แนวโน้ม สินค้าไทยปี 63 และแนวทางการส่งออกในอนาคต

Aerial view tanker and oil storage tank petrochemical oil shipping terminal.

เปิดแนวโน้ม สินค้าไทยปี 63 และแนวทางการส่งออกในอนาคต

ในช่วงปีที่ผ่านมา ทั่วโลกเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงส่งผลมาถึงปัจจุบัน ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจการค้าโลกชะลอ โดยเฉพาะ ภาคการส่งออก เนื่องจากมาตรการปิดเมืองเพื่อควบคุมโรคทั้งในและต่างประเทศ กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายภาคส่วนต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว ทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยลดลง

แม้ภาพรวมการส่งออกจะหดตัว แต่เมื่อพิจารณาการส่งออกไปตลาดสำคัญ กลับพบว่า ยังมีสินค้าที่มีศักยภาพสามารถผลักดันการส่งออกของไทยให้กลับมาฟื้นตัวได้ หลายรายการ ดังนี้

ตลาดสหรัฐอเมริกา

  • หมวดสินค้าเกษตรและอาหาร ได้แก่ 1. ทูน่ากระป๋องและแปรรูป 2. ปลาแช่แข็ง แห้ง หรือรมควัน 3. กุ้งสด แช่เย็น แช่แข็ง 4. อาหารสัตว์เลี้ยง 5. ผลไม้ปรุงแต่ง และน้ำผลไม้ 6. กากมะพร้าวสำหรับเลี้ยงสัตว์ 7. สาคู 8. ถั่วลิสง 9. ธัญพืช (ลูกเดือย)

  • หมวดสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ 1. นาฬิกาข้อมือ 2. ผ้าผืนและด้ายทำจากฝ้าย 3. เส้นใยประดิษฐ์ เส้นใยสังเคราะห์ 4. เครื่องสุขภัณฑ์ทำด้วยทองแดง 5. ผลิตภัณฑ์เซรามิก 6. อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์ และไดโอด (โซลาร์เซลล์) 7. หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ 8. แผงวงจรไฟฟ้าและตัวเก็บประจุไฟฟ้า 9. เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้ง 10. เหล็กและผลิตภัณฑ์ 11. ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม 12. โทรศัพท์และอุปกรณ์

ตลาดจีน

  • หมวดสินค้าเกษตรและอาหาร : 1. มันสำปะหลัง 2. ผลไม้แห้ง 3. ปลาแช่เย็น แช่แข็ง และกระป๋อง 4. ผักและผลไม้เชื่อม แช่อิ่ม ดอง และกระป๋อง 5. น้ำตาลกลูโคส ฟรักโทส มอลโทส 6. ซอสปรุงรสและผงมัสตาร์ด 7. นมยูเอชที 8. อาหารสัตว์เลี้ยง

  • หมวดสินค้าอุตสาหกรรม : 1. ยางนอก 2. หนังเฟอร์ฟอกหรือตกแต่งแล้ว (หนังมิงค์) 3. เส้นใยสังเคราะห์ 4. แผ่นไม้อัด ไม้เลื่อย 5. สารที่ใช้ทำกาว 6. ผลิตภัณฑ์พลาสติก (ซิลิโคน พอลิเมอร์ และบรรจุภัณฑ์พลาสติก) 7. เครื่องสุขภัณฑ์และเครื่องใช้ในครัวที่ทำจากเซรามิก 8. ฐานรองฟูก 9. ใยยาวสังเคราะห์ 10. หนังฟอก 11. ผลิตภัณฑ์กระดาษ (แท่นกรองหรือแผ่นที่ทำด้วยเยื่อกระดาษ กระดาษ/กระดาษแข็ง)

ตลาดญี่ปุ่น

  • หมวดสินค้าเกษตรและอาหาร : 1. ผลิตภัณฑ์แป้ง (แป้งข้าวโพด/ข้าวไรซ์/ข้าวเหนียว) 2. เนื้อสัตว์แปรรูปและกระป๋อง 3. อาหารสัตว์เลี้ยง 4. ซอสปรุงรส 5. น้ำตาลทราย

  • หมวดสินค้าอุตสาหกรรม : 1. สารที่ใช้ทำกาว 2. หลอดหรือท่อทำด้วยทองแดง 3. ด้ายที่ทำด้วยยางวัลคาไนซ์ 4. ถุงมือยาง 5. ตัวถังรถยนต์ 6. สิ่งปรุงแต่งสำหรับผม (แชมพู/น้ำยาดัดหรือยืดผม) 7. ของที่ทำจากดีบุก 8. ผลิตภัณฑ์ทำจากแก้ว (กระจกนาฬิกา/กระจกแว่นตา แก้ว กระเบื้องแก้ว) 9. เส้นใยสังเคราะห์ 10. เม็ดพลาสติกพอลิเมอร์

ตลาด CLMV

  • หมวดสินค้าเกษตรและอาหาร : 1. น้ำตาลจากอ้อย 2. โค กระบือ และสุกรมีชีวิต 3. เครื่องดื่ม น้ำแร่ น้ำอัดลม น้ำดื่มปรุงกลิ่นรส 4. เนื้อสัตว์ปรุงแต่ง 5. ปลาปรุงแต่ง 6. ขนมปังกรอบ 7. อาหารปรุงแต่งจากธัญพืช

  • หมวดสินค้าอุตสาหกรรม : 1. แคลเซียมฟอสเฟตธรรมชาติ 2. สบู่ 3. แทรกเตอร์เพลาเดียว 4. รถพ่วง 5. ยางรถยนต์ (ขนาดใหญ่) 6. น้ำยางธรรมชาติ 7. ก๊าซและปิโตรเลียม

นอกจากนั้นยังมี 3 กลุ่มประเทศคู่ค้า ที่ไทยควรขยายสัมพันธ์การค้าในอนาคต ได้แก่

กลุ่มที่ 1 : ประเทศคู่ค้าที่มีศักยภาพการนำเข้าสูง ซึ่งไทยส่งออกไปประเทศเหล่านั้นได้สอดคล้องกับศักยภาพของประเทศคู่ค้าอยู่แล้ว ซึ่งจะต้องรักษาฐานลูกค้าและสร้างความจงรักภักดี (Loyalty) ต่อสินค้าไทย หากเจรจาจัดทำ FTA เพื่อให้ไทยมีแต้มต่อจะเป็นผลดีอย่างยิ่ง ได้แก่ อเมริกาเหนือ (สหรัฐฯ แคนาดา) ยุโรปตะวันตก (เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส) โอเชียเนีย (ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาเลเซีย

กลุ่มที่ 2 : ประเทศคู่ค้าที่มีศักยภาพการนำเข้าสูง ซึ่งไทยมีการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าเหล่านั้นในระดับปานกลาง กลุ่มประเทศเหล่านี้สามารถพัฒนาให้เป็นคู่ค้าที่มีการค้าอยู่ในระดับสูงได้ โดยส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรปเหนือหรือสแกนดิเนเวีย (นอร์เวย์ เดนมาร์ก สวีเดน ฟินแลนด์) ยุโรปตะวันออก (สโลวีเนีย เช็ก ออสเตรีย ฮังการี โปแลนด์) และบางประเทศแถบตะวันออกกลาง (กาตาร์ อิสราเอล) โดยประเทศที่กล่าวมาล้วนเป็นประเทศที่ประชาชนมีรายได้ต่อหัวสูง

กลุ่มที่ 3 : ประเทศคู่ค้าที่มีศักยภาพการนำเข้าสูง แต่ประเทศไทยส่งออกไปน้อย กลุ่มประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่ไทยควรเร่งศึกษาตลาด เพื่อขยายฐานลูกค้าเพิ่มเติม ได้แก่ ไอซ์แลนด์ เอสโตเนีย ลิทัวเนีย และคาซัคสถาน

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์