เครียดกันอยู่ใช่ไหม ใช้เงินเดือนชนเดือน เปิด 5 เทคนิคบริหารเงิน ให้มีพอใช้ ไม่ว้าวุ่น

เครียดกันอยู่ใช่ไหม ใช้เงินเดือนชนเดือน เปิด 5 เทคนิคบริหารเงิน ให้มีพอใช้ ไม่ว้าวุ่น
เครียดกันอยู่ใช่ไหม ใช้เงินเดือนชนเดือน เปิด 5 เทคนิคบริหารเงิน ให้มีพอใช้ ไม่ว้าวุ่น

เครียดกันอยู่ใช่ไหม ใช้เงินเดือนชนเดือน เปิด 5 เทคนิคบริหารเงิน ให้มีพอใช้ ไม่ว้าวุ่น

กำลังเจอปัญหาใช้เงินเดือนชนเดือนกันอยู่ใช่ไหม อย่าเพิ่งเครียดไป เพราะหากเรารู้จักวิธีบริหารเงินในกระเป๋า แล้วสามารถนำไปปรับใช้ได้ ก็จะช่วยให้เรามีเงินพอใช้อย่างไม่ขาดมือ โดย คุณนพ-นพกฤษฏิ์ นิธิเลิศวิจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCM ได้แนะนำ 5 เทคนิคบริหารเงินไว้ดังนี้

1. ต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนตัว และครอบครัว

ต้องมีการบันทึกรายรับของตัวเอง ควรเป็นรายรับที่ได้มาจากเงินเดือนและควรเป็นตัวเลขสุทธิ จากนั้นบันทึกรายจ่ายส่วนตัว และรายจ่ายที่ต้องรับผิดชอบในครอบครัว เมื่อบันทึกแล้วจะทำให้เห็นและได้อยู่กับความจริงว่า มีเงินใช้เท่าไหร่

2. ควบคุมความต้องการ เพื่อไม่ให้ใช้เงินเกินตัว

นอกจากค่าใช้จ่ายเรื่องปัจจัยสี่ที่มีความจำเป็นแล้ว หลายคนยังมีความต้องการอย่างอื่น เช่น การตอบสนองเรื่องเกียรติยศ การยอมรับจากคนอื่น ไม่ว่าจะ ซื้อรถ เสื้อผ้า กระเป๋าแบรนด์เนม นาฬิกา รองเท้า กินอาหารราคาแพง ท่องเที่ยว เป็นต้น

เมื่อมีรายได้น้อย แต่รสนิยมสูง ก็จะทำให้เกิดปัญหารายจ่ายเกินรายรับ จึงจำเป็นต้องอดเปรี้ยวไว้กินหวาน และควรแยกเงินออกไปลงทุนเพื่อสร้างเงินให้มีใช้ในวันหน้า แต่ถ้านำเงินมาใช้ไปกับเรื่องรายจ่าย ให้คิดไว้เลยว่าเป็นการเอาเงินในอนาคตมาใช้แล้ว

3. มีแผนการหารายได้เพิ่มเติม

อย่าจำกัดเส้นทางในการได้มาซึ่งเงินของเราไว้กับทางใดทางหนึ่ง ในการต่อสู้กับรายจ่ายที่ล้นพ้นตัว จำเป็นต้องหารายได้ที่สอง ยอมขยันกว่าคนอื่น อาจใช้เวลาว่างมาทำ และต้องมีความรับผิดชอบการทำงานทั้งรายได้หลักและรายได้เสริม

4. บริหารค่าใช้จ่ายอย่างรัดกุม

เมื่อมีรายได้เพิ่ม ต้องบริหารค่าใช้จ่ายอย่างรัดกุม ต้องเปลี่ยนนิสัย อย่าซื้อก่อนค่อยคิด และทุกการใช้จ่ายต้องคิดล่วงหน้า นอกจากรัดกุมในส่วนของตัวเองแล้ว ถ้ามีคนในครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบด้วย ต้องปรับความคิด อุปนิสัยการใช้เงินให้เข้าใจ อย่าเป็นคนที่รักษาหน้า ต้องดูดีเสมอต่อหน้าลูกต่อหน้าพี่น้อง ไม่มี ก็บอกว่ามี นั่นจะทำให้บริหารการเงินได้ยากขึ้น

5. บริหารความคิด และใส่ความเชื่อว่าเอาอยู่

ข้อสุดท้ายนี้ ให้ตั้งเป้าหมายในการจัดการลดหนี้สิน และตั้งเป้าหมายในการหารายได้ โดยต้องใส่ความเชื่อว่า “ฉันทำได้” ลงไป