“ไม่เห็นพรรคไหนพูดนโยบายเพื่อคนทำมาค้าขาย มีแต่ประชานิยมกับด่าพรรคอื่น”

ไม่เห็นพรรคไหนพูดนโยบายเพื่อคนทำมาทำไค้าขาย มีแต่ประชานิยมกับด่าพรรคอื่น
ไม่เห็นพรรคไหนพูดนโยบายเพื่อคนทำมาทำไค้าขาย มีแต่ประชานิยมกับด่าพรรคอื่น

“ไม่เห็นพรรคไหนพูดนโยบายเพื่อคนทำมาทำไค้าขาย มีแต่ประชานิยมกับด่าพรรคอื่น”

ใกล้โค้งสุดท้ายเข้ามาทุกขณะ สำหรับวันเลือกตั้งครั้งประวัติศาสต์ “24 มีนาคม 2562” ยามนี้หันไปทางไหนก็ได้ยินแต่นโยบายหาเสียงจากพรรคการเมืองน้อยใหญ่ ซึ่งอาจมีทั้งถูกใจ-ไม่ถูกใจ ว่ากันไปตามความรักความชอบของแต่ละคน

ล่าสุด “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” สอบถามความเห็นไปยัง “ผู้มีสิทธิ” ชี้ชะตาว่าบรรดานักเลือกตั้งท่านใด จะได้รับเกียรติเดินเข้าสู่สภาฯตามวิถีระบอบประชาธิปไตย เกี่ยวกับ “นโยบายเพื่อคนทำมาค้าขาย” น้อยใหญ่ ว่ามีพรรคไหน “ขายไอเดีย” ให้ได้โดนใจมากน้อยแค่ไหน

คุณพลชัย เพชรปลอด อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยศิลปากร อดีตผู้บริกหารการตลาด กลุ่มธนบุรีประกอบรถยนต์

“ไม่เห็นพรรคไหนพูดถึงนโยบายเพื่อคนค้าขายเลย มีแต่ประชานิยม กับด่าพรรคอื่น ควรเลิกด่า แล้วหันมาบอกนโยบายชัดๆ พร้อมวิธีรูปธรรมคร่าวๆ ให้เห็นว่าจะทำให้สำเร็จได้อย่างไร ด้วยวิธีไหน โดยเฉพาะแนวประชานิยมใช้เงินทั้งหลาย เงินจะเอามาจากไหน จะขึ้นภาษีมั้ย คือ  พูดแต่ใช้เงิน ไม่เห็นวิธีได้เงิน  ขณะเดียวกัน  แหล่งเงินรัฐนั้น มาจากภาษีเป็นหลัก รัฐไม่ใช่ร้านค้า เงินที่มีจึงควรใช้กับสิ่งที่ให้ประโยชน์สาธารณะมากๆ ไม่ใช่เพื่ออุ้มคนเพียงบางกลุ่ม หากเป็นแบบนี้ คนตรงกลาก็อ่วม ภาษีต้องจ่ายเพราะไม่จน ความช่วยเหลือไม่ค่อยได้ เพราะถือว่าไม่จน ไม่ลำบาก”

คลิก อ่านข่าว ฟังเสียงพ่อค้า-แม่ขาย อยากได้นโยบายอะไร เป็น “วาระแห่งชาติ”

และเมื่อลองสำรวจความเห็นบรรดาพ่อค้าแม่ขาย หลายคนบอกปลงๆ  “ไม่หวังอะไรกับการเลือกตั้งครั้งนี้ ใครเข้าเศรษฐกิจไม่ดีเหมือนเดิม” เริ่มที่

คุณสมวงษ์ กรเพ็ชร อายุ 59 ปี (พ่อค้าขายขนมเค้ก ตลาดอมรพันธ์)

“ไม่ได้ต้องการนโนบายอะไรเป็นพิเศษ เพราะไม่ว่าจะมีการปกครองกี่ยุคสมัยเศรษฐกิจก็ไม่ต่างจากเดิม เลิกคาดหวัง หันมาให้ความสำคัญกับการค้าขายเพื่อความอยู่รอดของเราดีกว่า”

คุณรชรินทร์ ธิปัตย์ อายุ 25 ปี (เจ้าของร้านขายรองเท้ามือสอง บริเวณหน้าวัดพระศรีมหาธาตุ)

“เลิกคาดหวังนานแล้ว เพราะนโยบายช่วยพ่อค้าแม่ค้าไม่ว่าจะผ่านรัฐบาลกี่ยุคสมัยก็เกิดความเหลื่อมล้ำ เศรษฐกิจไม่ดีเหมือนเดิม”

คุณรัชนีย์ เอิบอิ่ม อายุ 35 ปี แม่ค้าขายเครื่องประดับย่านเอกมัย

“อยากให้มีการลดค่าครองชีพ เพราะค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนสูงกว่ารายรับที่ได้มา เงินมีไม่พอเก็บ มีเพียงประทังชีวิตไปเป็นเดือน ๆ เท่านั้น”

คุณบุญรส พันธนาม อายุ 30 ปี (พ่อค้าขายไส้กรอกย่าง บริเวณตลาดอมรพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน)

“ไม่ว่าจะเป็นใครเข้ามาบริหารประเทศ การค้าขายก็คงจะเหมือนเดิม หรืออาจจะดีขึ้นเพียงเล็กน้อย ไม่แตกต่างจากเดิม”