ชาวโคราชยึดหลักศก.พอเพียง หันปลูกผักสวนครัวหลากชนิด แทนทำนาปรัง

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560 ภายหลังจากที่ทางชลประทานได้มีการขอความร่วมมือกับเกษตรกรในพื้นที่ติดกับลุ่มน้ำลำตะคอง ขอให้หยุดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง เนื่องจากปริมาณน้ำกักเก็บที่เหลืออยู่ 105.519 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 33.55 เปอร์เซ็นต์ ของความจุกักเก็บ 314.49 ล้านลูกบาศก์เมตร นั้นไม่เพียงพอต่อการจัดส่งให้กับเกษตรกรทำการเพาะปลูกข้าวนาปรังได้ เนื่องจากต้องรักษาปริมาณน้ำกักเก็บไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ดังนั้นจึงขอความร่วมมือกับเกษตรกรให้งดปลูกข้าวนาปรังแล้วหันไปปลุกพืชใช้น้ำน้อยแทน

ล่าสุด เกษตรกรในพื้นที่บ้านมะกอก หมู่ที่ 9 ตำบลสีมุม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทีเคยใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปี หันมาทำเป็นพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว อาทิ ต้นกระเพราะ , ผักสลัด , แตกกวา , ต้นหอม ,มะเขือ และใบโหรพา ในช่วงที่ไม่ได้มีการเพาะปลูกข้าวนาปรัง หลังจากที่ทางอำเภอ และทางชลประทานขอความร่วมมือ ทั้งนี้ก็เพื่อเอาไว้จำหน่ายเพื่อหารายได้เสริมในช่วงที่ไม่ได้เพาะปลุกข้าวนาปรัง อีกทั้งก็ยังสามารถเอาไว้บริโภคในครัวเรือนเพื่อลดค่าจ่ายในครัวเรือนได้อีกทางหนึ่ง

นางจันทร์ ประณีตพลกรัง  อายุ 53 ปี เกษตรกรบ้านมะกอก เปิดเผยว่า เดิมทีพื้นที่ที่ตนเองได้ปลูกผักสวนครัวอยู่นี้ เคนเป็นพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลุกข้าวนาปี แต่เมื่อทางอำเภอและชลประทานขอความร่วมมือในการให้เกษตรกรงดเพาะปลูกข้าวนาปรัง เนื่องจากปริมาณน้ำที่เหลืออยู่เพื่อไว้ในการอุปโภคบริโภค ตนเองก็พร้อมที่จะรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกโดยได้ยึดหลักตามรอยพ่อหลวงเศรษฐกิจพอเพียง คือการปลูกผักนานาชนิดในพื้นที่เพาะปลูกของตนเอง ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยการเก็บผลผลิตภายในพื้นที่เพาะปลูกของตนเองมาบริโภค และเมื่อเหลือก็สามารถที่จะนำไปจำหน่ายเพื่อหารายได้เสริมจากการขายผักสวนครัวให้กับพ่อค้าแม่ค้าตามตลาดต่างๆในราคากิโลกรัมละ 20-25 บาท ก็ถือว่าเพียงพอในช่วงที่ไม่ได้เพาะปลูกข้าวนาปรัง

 

ที่มา มติชนออนไลน์