สุดคลาสสิค… ห้องสมุดสวยหยุดโลก

              ต้องยอมรับว่าห้องสมุดของสถาบันการศึกษาเป็นหน้าตาของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย และเป็นส่วนสำคัญในการสร้างชื่อเสียงให้สถาบัน บรรดานักศึกษาก็จะอวดกันตรง “ห้องสมุด” นี่แหละว่าของใครเจ๋งกว่ากัน ถือเป็นความภูมิจร่วมกันของทุกคน เนื่องจากห้องสมุดไม่ใช่แค่เป็นศูนย์หนังสือแต่ได้รวบรวมเรื่องราวต่างๆไว้มากมาย และบ่งบอกให้รู้ถึงประวัติศาสตร์ศิลปะ วัฒนธรรมได้อย่างดีอีกด้วย

จุดกำเนิดของห้องสมุดเกิดขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฎชัด แต่จากการขุดค้นของนักโบราณคดีได้พบห้องสมุดที่นับว่าเก่าแก่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่งคือ ห้องสมุดของพระเจ้าซาร์กอน แห่งอัสซีเรีย (ราว ๓,๐๐๐ ปีคริสตกาล) มีการรวบรวมแผ่นดินเหนียวบันทึกอักษรรูปลิ่ม นับเป็นบันทึกเรื่องราวของอาณาจักรอัสซีเรียซึ่งถือว่าเป็นจักรวรรดิแรกๆ แห่งอารยธรรมเมโสโปเตเมีย (แถบลุ่มน้ำไทกริสและยูเฟรตีส) ต่อมาเมื่อดินแดนแถบนี้เจริญรุ่งเรืองขึ้น ได้มีการเก็บรวบรวมบันทึกต่างๆ ไว้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเปอร์เซีย อัคคาเมเนีย อียิปต์ เป็นต้น

ในสมัยที่อียิปต์ครอบครองความยิ่งใหญ่บนแผ่นดินแถบนี้ มีหอสมุดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นและยังคงอยู่สืบมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ หอสมุดอเล็กซานเดรีย (Library of Alexandria) นักประวัติศาสตร์ได้ยกย่องให้ที่แห่งนี้เป็นคลังความรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกยุคโบราณ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปโตเลมีที่ ๑ (Egypt’s King Ptolemy I) ราว ๒,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล มีการเก็บรวบรวมข้อมุลในทุกแขนงวิชาไว้อย่างเป็นระบบมากที่สุด

โดยมีการบันทึกว่ามีการเก็บรักษาม้วนปาปิรัสไว้มากถึงกว่า ๕ แสนม้วน ทั้งหมดได้รับการจัดแบ่งหมวดหมู่ ทำบทวิจารณ์ บทคัดย่อ เรียกว่าแทบจะเหมือนกับห้องสมุดในยุคปัจุบันเลยก็ว่าได้ หอสมุดอเล็กซานเดรียได้รับความเสียหายครั้งใหญ่ในยุคของพระนางคลีโอพัตรา จากการเข้ารุกรานของจักรวรรดิโรมัน นำโดย จูเลียต ซีซ่าร์ เขาสั่งเผาเมืองอเล็กซานเดรียวอดไปกว่าครึ่งเพื่อจับกุมพวกกบฎ ทำให้หอสมุดแห่งนี้เสียหายอย่างหนัก ม้วนปาปิรัสถูกทำลายไปเกือบครึ่ง และส่วนหนึ่งถูกทหารโรมันเอาทำเป็นเชื้อไฟต้มน้ำร้อนอาบ

             ในยุคแรกเริ่มนั้นห้องสมุดเป็นโลกแห่งการเรียนรู้ชั้นูงอันศักดิ์สิทธิ์ ห้องสมุดสำคัญจึงอยู่ในความอุปถัมภ์ของศาสนาจักรและอาณาจักร ภายในพระราชวังหรือพระอารามต่างๆ และในอดีตนั้นอนุญาตให้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ขุนนาง และชนชั้นที่ร่ำรวยเท่านั้นเข้าไปใช้บริการได้

ห้องสมุดเก่าแก่หลายแห่งขอโลกยังคงไดรับการดูแลรักษาไว้ให้เป็นสิ่งสูงค่าทางศิลปวัฒนธรรมและแหล่งความรู้วิทยาการ  แม้ในปัจจุบันจะมีห้องสมุดที่มีความสำคัญมากมายทั่วโลก อาทิ ห้องสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส (Bibliotheque National de France) หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ (British Library) หรือ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๑๘๐๐ จัดเก็บข้อมูลทุกประเภทกว่า ๑๕๐ ล้านรายการ เฉพาะหนังสือมีอยู่มากกว่า ๓๐ ล้านเล่ม มีอัตราการเพิ่มของข้อมูลเป็นหลักพันต่อวัน

แต่ห้องสมุดสุดคลาสสิคดังเดิมก็ยังได้รับการกล่าวขวัญถึงและได้รับการยกย่องอยู่ไม่เสื่อมคลาย

ฉบับที่แล้วพูดถึงห้องสมุดในลักษณะภูเขาหนังสือไปแล้ว ฉบับนี้ก็เลยจะพาไปรู้จักห้องสุดสุดคลาสสิคที่สวยงามที่สุดระดับหยุดโลกให้นิ่งได้

จากการศึกษาค้นคว้าของตัวเองพบว่าห้องสมุดสวยงามและเก่าแก่ด้วยประวัติศาสตร์ยาวนานในโลกนี้มีจำนวนนับร้อย แต่ด้วยพื้นที่จำกัด จึงคัดมาสำเสนอได้เพียง ๑๐ แห่งเท่านั้น

๑ ห้องสมุดกฎหมายแห่มหาวิทยาลัย มิชิแกน(Law Library Interior The University of Michigan, United States)

มอตโตของสถาบันนี้คือ ศิลปะ ความรู้ และ ความจริง ก่อตั้งขึ้นในปี ๑๘๑๗ อายุเกือบ ๒๐๐ ปีแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านกฎหมายที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และมหาวิทยาลัยแห่งนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา ห้องสมุดแห่งนี้สวยงาม ขรึมขลังด้วยการตกแต่งแบบยุโรปในยุคแรกเริ่มอพยพไปตั้งรกรากที่สหรัฐอเมริกา ประดับตกแต่งภายในหรูหราราวกับจำลองปราสาทราชวังของประเทศในยุโรปมาไว้

๒ ห้องสมุดรัฐสภาแห่แคนาดา (Canadian Library of Parliament – Ottawa, Canada)

เป็นห้องสมุดกฎหมายสำหรับฝ่ายนิติบัญญัติไอโอวาตั้งอยู่ในอาคารรัฐสภาแต่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปใช้บริการได้ จุดเด่นของหนังสือในห้องสมุดแห่งนี้คือการรวบรวมบทคัดย่อและข้อโต้แย้งของศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ไอโอวา รวมถึงวารสารกฎหมายและวัสดุที่ผลิตโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐไอโอวา

 ๓ ห้องสมุด ซัสซาโล วอชิงตัน (Suzzalo Library at the University of Washington – Seattle, Washington)

เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ โดดเด่นด้วยห้องโถงสำหรับอ่านหนังสือที่กว้างขวางราวกับกำลังนั่งอ่านหนังสืออยู่ในโบสถ์ เก็บรวบรวมหนังสือไว้ถึง ๗  ล้านเล่ม  ไมโครฟิล์ม ๖ ล้านชิ้นจาก ๕๐,๐๐๐ หัวเรื่อง เป็นห้องสมุดที่ให้บริการสำหรับนักศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตันเป็นหลัก รวมถึงบริการสมาชิกห้องสมุดกับนักวิจัยรวมถึงประชาชนทั่วไปด้วย

๔ ห้องสมุดกฎหมายแห่งรัฐไอโอวา (Iowa State Capital Law Library – United States)

สร้างมาตั้งแต่ปี ๑๘๘๔ เป็นห้องสมุดขนาดไม่ใหญ่โตนัก แต่สวยงาม ด้วยออกแบบเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น มีระเบียงสี่ด้านประดับด้วยรั้วเหล็กหล่อและบันไดเวียน  เพดานกรุกระจกสวยงาม เก็บหนังสือไว้ประมาณ  ๑๐๐,๐๐๐ เล่มและเป็นหนึ่งในห้องสมุดกฎหมายที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

๕ ห้องสมุทรจอร์จ พีบอดี้ (George  Peabody Library – Baltimore, Maryland)

George Peabody เป็นห้องสมุดของสถาบันบีบอดี้  สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ๑๘๗๘ ออกแบบโดย Edmund G. Lind สถาปนิกชาวอังกฤษ เป้าหมายในการสร้างห้องสมุดแห่งนี้เพื่อเก็บรวบรวมหนังสือที่สาธารณะชนสามารถเข้าถึงได้ วรรณกรรมที่ดีที่สุดทุกสาขาได้ถูกรวมรวมไว้ทั้งใหม่และเก่า ยกเว้นการแพทย์และกฎหมาย จนหลายคนยกย่องให้ห้องสมุดแห่งนี้เป็นวิหารแห่งหนังสือ มีด้วยกันทั้งหมด ๕  ชั้น ภายในมีหนังสือกว่า ๓ แสนเล่ม ส่วนใหญ่เป็นหนังสือในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘-๒๐

๖ ห้องสมุดแอดมองต์ แอบบี้ ( Admont Abbey Library – Austria)

ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.๑๐๗๔ เป็นห้องสมุดที่เก่าแก่และมีความสวยงามมาก ถ้านับรวมเวลาที่ก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบันรวมแล้วเกือบหนึ่งพันปี ได้เก็บรวบรวมสมบัติล้ำค่าทางด้านวัฒนธรรมต่างๆ ไว้มากมาย ก่อสร้างและตกแต่งสมัยบารอก ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ ๑๙ ได้รับการขนานนามว่า “eighth wonder of the world” แปดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ภายในได้รวบรวมหนังสือว่า ๒ แสนเล่ม โดยเฉพาะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต้นฉบับตั้งแต่ศตวรรษที่ ๘ กว่า ๑,๔๐๐ ฉบับ และภาพพิมพ์ที่ถูกสร้างขึ้นก่อน ค.ศ.๑๕๐๐ อีกกว่า ๕๓๐ ชิ้น

๗ ห้องสมุดแห่งชาติฟินแลนด์ (National Library of Finland – Helsinki, Finland)

ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีค.ศ. ๑๘๔๔ เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิได้รับยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติของชาวฟินแลนด์ งดงามคลาสสิคด้วยการออกแบบตกแต่งภายใน โดยเปิดให้ประชาชนที่อยู่อาศัยในประเทศฟินแลนด์สามารถเข้าไปใช้บริการได้ทุกคน แต่ไม่มีสิทธิ์ยืมหนังสือออกนอกห้องสมุด เนื่องจากเต็มไปด้วยหนังสือมีค่าหายากทั้หมด ห้องสมุดแห่งนี้มีความโดดเด่นที่รวบรวมหนังสือในยุคราชสำนักรัสเซียไว้มากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

. Library at El Real Monasterio de El Escorial – Madrid, Spain

ห้องสมุดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นโดยพระเจ้าฟิลิปที่สอง ได้บริจาคเงินส่วนพระองค์เพื่อสร้างห้องสมุดแห่งนี้ขึ้นมา ออกแบบโดย Juan de Herrera และภาพเฟรสโกบนเพดานโค้งเป็นภาพวาดของจิตรกรเอก Pellegrino Tibaldi ห้องโถงขนาดใหญ่ปูด้วยหินอ่อน และชั้นวางไม้แกะสลักอย่างสวยงาม ภายในห้องบรรจุด้วยหนังสือกว่า 40,000 เล่ม ปัจจุบันยูเนสโกได้ยกย่องให้สถานที่แห่งนี้เป็นมรดกโลกที่สำคัญแห่งหนึ่งของสเปนที่มีนักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมมากที่

ห้องสมุดสตราร์โฮฟ (Strahov Theological Hall – Prague, Czech Republic)

ตั้งอยู่ในบริเวณพระอารามสตราร์โฮฟ แห่งเมืองปราก เป็นห้องสมุดเกี่ยวกับศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยห้องโถงใหญ่สองห้อง ตกแต่งเพดานด้วยปูนปั้นอย่างสวยงาม มีอายุมากกว่า ๘๐๐ ปี ภายในห้องบรรจุหนังสือมากกว่า ๑๓๐,๐๐๐ เล่ม  หนังสือที่เก่าแก่ที่สุดคือหนังสือคำสั่งสอนของสตาร์โฮฟ (Strahov Gospel) ตั้งแต่ศวรรษที่ ๙ และแท่นพิมพ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของ คริสต์โตฟี พลานติน (Christophe Plantin) จากอันท์เวิร์ (Antwerp) ประเทศเบลเยียม ก็ได้ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่นี่เช่นกัน

๑๐ หอสมุดกลางในกรุงริโอเดอจาเนโร (Real Gabinete Português de Leitura – Rio de Janeiro, Brazil)

สร้างขึ้นระหว่างปีค.ศ.๑๘๘๐-๑๘๘๗ ออกแบบโดย ราฟาเอลดาซิลวาและคาสโตร ถือเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดและทรงคุณค่าที่สุดของชาวโปรตุเกสที่ยังหลงเหลือไว้ที่ประเทศบราซิล ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมที่งดงามในศตวรรษที่ ๑๙ ก่อสร้างและตกแต่งสไตล์ Gothic-Renaissance โครงเหล็กหลังคาที่สวยงาม โคมไฟระย้า โอ่อ่าอลังการ ภายในบรรจุหนังสือหายากไว้กว่า ๓๕๐,๐๐๐ เล่ม

เห็นภาพแล้วอยากไปเป็นบรรณารักษณ์ทำงานในห้องสมุดเหล่านี้ขึ้นมาในทันทีเลยใช่ไหมคะ

 

/////////////////