กลโกงทางการค้า สิ่งที่เจ้าของธุรกิจมือใหม่ ต้องรู้ทัน-พร้อมรับมือ

กลโกงทางการค้า สิ่งที่เจ้าของธุรกิจมือใหม่ ต้องรู้ทัน-พร้อมรับมือ
กลโกงทางการค้า สิ่งที่เจ้าของธุรกิจมือใหม่ ต้องรู้ทัน-พร้อมรับมือ

กลโกงทางการค้า สิ่งที่เจ้าของธุรกิจมือใหม่ ต้องรู้ทัน-พร้อมรับมือ

ในการทำการค้าระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการขนาดกลางหรือย่อย การส่งออก ถือเป็นช่องทางที่นิยมใช้กระจายสินค้า เพราะการส่งออก ถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดของการทำการค้าระหว่างประเทศ แน่นอนว่าผู้ส่งออกรายใหม่ๆ ที่เพิ่งเข้าวงการการส่งออกได้ไม่นาน มักจะประสบกับกลโกงต่างๆ อย่าง การโดนเอารัดเอาเปรียบจากการค้าระหว่างประเทศ แล้วจะทำอย่างไร ให้สามารถหลีกเลี่ยงกลโกงเหล่านี้? มาดู 4 ปัจจัยเหล่านี้กัน

  1. ความเชี่ยวชาญในการเปิด Letter Of Credit (LC) ของคู่ค้า

ปัจจัยแรกที่ต้องสังเกต คือ การเปิด Letter Of Credit ด้วยจำนวนเงินที่มากพอ ที่จะทำให้เชื่อได้ว่า คู่ค้ามีความน่าเชื่อถือมากพอ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ต้องมีเครดิต เพราะจำนวนเงินดังกล่าวต้องอยู่ในธนาคาร เช่นการเปิด L/C ด้วยจำนวนเงิน 1 แสน หรือ 3 แสนเหรียญสหรัฐฯ

หากสืบเสาะดีๆ เอกสารส่วนใหญ่จะเป็นของปลอมหรือทำขึ้นมาเองหรือแม้แต่การสมรู้ร่วมคิดกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร แล้วแต่วิธีการที่จะสามารถทำได้ หลังจากนั้น กลุ่มคนเหล่านี้จะสั่งสินค้าด้วยจำนวนที่ไม่มากพอ ที่ฝ่ายผู้เสียหายจะนำเรื่องไปฟ้องร้อง เพราะไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการดำเนินการ

container terminal?Wharf, transport

2. ความเชี่ยวชาญในการขนส่งของคู่ค้า

ปัจจัยต่อมาที่ต้องสังเกต คือ ความเชี่ยวชาญในการขนส่ง ซึ่งจะต้องรู้ว่าสินค้าจะถึงท่าเรือเมื่อไหร่แล้วออกของให้เร็วที่สุด โดยการชำระเงินเป็นเช็ค ซึ่งการออกเช็ค ถือเป็นเรื่องที่รับได้สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ ที่หลงเชื่อว่าคู่ค้ามีความเชี่ยวชาญดังข้อที่ 1 แล้ว

ซึ่งวิธีการเริ่มด้วย การขอรายการสินค้า ราคา และรายละเอียดอื่นๆ ที่ลูกค้าพึงกระทำ จากนั้นจะสั่งซื้อสินค้า เปิด L/C อย่างถูกต้อง ผ่านไป 1-2 เดือน ผู้นำเข้ารายนั้นจะติดต่อกลับมาใหม่พร้อมกับยื่นข้อเสนอชวนยั่วใจเหล่าผู้ประกอบการ ด้วยเหตุผลที่ว่า พวกเขามีความมั่นใจว่าผู้ประกอบการมีสินค้าเพียงพอที่สามารถสั่งซื้อได้ และเดินทางมาเจรจาด้วยตัวเองแบบจู่โจม เพื่อโน้มน้าวผู้ประกอบการด้วยเหตุผล ลูกค้าในประเทศชื่นชอบสินค้าของผู้ประกอบการมาก

และเมื่อมีเครดิตที่ดีต่อกันในครั้งแรกแล้ว จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะเจรจากันในครั้งต่อไป และกลโกงที่ตามมาคือ ผู้นำเข้าจะอ้างว่า ไม่สามารถเปิด L/C ได้ทัน เพราะต้องใช้เวลา จึงขอให้เช็คในการสั่งจ่ายแทน และเร่งให้ผู้ประกอบการออกสิทธิในการรับสินค้าที่ท่าเรือปลายทางได้เลย และเมื่อสินค้าถึงท่าเรือปลายทางแล้ว ผู้นำเข้ารายดังกล่าว จะสามารถออกของได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ผู้ประกอบการไม่ทันจะเรียกเก็บเงินจากต้นทาง ซึ่งมีผู้ประกอบการหลายรายที่ตกเป็นเหยื่อในกรณีดังกล่าว

3. ความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลของคู่ค้า

ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยที่ค่อนข้างทันสมัย และเป็นเรื่องยากพอสมควรที่จะมีการทุจริตผ่านการค้าอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากมีการใช้ encrypt โดยมี Signature กำกับอยู่ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องเกินความสามารถของกลุ่มคนฉวยโอกาส

การมีชื่อบน Electronic Platform ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกหรือรับประกันว่า เนื้อหาต่างๆ ที่นำเสนอหรือสามารถเสิร์ชหาได้นั้น ถูกต้องและเป็นความจริงมากน้อยแค่ไหน จึงถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรระวัง

4. ความเชี่ยวชาญในการใช้ L/C และ T/T ของคู่ค้า

ความเชี่ยวชาญในการใช้ L/C และ T/T ทำให้เป็นความได้เปรียบในการหากลเม็ดการฉ้อโกงได้ ซึ่งการผสมผสานการทำงานระหว่าง L/C (Letter Of Credit ) และ T/T (Telegraphic Transfer) เข้าด้วยกัน เป็นรูปแบบที่นิยมมากในการใช้จ่ายเงินที่ต่ำกว่ามูลค่าของสินค้าที่ตกลงกัน ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ผิดกฎหมาย ผู้นำเข้ามักใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อ อากรนำเข้ารวมถึงภาษีค่อนข้างสูง

นอกจาก 4 ปัจจัยรู้ทันกลโกง ที่ผู้ประกอบการที่ทำการค้าระหว่างประเทศควรรู้แล้ว ข่าวสารและการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่างๆ ของธนาคารและศุลกากรของประเทศคู่ค้าและประเทศไทย ก็เป็นสิ่งที่ต้องติดตามด้วยเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ SMEs : Speed Up To The New Game (สสว.)