รวม 5 แฟรนไชส์สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ธุรกิจติดเทรนด์ ทำก่อน รวยก่อน ทำเงินได้ระยะยาว

รวม 5 แฟรนไชส์สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ธุรกิจติดเทรนด์ ทำก่อน รวยก่อน ทำเงินได้ระยะยาว

ธุรกิจที่น่าลงทุนมากที่สุดในยุคนี้ คงหนีไม่พ้น สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือปั๊มชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เพราะปัจจุบันนี้มีแหล่งผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกมาเยอะ และคนเริ่มหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าในอนาคตรถยนต์ไฟฟ้าจะถูกใช้งานเยอะกว่ารถยนต์ทั่วไป

เมื่อมีคนใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น แน่นอนเลยคือสถานีชาร์จจะต้องเป็นอีกที่ที่คนต้องการ และประเทศไทยยังมีสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่น้อยกว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้น เมื่อได้ลงทุนแล้ว คิดว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับคุณได้ในระยะยาวแน่นอน

ดังนั้น หากคุณสนใจเป็นเจ้าของธุรกิจสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ได้รวมแหล่งสร้างธุรกิจนี้มาไว้ให้แล้ว ลองไปดูกันได้เลย

1. A.I Station

ภาพจาก A.I Station

ใช้เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) ทั้ง AC Charger 7-22 kw และ DC Charger 60-180 kw สามารถปรับเปลี่ยนขนาดสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) ให้เหมาะสมกับสถานที่และงบประมาณการลงทุนสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้ได้ผลตอบแทนมากที่สุด พร้อมระบบบริหารจัดการ (EV Charging Station Network Operator Platform) ที่มาพร้อมกับแอปพลิเคชัน, ระบบคิดเงิน, ระบบจ่ายเงิน, ระบบฐานข้อมูลผู้ใช้งาน และระบบการจัดการไฟฟ้าและการใช้ไฟฟ้า (Load Management) โดยสามารถติดตั้งสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นตอบโจทย์กลุ่มสถานประกอบการที่แตกต่างกัน 5 รูปแบบธุรกิจ ดังนี้

1. EV CHARGING STATION

สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV)เป็นหลักและสถานีชาร์จในปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส เพื่อทำกำไรจากค่าบริการในการชาร์จ เพิ่มเติมจากน้ำมันและแก๊สเพื่อสนันสนุนธุรกิจพลังงานให้ครบวงจร

2. EV CHARGING STATION FOR COMPANIES

สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) สำหรับบริษัทหรือองค์กรโรงงาน ที่มีรถขนส่งของหรือรถประจำตำแหน่งเพื่อความมั่นใจในการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพลดต้นทุนเพิ่มกำไรขององค์กร

3. EV CHARGING STATION FOR CONDOMINIUM

สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) สำหรับ คอนโดมิเนียม, อพาร์ตเมนต์, หมู่บ้าน เพื่อประโยชน์ทำกำไรเพิ่มจากการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับนิติบุคคลของคอนโดมิเนียม

4. EV CHARGING STATION FOR SHOPPING MALL

สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) สำหรับ ห้างสรรพสินค้าและอาคารสำนักงานต่างๆ อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้รถไฟฟ้าและเพิ่มกำไรและศักยภาพในจุดจอดรถ

5. EV CHARGING STATION FOR RESTAURANT

สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) สำหรับ ร้านอาหาร, จุดพักรถ, สถานที่ท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มกำไรและอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าและยังสามารถดึงให้คนอยู่ในสถานที่นานขึ้นจับจ่ายมากขึ้น

รายละเอียด คลิก

2. PEA VOLTA

PEA VOLTA Platform เป็น Digital Platform สำหรับบริหารจัดการ การอัดประจุไฟฟ้าที่ PEA พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงผู้ประกอบการ สถานีอัดประจุไฟฟ้าและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้วยความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย 

PEA จะให้บริการ PEA VOLTA Platform แก่ผู้ประกอบการ ที่ลงทุนติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า ให้สามารถให้บริการการอัดประจุไฟฟ้า ผ่านเครือข่าย PEA VOLTA Platform ได้อย่างง่ายดาย เพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของคุณ ให้สามารถเข้าถึงผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าได้ทั่วถึง อีกทั้งมีระบบติดตาม ดูแล บริหารจัดการสถานี พร้อมด้วยฟังก์ชันการให้บริการที่ตอบโจทย์ธุรกิจ

DC Charger ขนาด 50-60 kw

ภาพจาก PEA VOLTA

ราคาโดยประมาณ 1,6xx,xxx – 2,1xx,xxx บาท

Growatt ราคา 1,6xx,xxx บาท

Delta ราคา 1,9xx,xxx บาท

ABB ราคา 2,1xx,xxx บาท

ดูรายละเอียดตู้ชาร์จ Atess 60Kw, Delta 50Kw และ ABB 50Kw

* หมายเหตุ

ราคานี้ไม่รวมค่าขออนุญาต EV Low Priority

สามารถสอบถามเบื้องต้นเรื่องประเภทหัวชาร์จและจํานวนชนิดหัวได้

ราคาดังกล่าวเป็นราคาประมาณการเบื้องต้น

DC Charger ขนาด 100-150 kw

ภาพจาก PEA VOLTA

ราคาโดยประมาณ 2,5xx,xxx – 3,6xx,xxx บาท

Growatt ราคา 2,5xx,xxx บาท

Delta ราคา 3,4xx,xxx บาท

ABB ราคา 3,6xx,xxx บาท

ดูรายละเอียดตู้ชาร์จ Atess 150Kw, Delta 100Kw และ ABB 120Kw

* หมายเหตุ

ราคานี้ไม่รวมค่าขออนุญาต EV Low Priority

สามารถสอบถามเบื้องต้นเรื่องประเภทหัวชาร์จและจํานวนชนิดหัวได้

ราคาดังกล่าวเป็นราคาประมาณการเบื้องต้น

ผู้ประกอบการที่สนใจข้อมูลสามารถติดตามข้อมูลได้ทาง

LINE: @PEAVOLTA

Facebook : PEA VOLTA

รายละเอียด คลิก

3. GINKA Charge Point

ภาพจาก GINKA Charge Point

7.2 kw ราคาเริ่มต้น 89,000 บาท 

ติดตั้งสถานี GINKA ได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย

1. Flexible Charging Fee

เจ้าของพื้นที่สามารถกำหนดอัตราค่าบริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าและค่าบริการจอดรถยนต์ร่วมกับ GINKA

2. Maintenance

บำรุงรักษาเครื่องชาร์จพร้อมใช้งาน 2 ปี

3. Back Office

มีระบบการจัดการสำหรับเจ้าของพื้นที่สามารถดูรายละเอียดของสถานีชาร์จได้แบบ Real Time

4. มี Call Center

ดูแลลูกค้าและเจ้าของสถานีชาร์จทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

5. One Stop Service

บริการแบบครบวงจรด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

รายละเอียด คลิก

4. Tesla

ภาพจาก TESLA

ติดตั้ง Supercharge ให้กับอสังหาริมทรัพย์ของคุณ

รถ Tesla มีระบบนำทางในรถยนต์ที่สามารถนำคนขับไปยังสถานี Supercharger ที่อยู่ใกล้เคียงได้ นำมาซึ่งธุรกิจใหม่และช่วยให้ลูกค้าหวนกลับไปยังธุรกิจคุณอีกครั้งได้ Supercharger ได้รับการดูแลอย่างสมบูรณ์โดย Tesla ดังนั้น จึงไม่มีค่าบำรุงรักษาหรือความยุ่งยากเพิ่มเติม

การติดตั้ง รวดเร็วและยืดหยุ่น

Tesla จัดการเรื่องการก่อสร้าง การดำเนินงาน และการบำรุงรักษา Supercharger ณ สถานที่ของคุณ กระบวนการติดตั้งได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ Supercharger ของคุณสามารถชาร์จได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งติดตั้งให้คุณได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเสร็จสมบูรณ์โดยทีมติดตั้งของ Tesla

รายละเอียด คลิก

5. EVolt (อีโวลท์) 

ภาพจาก EVolt

บริการติดตั้ง สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จากทาง EVolt (อีโวลท์) นับว่าเป็นหนึ่งใน Solution ที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจและผู้ประกอบการที่ต้องการเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรได้เป็นอย่างดี รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อผู้บริโภค ซึ่งในปัจจุบันองค์กรขนาดใหญ่ต่างก็มี จุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ในพื้นที่ที่ให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้บริโภค เพื่อรองรับการขยาย สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ทั่วประเทศ ที่จะครอบคลุมยิ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดดในอนาคต

สิทธิประโยชน์ ที่มาพร้อมบริการติดตั้ง สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

1. สามารถตอบสนองต่อความต้องการต่อผู้ใช้บริการที่หลากหลาย

2. ช่วยดึงดูดผู้ใช้บริการ ทั้งต่อผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า และประชาชนทั่วไป

3. เพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ จากการติดตั้ง จุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ในพื้นที่

รายละเอียด คลิก

เมื่อเรามีธุรกิจเป็นของตัวเองแล้ว สิ่งที่จะช่วยเพิ่มยอดขายได้มากขึ้นเลยคือ การปักหมุดสถานีชาร์จใกล้ฉัน วันนี้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ จะมาบอกวิธีการทำให้

1. พิมพ์คำว่า Google My Business ในช่องการค้นหาของ Google และคลิกเลือกอันแรก

2. ถ้าเรายังไม่เคยมี Google My Business และไม่เคยปักหมุดมาก่อนเลย ให้กดคำว่า ‘จัดการเลย’  เพื่อเข้าไปสร้างธุรกิจใน Google My Business ก่อน สำหรับคนที่เคยสร้างธุรกิจไว้แล้ว ให้กดคำว่า “Sign In” เข้าสู่ระบบได้เลย

3. ใส่ชื่อธุรกิจ ชื่อร้านค้า หรือ ชื่อแบรนด์ แล้วกด ‘Next’

4. เลือก Business Category คือ ประเภทธุรกิจของเรา สำหรับข้อมูลในส่วนนี้เราสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมได้ในภายหลัง 

5. เลือกแสดง หรือ ไม่แสดง ตำแหน่งของร้าน คือ กรณีที่ธุรกิจของเรามีหน้าร้าน โชว์รูม หรือมีออฟฟิศที่พร้อมรับรองลูกค้า อยากให้ลูกค้ามาเยี่ยมชมโชว์รูม มาเลือกซื้อสินค้า หรือเข้ามาติดต่อที่บริษัท เราก็เลือกให้ตัวปักหมุดแสดงในแผนที่ Google Map เพื่อให้ลูกค้าสามารถกดนำทางมาที่หน้าร้านหรือที่ออฟฟิศของเรา โดยกด ‘YES’

แต่ถ้าเราไม่มีหน้าร้าน ขายออนไลน์อย่างเดียว หรือกด ‘NO’ และกด ‘Next’

6. ใส่รายละเอียดที่อยู่ให้ครบถ้วน เพื่อที่ระบบจะได้ทำการปักหมุดให้อัตโนมัติได้ตามที่เราใส่รายละเอียดเลย และกด ‘Next’

7. ตรวจสอบตำแหน่งร้านค้าหรือธุรกิจในแผนที่อีกครั้ง เพราะในการปักหมุดอัตโนมัติที่ Google ทำให้ตามตำแหน่งที่เราใส่ข้อมูลไป อาจจะมีคลาดเคลื่อนไปบ้าง ให้เราขยับหมุดไปปักในตำแหน่งที่ถูกต้องให้เรียบร้อย

ตรวจสอบความเรียบร้อยแล้ว กด ‘Next’ 

8. ตัวเลือก “การให้บริการนอกสถานที่” หมายถึง ในบางธุรกิจมีลักษณะของ Delivery

9. กำหนดพื้นที่การให้บริการ ทำได้ด้วยการพิมพ์ตำแหน่ง เช่น ประเทศ จังหวัด ตำแหน่ง ฯลฯ แล้วเลือกจาก Drop Down อีกครั้ง แต่ตรงนี้จะเป็น Optional สามารถกด ‘Next’ ไปได้เลย

10. ใส่ข้อมูลการติดต่อของธุรกิจเรา อาทิ เบอร์โทรศัพท์ เว็บไซต์ เป็นต้น ถ้าเรามีเว็บไซต์ ให้ใส่เป็น URL ไปเลย แต่ถ้าเรายังไม่มีเว็บไซต์ ก็ให้กด ‘I don’t need a website’ และกด ‘Next’

11. กำหนดการรับข่าวสารข้อมูลจาก Google คือทาง Google ต้องการส่งข่าวสารให้กับเราผ่านอีเมล ซึ่งถ้าเราไม่ต้องการรับข่าวสารอัปเดตหรือโฆษณาต่างๆ จาก Google ก็สามารถเลือกไม่รับ และกด ‘Next’

12. กด ‘Finish’ เพื่อบันทึกข้อมูลลงระบบ

13. หลังจากบันทึกข้อมูลพื้นฐานแล้ว ระบบจะแนะนำให้เราใส่ข้อมูลร้านค้าหรือธุรกิจเพิ่มเติม โดยเริ่มจากการกำหนดวันเวลาที่เปิดให้บริการ ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ทำการค้นหา แนะนำให้ทุกท่านใส่ข้อมูลที่ถูกต้องลงไปให้ครบถ้วน แล้วตรวจสอบข้อมูลให้เรียบร้อยก่อนกดเซฟ

14. ใส่คำอธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ คือ คำอธิบายคร่าวๆ ว่าธุรกิจของเราทำเกี่ยวกับอะไร มีสินค้าหรือบริการอะไรบ้าง เหมาะกับใคร เป็นต้น

คำอธิบายเบื้องต้นนี้จะจำกัดเพียง 750 ตัวอักษรเท่านั้น ต้องเขียนให้ครอบคลุม กระชับ เข้าใจง่าย และต้องส่งเสริมให้เกิดการตัดสินใจซื้อ เพื่อที่ว่าเวลากลุ่มเป้าหมายเสิร์ชและเห็นการแสดงผลของธุรกิจเราจะได้อยากกดเข้าไปดูเว็บไซต์ของเรา หรือติดต่อสอบถามเข้ามา ซึ่งจะช่วยให้เราปิดการขายได้ง่ายขึ้น

15. เราสามารถใส่รูปที่เกี่ยวกับธุรกิจ หน้าร้าน สินค้า หรือแบรนด์ของเราเพิ่มเติมได้ ในส่วนนี้จะเป็น Optional จะใส่ก็ได้หรือไม่ใส่ก็ได้

16. ระบบแจ้งให้ทราบว่าเราสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล รวมถึงอัปเดตข้อมูลเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา กด ‘Continue’

เสร็จจากขั้นตอนนี้แล้ว เดี๋ยวค่อยมาแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง หรือจะแก้ไขไปเลยก็ใช้เวลาไม่ถึง 10 นาที ถ้าต้องการทำเลย ให้กด ‘Get Started’

17. ระบบจะนำเราเข้ามาสู่หน้า Dashboard ของ Google My Business ซึ่งเราสามารถตั้งค่าอื่นๆ เพิ่มเติมได้ เช่น Add photo เพิ่ม ใส่ข้อมูลร้านค้าเพิ่มเติม แก้ไขอัปเดตข้อมูลร้าน แก้ไขชื่อ ที่อยู่ ฯลฯ วิธีแก้ไขให้กดคำว่า ‘Info’ ตรงแถบเมนูด้านซ้าย รวมไปถึงเราสามารถ Add product เบื้องต้นได้ โดยใส่ตรงช่อง Services 

ที่น่าสนใจและควรให้ความสำคัญคือ ในแถบเมนูด้านซ้าย จะมีคำว่า ‘Insight’ หมายถึงข้อมูลเชิงลึกของร้านค้า ที่แสดงผลให้เห็นว่าหลังจากเราปักหมุดร้านค้าใน Google My Business ไปแล้ว Google ได้แสดงผลร้านของเราในการค้นหาที่เกี่ยวข้องไปกี่ครั้งแล้ว มีคนที่เสิร์ชหาชื่อธุรกิจร้านค้าของเรากี่ครั้ง มีคนที่เสิร์ชหาธุรกิจแบบเดียวกับเราในลักษณะ Location Search ในพื้นที่ที่เราปักหมุดไว้จำนวนเท่าไหร่ 

นอกจากนี้ ยังมีเมนู ‘Reviews’ ที่เราสามารถเปิดให้มารีวิวร้านค้าหรือธุรกิจของเราได้ด้วยเพื่อช่วยเพิ่มในเรื่องความน่าเชื่อถือ ถ้ารีวิวเราได้คะแนนดี ลูกค้าใหม่ๆ ก็จะมาหาเรามากขึ้นโดยที่เราอาจจะไม่ต้องเสียเงินค่าโฆษณาเลยก็ได้

ขอบคุณข้อมูล StartUp Now 

 

เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2023