“คิง ฟรุทส์” ขายกล้วยหอมแช่แข็ง – กล้วยหวีเดลิเวอรี่ ยอดพุ่ง คนงานรายได้เพิ่ม
“คิง ฟรุทส์” ขายกล้วยหอมแช่แข็ง – กล้วยหวีเดลิเวอรี่ ยอดพุ่ง คนงานรายได้เพิ่ม

“คิง ฟรุทส์” ขายกล้วยหอมแช่แข็ง – กล้วยหวีดีลิเวอรี่ ยอดพุ่ง คนงานรายได้เพิ่ม

“KING FRUITS” (คิง ฟรุทส์) อาณาจักรกล้วยหอมทอง 3,000 ไร่  ครอบคลุมพื้นที่ปลูกมากกว่า 22 จังหวัด ส่งกล้วยหอมขายในห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และสายการบิน ปีละกว่า 6,000 ตัน หรือเฉลี่ยวันละ 15 ตัน  ล่าสุดหลังเจอวิกฤตไวรัสโควิด-19 ยอดขายตกลงฮวบ แต่ทว่าไม่ยอมแพ้ปรับตัวหันมาแปรรูปขายกล้วยหอมแช่แข็ง ผลไม้ตัดแต่งพร้อมทาน และบุกตลาดลูกค้ากลุ่มครอบครัวด้วยการขายกล้วยหวีดีลิเวอรี่ ผลตอบรับดีเกินคาด รายได้พุ่ง คนงานรายได้เพิ่ม มีโอทีให้ ขณะนี้มีออร์เดอร์กล้วยหอมแช่แข็ง 1 ตู้คอนเทนเนอร์แล้วจากประเทศเกาหลี

คุณเสาวณี วิเลปะนะ เจ้าของบริษัท คิง ฟรุทส์ จำกัด  บอกกับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า หลังเจอวิกฤตไวรัสโควิด-19 ยอดขายกล้วยหอมทองตกลงวันละ 25 – 30 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุมาจากสายการบินหยุดชะงัก ห้างสรรพสินค้าบางแห่งถูกปิด ร้านสะดวกซื้อปิดเร็วขึ้น ทั้งนี้ทางบริษัทไม่มีนโย บายลดจำนวนพนักงาน เลยแก้สถานการณ์ด้วยการเพิ่มสินค้าให้มีความหลากหลาย  อาทิ กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า และผลไม้ตัดแต่งพร้อมรับประทาน อาทิ ขนุน ส้มโอ ฝรั่ง กล้วยหอมทองฟรีซ ดราย ผงกล้วยหอมดิบ ล่าสุดนำกล้วยหอมทองไปแช่แข็ง บุกตลาดเบเกอรี่ ขายแม็คโคร และส่งออกต่างประเทศ

“หลังกล้วยหอมสดยอดตก ทางบริษัทหันมาแปรรูปกล้วยหอมแช่แข็ง และขายกล้วยหวีดีลิเวอรี่ เพราะมองว่าเมื่อก่อนคนไม่ตุนอาหาร ซื้อกินวันต่อวัน แต่ช่วงนี้คนอยู่บ้านมากขึ้น ไม่เดินทาง ออกจากบ้าน อาศัยเป็นครอบครัว ฉะนั้นกล้วยหวีน่าจะตอบโจทย์ เพราะสามารถเก็บไว้รับประทานได้ 2-3 วัน ซึ่งกล้วย 1 หวี มีประมาณ 12 ลูก”

คุณเสาวณี  บอกกับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ต่อว่า “กล้วยหอมแช่แข็ง” เจาะกลุ่มตลาดเบเกอรี่ สามารถนำไปทำขนมหลายอย่าง อาทิ เค้กกล้วยหอม ไอศกรีมกล้วย ส่วนผงกล้วยดิบทำอาหารได้หลายเมนู ล่าสุดบริษัทกำลังเข้าระบบขายกล้วยหวี และผลไม้ตัดแต่งพร้อมทานกับทาง Grab ซึ่งจะแล้วเสร็จต้นเดือนเมษายน  ราคาจำหน่ายหวีละ 80 บาท

การปรับตัวของบริษัท คิง ฟรุทส์ ในครั้งนี้ ทางผู้บริหาร ระบุว่า ส่งผลถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้น เพราะเดือนมีนาคมยอดขายเพิ่มขึ้น พนักงานที่เป็นลูกจ้างรายวัน 100 คน ต้องทำงานล่วงเวลา จากปกติวันละ 300 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 335–400 บาท ส่วนรายได้ทั้งปี 63 ตั้งเป้า 200 ล้านบาท

ในส่วนของสถานการณ์ภัยแล้งปีนี้ คุณเสาวณี ให้ข้อมูลว่า ยังไม่ได้รับผลกระทบ เพราะเมื่อปี 62 ได้ย้ายพื้นที่ปลูกกล้วยไปยังพื้นที่ที่มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี 20 จังหวัด อาทิ โคราช กาญจนบุรี (อำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง) สุพรรณบุรี สระบุรี  เป็นต้น