การขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง phase 1

จากการขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง phase 1  จากการสำรวจและการให้ข้อมูลของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ๗๖ จังหวัด ของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ๑๕,๐๐๐ คน ๑,๐๐๐ ตำบล (พี่) พบว่า มีจำนวนครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๑,๔๖๓,๘๐๔ ครัวเรือน ภาคีเครือข่ายเข้าร่วม ๙,๔๑๖ ภาคี สามารถลดรายจ่ายได้ ๗๓,๑๙๐,๒๐๐ บาท และ  โดยมี ตำบลดงครั่งน้อย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด    

เป็นตำบลต้นแบบระดับดีเลิศ รับรางวัลเชิดชูเกียรติผู้นำการเปลี่ยนแปลงดีเลิศ และรับงบประมาณสนับสนุน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อนำไปต่อยอดเสริมความเข้มแข็ง ชุมชน ตำบล บูรณาการงานเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม และสร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน

จากผลสำเร็จการดำเนินโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวข้างต้น กรมการพัฒนาชุมชน เห็นความสำคัญของการที่พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต้องลุกขึ้นมาผนึกกำลังเพื่อต่อสู้ และผ่านสถานการณ์วิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน จึงเห็นควรจัดทำ “โครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ขยายผล บ้านพี่เมืองน้อง ผนึกกำลัง สร้างความมั่นคงทางอาหาร”  ขยายผลจากตำบลพี่ ๑,๐๐๐ ตำบล สู่ตำบลน้อง ๑,๐๐๐ ตำบล กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้นำชุมชนที่เป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการ ตำบลละ ๑๕ คน เป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจ ภายใต้คติพจน์ (Motto)  “๑ หมู่บ้าน ดูแลได้ทั้งตำบล สร้างความมั่นคงทางอาหาร บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”  สู้วิกฤตจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมครั้งรุนแรงเป็นประวัติการณ์ในปัจจุบัน

  โดย กระบวนการและวิธีการดำเนินงาน ปรับเปลี่ยนรูปแบบตามสถานการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019  จำนวน 4 กิจกรรม ระยะเวลาการดำเนินการ 60 วัน (เดือน ส.ค.-ก.ย. 2564)  โดยการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์  ไม่ใช้งบประมาณทางราชการ ดังนี้  กิจกรรมที่ ๑ การสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรกรมผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting ให้แก่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ๗๖ จังหวัด กลุ่มเป้าหมายคือ พัฒนาการจังหวัด /อำนวยการกลุ่ม ๔ กลุ่ม

กิจกรรมที่ ๒ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้เกิดองค์ความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ๑,๐๐๐ รุ่น ๆ ละ ๒ วัน เรียนรู้เกี่ยวกับ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตำบลพี่สู่ตำบลน้อง ,การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง,การบริหารจัดการดิน น้ำ ป่า ,พิธีประกาศเจตนารมณ์เนื่องในวันดินโลก, เรียนรู้ความสำเร็จโก่งธนูโมเดล และถอดบทเรียนความสำเร็จ สู่การจัดทำแผนสนับสนุน ๓ สร้าง (๑,๐๐๐ ตำบล (พี่)/พช./เครือข่ายพื้นที่)ตำบลพี่ และแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนตำบลน้อง   

กิจกรรมที่ ๓ กระบวนการพัฒนาการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ของตำบลพี่และตำบลน้อง ภายใต้คติพจน์  ๑ หมู่บ้าน ดูแลทั้งตำบล สร้างความมั่นคงทางอาหาร บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมที่ ๔ ประเมินเพื่อจัดลำดับจังหวัดของตนเอง “พัฒนาการอำเภอหัวใจสีเขียว” โดยจัดกลุ่มเป็น ๔ ระดับ ดังนี้ กลุ่ม A (ดีเยี่ยม), B(ดีมาก), C (ปานกลาง) และ D(ปรับปรุง) ที่กำหนดให้หัวหน้ากลุ่มงานทั้ง 4 กลุ่มงานได้นำเสนอผลงานการขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ขยายผล “บ้านพี่เมืองน้อง ผนึกกำลังร่วมกัน สร้างความมั่นคงทางอาหาร”  ๗๖ จังหวัด ๘๗๘ อำเภอ ๑,๐๐๐ ตำบล ด้วยกิจกรรม ”สัปดาห์เรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้างชุมชน : Chang for goof”  ให้เกิด“ตู้ยาข้างบ้าน ตู้อาหารข้างครัว” ทำให้พี่น้องประชาชน มีความความมั่นคงทางอาหาร ใช้ภูมิปัญญาสมุนไพรไทยเป็นทางรอด ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤต โควิด-19  และทั้งหมดจะเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน ศูนย์แบ่งปัน ที่จะทำให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ตลอดไป.