เผย 8 กลยุทธ์เจาะตลาด พิชิตใจสาวมหาลัย 18+

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)เผย “นักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัย” กลุ่มเป้าหมายที่ผู้ประกอบการและนักการตลาดควรจับตามอง ทั้งในปัจจัยด้านจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2559 มีจำนวนถึง 1,220,444 คน เพิ่มขึ้นถึง 12.9 เปอร์เซ็นต์จากปี 2555 ประกอบกับปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้จ่าย ที่มีความใจร้อน และตัดสินใจซื้อสินค้าอย่างรวดเร็ว พร้อมแนะกลยุทธ์ 8 ข้อเสริมแกร่งธุรกิจให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์นักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัยได้แก่ 1. ดึงดูดด้วยเนื้อหา 2. สื่อสารออนไลน์ 3. เน้นขนาดพกพา 4. หลากหลายแบรนด์ให้เลือก 5. ครบวงจรในที่เดียว 6. มีให้ทดลอง 7. เชื่อแม่ เชื่อเพื่อน 8. เน้นสร้างความมั่นใจ ทั้งนี้ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ได้จัดงานสัมมนาการตลาดภายใต้หัวข้อ “The Campus Girls’ Insight เจาะตลาดสาวมหาลัยวัย 18+”  เมื่อเร็วๆนี้ ณ อาคารมิว วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

นางสาวสุพรรณี วาทยะกร อาจารย์สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวว่า จากสถิติการเพิ่มขึ้นของกลุ่มนักศึกษาหญิงในระดับปริญญาตรีพบว่า ในปี 2559 มีจำนวนนักศึกษาเพศหญิงระดับปริญญาตรีถึง 1,220,444 คน ซึ่งเพิ่มขึ้น 12.9 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับตัวเลขจำนวนในปี 2555 (ที่มา: สารสนเทศอุดมศึกษา) และจากผลวิจัยพบว่านักศึกษาหญิงเหล่านี้มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10,247 บาท ต่อเดือนต่อคน หรือคิดเป็นมูลค่าการตลาดได้กว่า 150,000 ล้านบาทต่อปีโดยประมาณ ประกอบกับพฤติกรรมการใช้จ่ายที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของกลุ่มนักศึกษาหญิงระดับปริญญาตรี มีความใจร้อน และตัดสินใจซื้อสินค้าอย่างรวดเร็ว (impulsive buyer)

%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b8%b5-%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%a3-%e0%b8%ad%e0%b8%b2

นางสาวสุพรรณี กล่าวเสริมว่า นอกจากนี้มีบทวิจัยที่ศึกษาและสรุปไว้ว่า ผู้บริโภคกลุ่มนักศึกษา เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ยังไม่ได้ถูกสร้างให้เกิดความจงรักภักดีต่อแบรนด์ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่หากธุรกิจใดสามารถเข้าถึงตลาดนักศึกษา และสามารถสร้างความประทับใจได้ จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่กำลังจะจบการศึกษา เริ่มต้นเข้าสู่วัยทำงาน สร้างครอบครัว จนถึงเกษียณอายุต่อไปในอนาคต จากข้อมูลทั้งหมดนี้ทำให้สามารถสะท้อนได้ว่า กลุ่มนักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งกลุ่มเป้าหมายที่น่าจับตามองของเหล่าผู้ประกอบการและนักการตลาด โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่เป็นที่ต้องการของกลุ่มดังกล่าว ได้แก่ สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว เครื่องสำอาง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหรือทำความสะอาดร่างกาย

ด้านนางสาวชุตินันท์ ลีละฉายากุล นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ  มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) และตัวแทนโครงการวิจัย “The Campus Girls’ Insight เจาะตลาดสาวมหาลัยวัย 18+” กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้ทำการศึกษาสำรวจกลุ่มนักศึกษาหญิง ที่ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี กว่า 350คน พบว่า พฤติกรรมการใช้จ่ายของกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวใช้จ่ายหลักไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มมากถึง 42 เปอร์เซ็นต์จากการใช้จ่ายทั้งหมด โดยอาหารที่นิยมมากที่สุด คือ อาหารญี่ปุ่นเนื่องจากสร้างความรู้สึกว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ทานแล้วไม่อ้วนและร้านของหวานที่นิยมมากที่สุดคือ ร้านอาฟเตอร์ยู สำหรับพฤติกรรมการใช้จ่ายอื่นๆ ที่รองลงมาได้แก่ การช็อปปิ้งสินค้าต่างๆ 16 เปอร์เซ็นต์ ค่าท่องเที่ยว 13 เปอร์เซ็นต์ ค่าเดินทาง 11 เปอร์เซ็นต์ออมเงิน 10 เปอร์เซ็นต์ ค่าที่อยู่อาศัย 8 เปอร์เซ็นต์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก 1 เปอร์เซ็นต์

%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%8a%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b9%8c-%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%89%e0%b8%b2%e0%b8%a2

นางสาวชุตินันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนและสมาชิกในกลุ่มได้ทำการวิเคราะห์ผลสำรวจดังกล่าว และสามารถวิจัยสรุปออกมาเป็นกลยุทธ์ 8 ข้อเพื่อเจาะตลาดนักศึกษาหญิง ระดับมหาวิทยาลัย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “COSMETIC” เสริมแกร่งธุรกิจให้มีประสิทธิภาพตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์นักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัย ดังนี้

  1. C – Content : ดึงดูดด้วยเนื้อหา ผ่านการนำเสนอคลิปวิดีโอ ภาพ หรือข้อความที่น่าสนใจ กระชับ และสามารถสื่อสารถึงผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ได้อย่างชัดเจน
  2. O – Online: สื่อสารออนไลน์ซึ่งเป็นช่องทางที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถกระจายข่าวสารไปยังคนรู้จัก เพื่อขยายฐานลูกค้าอีกด้วย
  3. S – Small : เน้นขนาดพกพาออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีตัวเลือกขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถหาซื้อ และพกพาได้ง่าย โดยเฉพาะสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัว
  4. M – Multibrand : หลากหลายแบรนด์ให้เลือกณ จุดขาย พร้อมมีคุณสมบัติสินค้าอธิบายแก่ผู้บริโภคอย่างชัดเจน สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างได้
  5. E – Easy & Convenience : ครบวงจรในที่เดียวสามารถตอบสนองความต้องการแก่ลูกค้าให้จบทุกความต้องการในทีเดียว
  6. T – Tester : มีให้ทดลองเพื่อประกอบการตัดสินใจซึ่งการมีให้ทดลองสินค้านั้น เป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการซื้อมากยิ่งขึ้น หรือในขณะเดียวกันสามารถสร้างการตัดสินใจซื้อได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
  7. I – Influence from Friends & Mom : เชื่อแม่ เชื่อเพื่อนเพราะแม่และเพื่อนเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจกับกลุ่มนักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัว
  8. C – Confident : เน้นสร้างความมั่นใจเนื่องจากความมั่นใจเป็นสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายนี้ให้ความสำคัญ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถสร้างความมั่นใจ จะตอบโจทย์

นายอนุพงศ์ คุตติกุล ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท คาร์นิวาล ซัพพลาย จำกัด (CARNIVAL BKK) กล่าวเสริมว่า ที่ร้าน Carnival BKK จะเน้นการบริการของร้านที่สบายๆ มีความเป็นกันเองกับลูกค้า ทำให้ผู้ที่เข้าร้านมารู้สึกเหมือนมีเพื่อนคอยให้คำแนะนำ ซึ่งทำให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย ประกอบกับผลิตภัณฑ์ที่ร้านจะมีความหลากหลาย ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายลูกค้ามีความหลากหลายและครอบคลุมทุกเพศทุกวัย แต่เน้นหลักที่กลุ่มวัยรุ่น โดยเฉพาะนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง และกลุ่มวัยรุ่น นักศึกษานี้เองจะกลายเป็นผู้กระจายข่าว และประชาสัมพันธ์ให้กับร้านผ่านทางสื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดียได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย