การเลือกที่นอน สำคัญกว่าที่คิด! เลือกแบบไหนให้ นอนไม่ปวดหลัง

การเลือกที่นอน สำคัญกว่าที่คิด! เลือกแบบไหนให้ นอนไม่ปวดหลัง หลับลึกไม่ตื่นกลางดึก แถม ลดปัญหาภูมิแพ้ป้องกันไรฝุ่น ด้วย

การนอน คือการพักผ่อนที่ดีที่สุดของคนในทุกวัย แต่สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุมักประสบกับปัญหาเรื่องการนอนจากปัจจัยทางร่างกายที่การเสื่อมสภาพตามกาลเวลา

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการนอนไม่หลับ ปัญหาตื่นกลางดึก อาการปวดหลังและปวดเมื่อยตามร่างกาย รวมถึงปัญหาภูมิแพ้ที่เกิดจากไรฝุ่นได้ง่ายขึ้น การพักผ่อนไม่เพียงพอนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพในระยะยาวได้

หนึ่งในทางแก้ปัญหาที่สามารถทำได้ง่ายๆ คือ การเลือกที่นอนที่ดีมีคุณภาพ ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี สร้างกระบวนการต่างๆ ให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น การเลือกที่นอน เตียงนอน จึงต้องพิจารณาถึงฟังก์ชั่นการใช้งานที่เหมาะสม และปลอดภัยกับผู้สูงอายุมากที่สุด โดยในวันนี้ บีเอ็นบี โฮม ได้รวบรวมวิธีการเลือกที่นอนให้ตอบโจทย์ผู้สูงวัยมาฝากกัน

1. ความหนาแน่นและความนุ่มของที่นอน เป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกๆ ซึ่งที่นอนสำหรับผู้สูงอายุที่ดีควรมีระดับความหนาแน่น และความนุ่ม และมีความยืดหยุ่นสูง รองรับสรีระทางร่างกาย โดยเฉพาะส่วนโค้งเว้า และรองรับกับกระดูกสันหลังได้อย่างพอดี เพื่อลดอาการปวดหลัง และอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

2. ขนาดที่นอนควรเลือกให้เหมาะกับจำนวนผู้ใช้งาน เพื่อไม่ให้รู้สึกอึดอัดขณะพักผ่อน โดยที่นอนไม่ควรเล็กกว่า 3.5 ฟุต มีขนาดกว้าง 105 เซนติเมตร ยาว 195 เซนติเมตร ซึ่งถือเป็นที่นอนขนาดมาตรฐาน เหมาะสำหรับนอนเพียง 1 ท่าน

หากเลือกใช้ที่นอนที่มีขนาดเล็กจนเกินไป จะทำให้ไม่มีพื้นที่ในการพลิกหรือขยับตัว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย จากการนอนค้างในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน และอาจลุกลามทำให้เกิดปัญหาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุตามมาอีกด้วย

3. ความสูงของเตียงนั้นมีความสำคัญอย่างมาก สำหรับการเลือกเตียงให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งมีผลต่อความปลอดภัยของคนที่เรารัก โดยความสูงที่เหมาะสมสำหรับเตียงนอนผู้สูงอายุ ไม่ควรเกิน 40 เซนติเมตร เพื่อที่เวลาลุกขึ้นนั่ง หรือลุกจากเตียง เท้าจะพอดีกับพื้น หากเตียงที่มีความสูงจนเกินไป อาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุได้

ประเภทวัสดุที่ใช้ทำที่นอนเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ปัจจุบันมีวัสดุให้เลือกหลากหลาย โดยแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป

ที่นอนยางพารา จะมีความยืดหยุ่นสูง ไม่เกิดการยุบตัวเป็นแอ่งของที่นอน รับกับสรีระร่างกายได้เป็นอย่างดี จึงช่วยลดอาการปวดหลัง และอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ดี แต่ที่นอนประเภทนี้จะมีราคาค่อนข้างสูงมากกว่าที่นอนประเภทอื่น

ที่นอนสปริง เป็นอีกหนึ่งที่นอนที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีราคาจับต้องได้ และยังมีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูง และคืนตัวได้ดี ช่วยรองรับและกระจายน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีน้ำหนักเบาขนย้ายสะดวก

ที่นอนโฟมยางสังเคราะห์ ที่นอนประเภทนี้จะผ่านกระบวนการอัดแน่นพิเศษ จึงให้ความหนาแน่นของที่นอนมากกว่าโฟมทั่วไป เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความแน่นของที่นอนเป็นพิเศษ สามารถรองรับสรีระได้อย่างเหมาะสม ข้อเสียคือ การคืนตัวอาจทำได้ไม่ดีเท่าที่นอนยางพาราและที่นอนสปริง รวมถึงอายุการใช้งานสั้นกว่า

ที่นอนใยมะพร้าว จะผลิตขึ้นมาจากใยมะพร้าวนำมาอัดแน่นด้วยกาวขึ้นรูปเป็นที่นอน ทำให้ที่นอนมีความแน่นและทึบ ค่อนข้างแข็ง ไม่อ่อนยวบ ไม่ยุบตัว ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรและไม่เหมาะกับการนอนของผู้สูงอายุ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง และมีปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจ เพราะเมื่อใช้เป็นเวลานานวัสดุจะลุ่ยเป็นฝุ่นผงจากใยมะพร้าวนั่นเอง