อดีตชาวสวนผันตัวสู่เจ้าของอาณาจักรฟาร์มหมูพันล้าน เริ่มต้นจากแม่พันธุ์ 4 ตัว พ่อพันธุ์ 1 ตัว

img_4018

นับเป็นอาณาจักรฟาร์มหมูที่ผลิตสุกรแบบครบวงจรมากที่สุดในภาคเหนือ ซึ่งผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ สำหรับ เครือวี.พี.เอฟ.กรุ๊ป ซึ่งประกอบไปด้วย 4 บริษัทในเครือ ได้แก่ 1. บริษัท วี.พี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด ดำเนินกิจการฟาร์มพ่อพันธุ์แม่ 2. บริษัท แม่ทา วี พี จำกัด ดำเนินกิจการฟาร์มสุกรขุน แบบโรงเรือนปิด 3. บริษัท แม่ทา วี.พี. ฟีดมิลล์ เป็นโรงงานผลิตอาหารสัตว์ 4. บริษัท วี แอนด์ พี เฟร็ชฟูดส์ จำกัด เป็นโรงชำแหละสุกร รวมรายได้ทั้ง 4 บริษัทนับพันล้าน

ปัจจุบัน บริษัทในเครือวี.พี.เอฟ.กรุ๊ป ดำเนินธุรกิจมานานกว่า 43 ปี บริหารโดยเจเนอเรชั่นที่ 2 ซึ่ง คุณวรพงศ์ จีรประภาพงศ์ ผู้จัดการทั่วไปสายงานผลิตภัณฑ์อาหารในเครือวี.พี.เอฟ. เป็นผู้ให้ข้อมูลกับเส้นทางเศรษฐี

img_3992

จากชาวสวน ความรู้ ม.3
สู่เจ้าของฟาร์มหมูพันล้าน

คุณวรพงศ์ เท้าความว่า ฟาร์มหมูแห่งนี้เกิดขึ้นจากคุณพ่อ หรือ คุณยุทธพงศ์ จีรประภาพงศ์ เดิมท่านเป็นชาวสวน จบการศึกษามัธยมปีที่ 3 เริ่มต้นเลี้ยงหมู วัว ไก่ เมื่อปี 2516 ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 60 ไร่ หมูมีเพียงแม่พันธุ์ 4 ตัว พ่อพันธุ์ 1 ตัว เลี้ยงแบบชาวบ้านทั่วไป ทำคลอดหมูเอง ให้อาหารเอง จากนั้นค่อยๆ ขยายจำนวนสัตว์ และพื้นที่เลี้ยงเรื่อยมา จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์วัวและไก่ล้นตลาด หนที่สุดเลิกเลี้ยงวัวและไก่ หันมาเลี้ยงหมูเพียงอย่างเดียว

“ตอนที่คุณพ่อเลี้ยงหมู วัว และไก่ ท่านขวนขวายหาความรู้ตลอด ใช้วิธีเข้าไปอบรมกับหน่วยงานรัฐและเอกชน รวมถึงไปดูงานต่างประเทศ แล้วนำมาปรับปรุงที่ฟาร์มสม่ำเสมอ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์วัวและไก่ล้นตลาด อีกทั้งมีเจ้าใหญ่อย่างซีพีอยู่แล้ว ท่านเลยมองว่าเลี้ยงหมูอย่างเดียวดีกว่า”

คุณวรพงศ์ ระบุว่า เครือวี.พี.เอฟ.กรุ๊ป ซึ่งประกอบไปด้วย 4 บริษัทในเครือ ได้แก่

  1. บริษัท วี.พี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด ดำเนินกิจการฟาร์มพ่อพันธุ์แม่ เพื่อผลิตลูกสุกรส่งต่อนำไปอนุบาลและเลี้ยงสุกรขุน ที่บริษัทในเครือต่อไป
  2. บริษัท แม่ทา วี พี จำกัด ดำเนินกิจการฟาร์มสุกรขุน แบบโรงเรือนปิด โดยรับซื้อลูกสุกรที่ผลิตจากบริษัท วี.พี. เอฟ. กรุ๊ป จำกัด นำมาอนุบาลและเลี้ยงเป็นสุกรขุน เพื่อจำหน่ายให้กับบริษัทในเครือ และลูกค้ารายย่อย เพื่อทำการชำแหละและจำหน่ายต่อไป
  3. บริษัท แม่ทา วี.พี. ฟีดมิลล์ เป็นโรงงานผลิตอาหารสัตว์ โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมื่อปี 2548 สามารถผลิตอาหารสุกรไว้สำหรับใช้ในเครือ โดยควบคุมการผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันมีกำลังการผลิตทั้งสิ้นรวม 45 ตัน ต่อชั่วโมง
  4. บริษัท วี แอนด์ พี เฟร็ชฟูดส์ จำกัด เป็นโรงชำแหละสุกรที่ทันสมัยที่สุดในภาคเหนือ สามารถชำแหละสุกรได้ 200 ตัว ต่อชั่วโมง เพื่อจำหน่ายเนื้อสุกรชำแหละให้กับลูกค้าและซุปเปอร์สโตร์รายใหญ่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง และมีโครงการที่จะส่งออกซากสุกรและเนื้อสุกรชำแหละในอนาคต

“ฟาร์มเลี้ยงสุกรขุนแบบโรงเรือนปิดที่ได้มาตรฐานระดับสากล โดยมีมาตรฐาน GAP, GMP, HACCP, EST 101  ในการรองรับระบบการผลิต มีระบบบำบัดน้ำเสียที่สามารถนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ ผลิตเป็นระบบน้ำประปาใช้และบริโภคได้ นอกจากนี้ ยังมีการจัดการมูลสุกรและของเสียโดยนำเข้าสู่ระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองภายในโครงการ”

%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%9f%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%a1

สำหรับจำนวนสุกรขุนที่ขายออกไป คุณวรพงศ์ ระบุว่า ในปี 2557 จำนวนสุกรขุนที่ขายออกไปมีจำนวนราว 180,000 ตัว ปี 2558 ราว 240,000 ตัว และในปี 2559 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 ตัว หมูที่เลี้ยงเป็นสายพันธุ์เดนมาร์ก คุณภาพดี เนื้อแน่น ไขมันน้อย อายุหมูที่นำไปเชือดจะใช้เวลาเลี้ยง 26 สัปดาห์ น้ำหนักต่อตัว 110-115 กิโลกรัม ส่วนพ่อแม่พันธุ์หมูต้องมีอายุราว 33 สัปดาห์

“หัวใจสำคัญที่ทำให้ วี.พี.เอฟ.กรุ๊ป ดำเนินธุรกิจมาได้นาน 43 ปี คือ ผลิตสุกรที่มีคุณภาพตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ขยายธุรกิจให้ครบวงจรทุกไลน์การผลิต เนื่องจากตลาดมีการแข่งขันสูง และกำไรค่อนข้างต่ำ ทำให้ต้องเพิ่มมูลค่าโดยแปรรูปผลิตภัณฑ์ เป็นสินค้าพร้อมทาน เช่น เนื้อหมูสำหรับปิ้งย่าง หมูหมักกระเทียมพริกไทย หมูสไลซ์บางแช่แข็ง ไส้กรอก แฮม เบค่อนลูกชิ้น ขาหมูรมควัน รสชาติกลมกล่อม ไม่เค็ม มีน้ำซุป น้ำจิ้ม พร้อมกันนี้ก็ได้รุกตลาดส่งออกเนื้อหมูแช่แข็งไปฮ่องกง จีน”

%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9a

 รุกธุรกิจสินค้าแปรรูปจากหมู
น้อมนำพระราชดำริจาก ในหลวง ร
.9 มาใช้

และเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ทางบริษัทดังกล่าวได้จับมือนักเทคโนโลยีเครือข่าย สวทช.ภาคเหนือ คิดสูตร “ไส้กรอกลดเค็ม”

“เทรนด์สุขภาพ ต้องการอาหารที่กินง่าย ซึ่งไส้กรอกสามารถตอบโจทย์ได้ แต่จะปรับสูตรลดเกลือโซเดียม เลือกใช้เกลือโพแทสเซียมผสมกรดอะมิโนในอัตราส่วนที่เหมาะสมแทนเกลือโซเดียม โดยที่กรดอะมิโนมาช่วยบดบังรสขมและเสริมรสชาติของไส้กรอก”

img_3954

นอกจากนั้น บริษัทดังกล่าวยังได้น้อมนำแนวพระราชดำริ จาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาปรับใช้ในการทำการเกษตรและอุตสาหกรรม โดยยึดถือหลักการเกษตรยั่งยืน ทั้งการประยุกต์ใช้การแบ่งปันพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของฟาร์ม ด้วยการให้บุคลากรหรือพนักงานสามารถใช้พื้นที่ภายในเพื่อการเพาะปลูก นำมาซึ่งการสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยรายได้เหล่านี้เกิดจากการค้าขายระหว่างชุมชน รวมทั้งการค้าขายให้กับโรงอาหาร ยังมีการนำมูลสุกรที่เหลือใช้มาสร้างพลังงานทดแทน ด้วยการพัฒนาสู่ไบโอแก๊ส ปุ๋ยอินทรีย์ รวมทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแก๊สมีเทนที่สามารถใช้งานได้จริง พร้อมทั้งลดค่าใช้จ่ายและการใช้พลังงานได้กว่า 12 ชั่วโมง

ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทยังมีการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกและผักตบชวา ซึ่งถือเป็นพืชมหัศจรรย์ เพื่อการบำบัดน้ำเสียและป้องกันหน้าดินไม่ให้พังทลาย โดยการใช้ประโยชน์ดังที่กล่าวมานี้จะช่วยให้ระบบเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมดำเนินต่อเนื่องไปได้นานที่สุด โดยไม่ส่งผลกระทบด้านลบต่อระบบนิเวศวิทยา และไม่เกิดปัญหาทั้งด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ