ยุคซื้อขายไร้พรมแดน! คิดจะทำ ธุรกิจนำเข้าสินค้า ต้องรู้ 5 ข้อนี้

ยุคที่การซื้อขายไร้พรมแดน! คิดจะทำ ธุรกิจนำเข้าสินค้า ผู้ประกอบการมือใหม่ ต้องรู้ 5 ข้อนี้

ในยุคที่ใครๆ ก็หันมาเป็นแม่ค้าพ่อค้าออนไลน์กัน นอกจากการขายอาหารออนไลน์แล้ว หลายๆ คน ก็หันมาจับธุรกิจ นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ กันไม่น้อย เพราะสินค้าที่นำเข้ามาขาย มีความพิเศษเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง อาทิ สไตล์การออกแบบ คุณภาพของสินค้า หรืออาจเพราะ สินค้ามีราคาถูกกว่าสินค้าประเภทเดียวกันที่มีอยู่ในประเทศ จึงทำให้หลายคนมองเห็นช่องว่างการสร้างกำไรจากจุดนี้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ เศรษฐกิจไทยปี 64 ผ่านพ้นช่วงลำบากสุดแล้ว แต่ยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง
cr.www.freepik.com

แต่การจะผันตัวเข้ามาเล่นในตลาดธุรกิจนำเข้าสินค้า ก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น เพราะมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องคิดให้ถี่ถ้วนมากกว่าการมองเห็นช่องทางสร้างกำไร เว็บไซต์ K SME ได้เผย 5 ข้อต้องรู้ ก่อนเป็นผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ดังนี้

1. วิเคราะห์การตลาด

ก่อนจะผันตัวเข้ามาเล่นในตลาดธุรกิจนำเข้าสินค้า ผู้ประกอบการควรเช็กกระแสของลูกค้าว่า สินค้าของเราอยู่ในความต้องการกลุ่มไหน เพราะลูกค้ามีหลายระดับ เมื่อแบรนด์กำหนดกลุ่มเป้าหมายได้แล้ว ก็ให้มองไปถึงว่า เรามีคู่แข่งเป็นใครบ้าง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้การสื่อสารการตลาดตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น เพราะยิ่งความต้องการของลูกค้าต่างกัน วิธีการก็จะต่างกัน การทำแบบนี้จะช่วยให้แบรนด์เราเหนือกว่าคู่แข่ง อีกทั้งยังเปรียบเทียบการตลาดอื่นๆ แล้วนำมาปรับใช้ได้อีกด้วย

2. โปรโมตให้ถูกที่

การลงขายสินค้าผ่าน Marketplace หรือ ตลาดนัดขนาดใหญ่บนโลกโซเชียล เป็นตัวช่วยในการกระจายสินค้าได้กว้างขวางมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแอพยอดนิยม อย่าง Lazada หรือ Shopee นอกจากได้รับความนิยมจากลูกค้าแล้ว ยังเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ต้นทุนต่ำ มีประสิทธิภาพสูง เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงกลุ่ม ทั้งยังสามารถขยายกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ได้ด้วย

3. ราคาตลาดอยู่ที่เท่าไหร่

นอกจากนั้น ผู้ประกอบการต้องศึกษาราคาตลาดของคู่แข่งด้วยว่า ในตลาดสินค้าประเภทเดียวกัน เจ้าอื่นๆ เขาตั้งราคากันที่เท่าไร เมื่อคำนวณต้นทุนของสินค้าแล้ว ควรขายราคาไหนถึงจะเหมาะสม เพราะหากตั้งราคาตามใจ ก็จะพบกับปัญหา ขายแพงก็ไม่มีลูกค้า หรือ ขายถูกเกินเพื่อตัดหน้าคู่แข่ง เราก็ไม่มีกำไร นั่นเอง

เช่น ค่าภาษีนำเข้า ค่าขนส่งระหว่างประเทศและในประเทศ ไม่ใช่เอาแต่ขายถูกจนขาดทุน จนไม่เหลือกำไรสักบาท

4. ชิปปิ้งดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

การเลือกชิปปิ้ง ก็เหมือนการเลือกคู่ชีวิต หากเจอเจ้าที่ดีมีความเข้ากันได้ในหลายๆ อย่าง รวมถึงการจัดส่งไม่เกิดปัญหามากมาย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจในระยะยาวได้ และทำให้แบรนด์มีภาษีดีกว่าคู่แข่ง สร้างความเชื่อมั่น ลูกค้าติดใจไม่ไปไหน เช่น ต้นทุนค่าขนส่ง แบบเหมาหรือขั้นต่ำ วิธีการแพ็กเพื่อความปลอดภัยก่อนถึงมือผู้รับ ไม่บุบไม่เสียหาย และที่สำคัญ ยิ่งชิปปิ้งจัดส่งเร็ว ก็จะถึงมือลูกค้าไว เป็นต้น

5. บริหารการเงินคล่องตัว

เรื่องเงินคือเรื่องใหญ่เสมอ ยิ่งเป็นการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศก็ยิ่งต้องสร้างความไว้วางใจ และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ให้คู่ค้าสบายใจ เมื่อการเงินไม่มีปัญหา ธุรกิจก็ดำเนินไปข้างหน้าได้อย่างราบรื่นนั่นเอง