เจ้าของอู่ซ่อมรถที่จังหวัดลพบุรี หารายได้เสริมด้วยการปลูกมะกรูด เอ่ยปากชมว่า “พืชตระกูลส้มชนิดนี้ ทำเงินดี ไม่แพ้งานประจำ”

สร้างรายได้ให้เป็นกอบเป็นกำแก่หลายๆ คนมาแล้ว บางคนถึงขนาดตั้งตัวได้ สำหรับ “มะกรูด” พืชในตระกูลส้มเพราะเป็นพืชที่ขายง่าย ตลาดมีความต้องการทุกวัน  ขนาดคุณอุ้ย หรือคุณพิบูลศักดิ์ ละออง เจ้าของสถานตรวจสภาพรถ อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี ยังเอ่ยปากชมว่า “มะกรูด” สร้างรายได้ให้ไม่แพ้งานประจำ

คุณอุ้ย ปัจจุบันอายุ 34 ปี เขาเป็นเจ้าของสถานตรวจสภาพรถ อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรีพร้อมๆ กับปลูกมะกรูดไปด้วยภายในอู่ซ่อมรถ ซึ่งเขาใช้วิธีปลูกระยะชิด 50X50 ซม. ระยะนี้ปลูกเต็มพื้นที่ 1 ไร่ จะได้ 4,000 ต้น ปัจจุบันปลูกมะกรูด 2 ไร่ ก็ 8,000 ต้น ระยะเวลา 8 เดือน มะกรูดจะโตเต็มวัย จากนั้นทุกๆ 2 เดือนสามารถตัดขายได้ แต่ละรอบ ให้ผลผลิตราว 1 – 1.5 ตัน ด้านราคาขายถ้าแบบมีก้านติด กิโลกรัมละ 7-15 บาท ขายเฉพาะใบล้วนๆ กิโลกรัมละ 40-60 บาท ราคาดังกล่าวปรับขึ้น – ลง ตามฤดูกาล

182

คุณอุ้ย เล่าว่า จุดเริ่มต้นที่หันมาปลูกมะกรูด เพียงอยากจะมีรายได้เสริม แต่มีเงื่อนไข 4 ข้อ คือ 1.ต้องเป็นไม้ยืนต้นที่ไม่ต้องรื้อและปลูกใหม่ 2.ต้องสามารถทำได้บนพื้นที่ 1 ไร่ เพราะเดิมที่ดินมีแค่นี้ 3.ต้องเป็นพืชที่ไม่ถูกบีบเรื่องระยะเวลาการเก็บเกี่ยวและผลผลิตเสียหายง่าย  4.ต้องสามารถทำเองคนเดียวได้ จาก 4 เงื่อนไขดังกล่าวจึงมองว่า “มะกรูด” เป็นพืชที่น่าสนใจ เพราะใช้พื้นที่น้อยการจัดการบริหารพื้นที่ไม่ยุ่งยากมากนัก ถ้ามีการวางระบบการจัดการที่ดี สามารถทำคนเดียวได้ปัจจุบันปลูกมะกรูดได้ 3 ปี กลับกลายเป็นรายได้ที่ทำเงินมากกว่าที่คิดไว้เลย

12549083_480967652087547_4803592683991320804_n

“ก่อนจะปลูกมะกรูด เดิมผมปลูกมะนาวนอกฤดู  เพราะเมื่อปี  55 ได้ไปอบรมเรื่องการปลูกมะนาว ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมะนาวนอกฤดู ราคาดีลูกละ 7-10 บาท แต่ทว่ามะนาวนอกฤดูเก็บได้เพียงปีละครั้ง 1 ไร่ปลูกได้เพียง 100กว่าต้น ผลผลิตได้ไม่ถึง 1,000ลูก แถมมีต้นตายบ้าง หนที่สุดเลยหันมาปลูกมะกรูดทดแทน”

สำหรับเงินลงทุนแรกเริ่ม คุณอุ้ย บอกว่า มะกรูดแปลงแรก ลงทุน 1.2 แสนบาท ปลูกได้ 3,300 ต้น ใช้วิธีขยายพันธุ์แบบกิ่งตอน ต่างจาการเพาะมล็ดเกือบ 2 ปีถึงจะเก็บผลผลิตได้ ระยะเวลา 8 เดือน มะกรูดจะโตเต็มวัย จากนั้นทุกๆ 2 เดือนสามารถตัดขายได้

ด้านตลาด ชายหนุ่ม บอกว่า จะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ ซึ่งมะกรูดจะตัดขาย 2เดือนครั้ง แต่ละครั้งก็ทำเงินให้หลายหมื่นบาท รายได้นับว่าดีในระดับที่น่าพอใจ

ปัจจุบันการทำเกษตรของคุณอุ้ยเป็นเพียงอาชีพเสริมเท่านั้น เพราะงานหลักเขา คือ  เป็นเจ้าของสถานตรวจสภาพรถและการเข้ามาสวมบทบาทเกษตรกร เขาหาข้อมูลไว้รอบด้าน

14408179_590448681139443_1709753148_o

493

“คนที่คิดจะเข้ามาปลูกมะกรูด ควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน ถ้าอยากจะทำเป็นอาชีพจริงจัง ควรไปดูแปลงจากคนที่ประสบความสำเร็จ ถ้าอยากจะทำเป็นอาชีพเสริม ให้ไปดูคนที่เค้าทำเป็นอาชีพเสริม มันจะได้ตรงตามความคาดหวัง ควรเลือกดูจากแปลงที่มีการบริหารจัดการที่ดี จะได้เอาไปปรับใช้กับแปลงตัวเอง ปัญหาและความผิดพลาดน่ะมันมีทุกแปลง แต่อยู่ที่ว่ารู้ปัญหาแล้วทำให้มันดีขึ้นหรือเปล่า ไม่ใช่ผิดพลาดอยู่ตลอด”

12915236_509743062543339_263757301_o

คุณอุ้ย ยกตัวอย่างว่า เคยเจอปัญหาหญ้า เพราะหลังจากที่ปลูกมะกรูดไปแล้ว มีปัญหาเรื่องหญ้า เริ่มแรกใช้ฟาง พอจะคลุมหญ้าได้บ้าง แต่เมื่อเวลาผ่านไป 2-3 เดือน หญ้าเริ่มบางลง ต้องเติมฟางเรื่อยๆ ซึ่งฟางราคาค่อนข้างแพง จึงเปลี่ยนมาเป็นผ้าใช้ผ้าสปันบอน เพราะน้ำซึมผ่านได้ ระบายอากาศได้ ใช้ไปประมาณ 6-7 เดือน ผ้าไม่ทนต่อ UV เมื่อขึ้นเฟส 2 จึงหาทางบริหารจัดการกับเรื่องหญ้าให้ได้ จึงยกร่องให้สูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อต้องการจะฉีดยาฆ่าหญ้าได้ในร่อง (ในกรณีที่ต้องการฉีด โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อมะกรูด) ปัจจุบันเฟส 2 เรื่องหญ้าแทบไม่มีปัญหาเลย ถ้าไม่อยากให้หญ้าในร่องขึ้นอีก ก็พ่นยาคลุมหญ้าได้ เพราะความสูงของร่องที่ขึ้นไว้สูงกว่ากันถึง 60-70 ซม.เรียกได้ว่าแทบไม่มีผลต่อพืชเลย