“บ้านน้ำทรัพย์” ปลดแอกความยากจน คนในชุมชนมีรายได้ ก้าวข้ามวิกฤตโควิด-19

“บ้านน้ำทรัพย์” ปลดแอกความยากจน คนในชุมชนมีรายได้ ก้าวข้ามวิกฤตโควิด-19

 

ยังคงเป็นหมู่บ้านที่เข้มแข็งและอยู่รอดได้ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 สำหรับ “บ้านน้ำทรัพย์” ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นหมู่บ้านต้นแบบที่ได้รับรางวัลมากมาย ทั้งยังได้รับราง วัลพระราชทานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จากในหลวง ร.9 อีกด้วย  

บ้านน้ำทรัพย์ “คาวบอย” สไตล์พอเพียง

คุณชูชาติ วรรณขำ ผู้ใหญ่บ้านน้ำทรัพย์ เล่ากับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า เดิมบ้านน้ำทรัพย์ ประสบปัญหามากมาย ทั้งการบุกรุกผืนป่า ปัญหายาเสพติด ชาวบ้านไม่มีงานทำ จากปัญหาเหล่านี้นำมาสู่การพัฒนาหมู่ บ้านในปี 2540 แต่กว่าจะเป็นต้นแบบของความสำเร็จระดับประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย 

สมัยก่อนละแวกบ้านใช้ม้าเป็นพาหนะในการเดินทาง หมู่บ้านเรามีม้าเป็นร้อยๆ ตัว เพื่อใช้ต้อนวัวเข้าฝูง พอ การเดินทางสะดวกขึ้น มีถนน มีการคมนาคมเข้ามา การเดินทางด้วยม้าก็หายไป ผมจึงเอาสิ่งที่ชาวบ้านเคยมีและเคยเป็นกลับมาอีกครั้ง แล้วใช้การขี่ม้ามาเป็นจุดเด่นดึงดูดให้คนมาท่องเที่ยว”

ผู้ใหญ่บ้าน บอกต่อว่า ทุกวันหยุด เด็กๆ จะที่มีหน้าที่ดูแลม้า เตรียมตัวอาบน้ำม้า เช็ดตัว แต่งตัวให้ม้า ดูแลความพร้อมรอรับคณะดูงานและกลุ่มนักท่องเที่ยว พอนักท่องเที่ยวให้ทิป ให้ค่าขนมเด็กๆ บางคนก็ได้ค่าเทอมจากกิจกรรมนี้ เด็กๆ ก็เริ่มเข้ามาสนใจม้าอยากจะมาขี่ม้าจูงม้า ใส่ใจการเลี้ยงม้ามากยิ่งขึ้น

ปลดแอกความยากจน

เดิมบ้านน้ำทรัพย์ประสบปัญหา ทั้งบุกรุกผืนป่า ปัญหายาเสพติด ชาวบ้านไม่มีงานทำ ผู้ใหญ่บ้านแก้ปัญหาด้วยวิธีการ “เกลือจิ้มเกลือ” ใช้แนวทางการบำบัดปัญหายาเสพติดในชุมชนด้วยชุมชน เปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตให้คนอยู่กับป่า ป่าอยู่กับคน สร้างเครือข่ายจิตอาสาเพื่อป้องกันภัย และไม่บุกรุกป่า ฟื้นฟูระบบนิเวศให้กลับมาสมบูรณ์

“ที่นี่มีพื้นที่สีเขียว 14,000 ไร่ ไม่มีไฟไหม้ป่ามานานนับ 20 ปี นอกเหนือจากนั้นแล้วยังร่วมกัน ช่วยกันสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารอนุบาลสัตว์น้ำ สัตว์บก เราปลูกต้นไม้ ปลูกไม้ผลที่เป็นอาหารให้สัตว์ มะละกอ ลูกหว้า หมาก ป่ากลับมาสมบูรณ์มีเสือ เก้ง กวาง เสือดำ เสือเหลือง หมี มีกระทิงกลับเข้ามาในพื้นที่ป่า ที่นี่สามารถเห็นนกเงือกได้โดยไม่ต้องเข้าป่า”

ผู้ใหญ่ชูชาติแนะนำให้ชุมชนลดการใช้สารเคมี เปลี่ยนจากเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรผสมผสาน นำพืชสมุน ไพรมาทำปุ๋ย สร้างมาตรฐานการผลิต จนกระทั่งสามารถส่งออกต่างประเทศ กำหนดราคาขายล่วงหน้า ทำให้คนในชุมชนกลับมาบริโภคพืชผักปลอดสารพิษ เลิกดื่มน้ำอัดลม หันมาดื่มน้ำสมุนไพร

“ชุมชนของเราตื่นมามีรายได้ทุกวัน  เราเปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นการปลูกพืชผสมผสานและปลูกมะนาวพันธุ์แป้นพวงและแป้นรำไพ รวมรายได้ทั้งหมด 100 กว่าล้านบาทต่อปี”

เมื่อหมู่บ้านเริ่มเข้มแข็ง ผู้ใหญ่เริ่มจัดตั้งกลุ่มอาชีพหวังลดรายจ่าย สร้างรายได้ อาทิ เปลี่ยนสินค้าที่เคยทำแต่ขนมเมนูเดิมๆ ที่ขายไม่หมดขนมก็เสีย ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง หม้อแกง เปลี่ยนมาเป็นขนมอายุยืนเก็บได้นานขึ้นแต่ยังคงเอกลักษณ์จังหวัดเพชรบุรี อาทิ ทองม้วน ทองพลับ  และปลาส้ม ของดีประจำหมู่บ้าน ภายใต้แบรนด์ “เพชรน้ำทรัพย์” โดยเอาคำว่า เพชรบุรี มารวมกับ บ้านน้ำทรัพย์

น้ำทรัพย์สไตล์

ทุกบ้านในชุมชน คือ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร นักท่องเที่ยวที่มาได้ดูการปลูกมะนาว ดูสวนทุเรียนปลูกแซมในสวนมะนาว  มีการเลี้ยงแพะ และการทำรังนกเงือก ส่วนไฮไลต์อยู่ที่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ใช้ “ม้า” เป็นตัวเชื่อมระหว่างชาวบ้านกับนักท่องเที่ยว รวมถึงต่อยอดเป็นกิจกรรมอาชาบำบัด ร่วมมือกับโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย ส่งต่อคนไข้มารักษาผู้ที่มีอาการสมาธิสั้น หรือ ออทิสติก รวมถึงการฝึกขี่ม้าที่จะช่วยเรื่องสมาธิและบุคลิกภาพ

ล่าสุดกับวิกฤตโควิด -19 ผู้ใหญ่บ้าน บอกว่า กระทบตั้งเเต่เดือนมีนาคม นักท่องเที่ยวไม่มา หน่วยงานองค์กรยกเลิกดูงานกว่า 2,000 คน รายได้สูญไปไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท ทว่าคนในชุมชนยังคงมีรายได้ด้วยการทำเกษตร หันมาขายผลไม้ พืชผักสวนครัว ที่ขายดีตอนนี้ เช่น มะนาว เเละกล้วย ส่วนรายได้จากการจำหน่ายสินค้าให้นักท่องเที่ยว ชดเชยด้วยการนำมาจำหน่ายออนไลน์ เช่น ทองม้วน ทองพลับ คนกรุงเทพฯ สั่งเยอะมาก ในภาพรวมยังถือว่ากระทบไม่มาก เพราะชุมชนเราเข้มเเข็งเรื่องอาหารการกินไม่น่าห่วง