ปรับไว ไปต่อ 8 สิ่งที่ SMEs ควรทำ เพื่อให้ธุรกิจเดินไปข้างหน้า ในยุคโควิดระบาด

ปรับไว ไปต่อ 8 สิ่งที่ SMEs ควรทำ เพื่อให้ธุรกิจเดินไปข้างหน้า ในยุคโควิดระบาด

จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อปลายปี 2019 ลากยาวมาเป็นเวลานาน สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกก็ยังไม่ดีขึ้น อีกทั้งประเทศไทยเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ส่งผลกระทบวงกว้างต่อเศรษฐกิจ-ความเชื่อมั่นภายในประเทศ ธุรกิจต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า เพราะผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอย ในสถานการณ์แบบนี้ ผู้ประกอบการต่างๆ และเอสเอ็มอี ต่างก็เกิดคำถามที่ว่า ควรปรับตัวอย่างไรเพื่อให้ธุรกิจสามารถไปรอดได้ในสภาวะแบบนี้

1. การสำรองเงินสด

เงินสดเปรียบดั่งเชื้อเพลิงสำหรับธุรกิจ จึงถือเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องมีเงินสดเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้  โดยทั่วไป ผู้ประกอบการหรือเอสเอ็มอี ควรสำรองเงินสดไว้ 3-6 เดือนของค่าใช้จ่าย ซึ่งเงินเหล่านี้ควรจะเพียงพอสำหรับใช้เพื่อปฏิบัติตามภาระผูกพัน แม้ในเดือนที่ธุรกิจไม่มีเงินสดไหลเข้ามาก็ตาม

เช่น ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 5 แสนบาท ควรตั้งเป้าสำรองเงินสดที่ 1 ล้าน 5 แสนบาท ถึง 3 ล้านบาท เป็นต้น

2. ช็อปจบใน Social Media

สังคมออนไลน์ที่เอาไว้แชร์ข้อมูลข่าวสาร หรือลงรูปภาพสวยเก๋เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่เป็นแหล่งช็อปปิ้งที่ผู้บริโภคสามารถดูสินค้า เลือกช็อป จ่ายเงินได้แบบครบในที่เดียว โดยลูกค้าสามารถทำการโอนเงินจบภายในโซเชียลเลย ไม่ว่าจะเป็นแอพ Facebook, Instagram, Pinterest และ Snapchat นี่เป็นอีกหนึ่งการตลาดออนไลน์ที่คนทำธุรกิจเอสเอ็มอีควรจะต้องเน้นให้มากขึ้นนั่นเอง

3. พันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อนคู่คิดเอสเอ็มอี

ในโลกยุคปัจจุบัน ธุรกิจมีความจำเป็นต้องปรับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หนึ่งในวิธีการที่จะให้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง คือการร่วมมือกันระหว่างพันธมิตรธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดย 4 ข้อดีที่จะได้จากพันธมิตร คือ 1. ช่วยเสริมความเชี่ยวชาญของบุคลากรในองค์กร ให้มีความเชี่ยวชาญยิ่งขึ้น 2. ช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกิจ 3. จะช่วยเพิ่มโอกาสและความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจ 4. ช่วยเพิ่มช่องทางการเข้าถึงลูกค้า

4. ลดต้นทุน-ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

การลดต้นคือการเพิ่มผลกำไร ที่ไม่กระทบถึงผู้บริโภคภายนอก เป็นกระบวนการจัดการภายในองค์กร ที่อาศัยความร่ามมือจากทุกคนในองค์กร การลดต้นทุนมิใช่การลดวัสดุอุปกรณ์ กำลังการผลิต หรือบุคลากร แต่เป็นการใช้สิ่งที่มีอยู่นั้นให้คุ้มค่าที่สุด

5. ปรับโมเดลธุรกิจจากการเฉพาะเจาะจง เป็นยืดหยุ่นมากขึ้น

จากเดิมที่เคยยึดมั่นกับการสร้างรายได้ทางเดียว ช่องทางเดียว ก็จำเป็นต้องมองหา Business Model ใหม่ที่ทำให้ธุรกิจสามารถสร้างรายได้จากทางอื่นและช่องทางอื่นๆ ได้มากขึ้น เพื่อให้หากเกิดวิกฤตคล้ายเดิม หรือวิกฤตใหม่ขึ้นมาอีก ธุรกิจเราจะได้รับมือได้ดีขึ้น เนื่องจากธุรกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และไม่ได้พึ่งพารายได้จากทางใดทางเดิมเพียงทางเดียว

6. ปรับปรุงระบบจัดเก็บ DATA เพื่อพัฒนากลยุทธ์ขายสินค้า

หลายคนคงทราบดีว่ายุคนี้ เป็นยุคแห่งข้อมูล ช่องทางออนไลน์จึงกลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เก็บบันทึกพฤติกรรมของผู้ซื้อ ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐาน ความสนใจ ไปจนถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต ข้อมูลเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ให้ธุรกิจในการนำไปต่อยอด เพื่อทำการตลาดออนไลน์ทั้งสิ้น ทำให้เราสามารถเข้าใจและรับรู้ตัวตนของกลุ่มเป้าหมาย สามารถนำเสนอสิ่งที่ตรงใจ จนสามารถสร้างฐานลูกค้าประจำในอนาคตได้ ดังนั้น การมีข้อมูลของลูกค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

7. สามารถทำงานได้ในทุกสถานที่

ในแง่ของการทำงานต่อจากนี้ไป ทุกธุรกิจจะต้องสร้างแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่ที่ยืดหยุ่นและหลากหลายมากขึ้น ให้กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรใหม่ที่ทำงานได้ทุกสถานที่อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานแบบไม่จำกัดเฉพาะสถานที่นี้ สามารถต่อยอดไปถึงการวางโครงสร้างการจัดการต้นทุนใหม่ ทำให้ธุรกิจมีต้นทุนลดลง ทำกำไรได้มากขึ้นได้ด้วย

8. เปลี่ยนคนแปลกหน้า ให้เป็นลูกค้าด้วยการตลาด

การกำหนดราคาที่จูงใจ รวมทั้งการจัดระบบการจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าเป้าหมายที่ดี ยังไม่เพียงพอในการทำธุรกิจยุคปัจจุบัน เหล่าผู้ประกอบการจึงจำเป็นจะต้องอาศัยความสำเร็จ ในการติดต่อสื่อสารไปยังผู้เกี่ยวข้องเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถโน้มน้าวพฤติกรรมของผู้รับข่าวสาร ให้เกิดการยอมรับและปฏิบัติตามได้

ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ ธนาคารกรุงเทพ

เผยแพร่ครั้งแรก วันพฤหัสที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564