ภาวะเงินเฟ้อ สถานการณ์อันตราย คนค้าขายต้องขายแบบไหน ให้ยังมีกำไร?

ภาวะเงินเฟ้อ สถานการณ์อันตราย คนค้าขายต้องขายแบบไหน ให้ยังมีกำไร?

ในช่วงปีมานี้ เราอาจได้ยินคนพูดถึงปัญหาจากผลกระทบของ ภาวะเงินเฟ้อ กันหนาหูมากขึ้น ซึ่งหากเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมากย่อมมีผลกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ของประชาชน

เช็กเลย 4 พฤติกรรม ทำการเงินมีปัญหา ต้องรีบแก้ไขให้ไวที่สุด

ตลอดจนธุรกิจ SMEs ทั้งขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ต้องประสบปัญหา แล้ว SMEs จะรับมืออย่างไรเว็บไซต์ Bangkok Bank SME ได้รวบรวมแนวทางการรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ มาให้ผู้ประกอบการ SMEs นำไปประยุกต์ใช้ ดังนี้

1. สร้าง Brand Loyalty หรือความภักดีต่อแบรนด์

แน่นอนว่าการทำธุรกิจสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการจะมองข้ามไม่ได้เลย คือ แบรนด์ (Brand) ซึ่งการสร้างแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เป็นข้อได้เปรียบ เนื่องจากความรู้สึกในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือเลือกใช้บริการนั้น ส่วนใหญ่มาจากความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงของบริษัท ซึ่งการสร้างความภักดีต่อแบรนด์เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้

ดังนั้น การรักษาฐานลูกค้าจึงเป็นหัวใจสำคัญ และการที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าเพราะมีความผูกพัน เกิดความเชื่อมั่นกับแบรนด์จนเกิดการเลือกซื้อของจากแบรนด์นั้นอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องรักษามาตรฐานไว้ให้ดี ทั้งนี้ การรักษาฐานลูกค้าอาจมีปัจจัยหลายอย่างร่วมด้วย อาทิ การบริหารความสัมพันธ์ที่ดี หรือการสมนาคุณให้ลูกค้าเพื่อให้เกิดความรู้สึกดีต่อแบรนด์

2. สร้างประสบการณ์ที่ประทับใจให้กับลูกค้า 

การทำความเข้าใจผู้บริโภค ว่ามีพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าหรือเลือกใช้บริการอย่างไร วิธีนี้ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ และเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจในการกำหนดกลยุทธ์อื่น ที่นำไปสู่การสร้างประสบการณ์ที่ดีและการตัดสินใจซื้อของลูกค้า

หรือในทางการตลาดเรียกว่า Customer Touch Point คือ จุดสัมผัสของลูกค้ากับแบรนด์ ด้วยการสื่อสารผ่านวิธีต่าง ไปยังกลุ่มลูกค้า ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุด เช่น ลูกค้าอาจค้นหาธุรกิจของเราผ่านทางอินเทอร์เน็ต และการเห็นสินค้าจากการยิงแอดโฆษณา เป็นต้น โดยต้องมีการเกาะติดเทรนด์หรือพฤติกรรมในการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างความประทับใจอย่างต่อเนื่อง

3. วางแผนให้รัดกุมเพื่อควบคุมต้นทุนที่อาจเพิ่มขึ้น

เรื่องนี้ผู้ประกอบการ SMEs คงทราบดีว่าการทำธุรกิจให้มีกำไรและสามารถเติบโตได้ ต้องเข้าใจภาพรวมการเกิดต้นทุนในองค์กรด้วย เพราะการเกิดต้นทุนส่วนเกินหรือค่าใช้จ่ายในองค์กรส่วนใหญ่ มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมที่ก่อให้เกิดคุณภาพ เช่น ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากของเสีย, เวลาที่เครื่องจักรหยุด, การแก้ไขงานบ่อยครั้ง, การตรวจสอบคุณภาพ, รอบเวลาการผลิตนาน, เวลาสูญเปล่า/เวลารอคอย, การประกันสินค้า และการเสียโอกาสการขาย เป็นต้น

ซึ่งปัญหาบางอย่างอาจมองเห็นได้ชัดเจน หรือปัญหาบางอย่างอาจแอบแฝงอยู่ ดังนั้น หากพบต้นตอของปัญหาต้องรีบแก้ไขเพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. ดูแลเครื่องจักรการผลิตเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

ในสถานประกอบการทุกแห่ง เครื่องจักรโดยทั่วไปจะมีรอบระยะเวลาในการบำรุงรักษา จึงต้องสังเกตการทำงานของเครื่องจักรในแต่ละวันว่าเป็นปกติหรือไม่ ถ้าพบว่ามีสิ่งผิดปกติควรหยุดใช้งานและรีบทำการตรวจหาสาเหตุพร้อมหาทางแก้ไขทันที ซึ่งผู้ประกอบการต้องวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา

เพราะจะทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร ส่งผลให้ต้นทุนต่ำลงด้วยเช่นเดียวกัน

5. บริหารต้นทุนวัตถุดิบและไม่แบกสต๊อกนานเกินไป

ผู้ประกอบการต้องมีการวางแผนในการผลิตอย่างรัดกุม เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการสั่งออร์เดอร์วัตถุดิบต้องคำนวณปริมาณให้สอดคล้องกับแผนของโรงงานที่ผลิตป้อนให้ลูกค้าตามดีมานด์หรือคำสั่งซื้อ ซึ่งแนวทางดำเนินการแบบนี้ นอกจากจะทำให้สินค้ามีความสดใหม่ก่อนส่งมอบให้ผู้บริโภคแล้ว ยังช่วยให้เกิดการบริหารต้นทุนที่ดี เพราะไม่มีปัญหาเรื่องการแบกสต๊อกอีกด้วย 

โดยไม่ซื้อสต๊อกเก็บไว้นาน หรืออาจเลือกซัพพลายเออร์ที่อยู่ในทำเลใกล้กับที่ตั้งของกิจการ ซึ่งการจัดการที่มีประสิทธิภาพเหล่านี้จะช่วยลดปริมาณของวัตถุดิบคงคลัง ช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่าย ถือเป็นอีกหนึ่งการบริหารต้นทุนเรื่องวัตถุดิบได้เป็นอย่างดี