เจ๋งสุดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่ยุง ใช้สารสกัด “ตะไคร้หอม ลาเวนเดอร์ และยูคาลิปตัส”

“ยุง” เป็นสัตว์ที่เป็นอันตรายอย่างยิ่ง ที่ผ่านมาได้มีการคิดค้นผลิตภัณฑ์และยาต่างๆเพื่อกำจัดหรือป้องกันไม่ให้ยุงร้ายมาไต่ตอมหรือกัดผู้คน ซึ่งในประเทศไทยก็มีผลิตภัณฑ์เหล่านี้จำนวนไม่น้อย อย่างเช่นนวัตกรรมสูตรน้ำไล่ยุงชนิดไมโครแคปซูล ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรม Polymer assisted a sustained and release (PASAR: พาซ่าร์) โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ ผศ.ดร.สมชาย เจียจิตต์สวัสดิ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  พร้อมด้วยบริษัท บาริแคร์ จำกัด ที่ได้ร่วมกันพัฒนา เพื่อใช้เป็นวัสดุฉลาดในการช่วยควบคุมการปลดปล่อยสารสกัดจากธรรมชาติและวิตามินอย่างยั่งยืน นับเป็นการใช้องค์ความรู้ด้านไบโอเทคโนโลยีการสกัดสารสกัดจากพืชสมุนไพรให้ออกมาเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่ยุง ซึ่งนับว่ามีความโดดเด่นแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีขายอยู่ในท้องตลาด

ดร.สรวง สมานหมู่ นักวิจัยห้องปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ชีวภาพ ไบโอเทค  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า  ปัญหาที่พบบ่อยในการใช้น้ำมันหอมระเหยในการใช้เป็นผลิตภัณฑ์ไล่ยุงคือ ความเสถียรของน้ำมันหอมระเหย เนื่องจากเกิดการระเหยได้ง่าย ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยมีประสิทธิภาพลดลงตามอายุการใช้งาน จึงได้ร่วมกับ ดร.อภิวัฏ ธวัชสิน และ ผศ.ดร.สมชาย เจียจิตต์สวัสดิ์ พัฒนา “นวัตกรรม PASAR สำหรับน้ำมันหอมระเหย” ด้วยการสร้างไมโครเอนแคปซูเลชั่นที่เป็นอนุภาคขนาดเล็กระดับนาโนเมตร (185 นาโนเมตร) ช่วยในการกักเก็บสารสกัดที่สำคัญในน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเสถียรของน้ำมันหอมระเหยให้มีความเสถียรสูง ไม่ให้ระเหยง่าย และสามารถปลดปล่อยสารสกัดในน้ำมันหอม

08-%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%99

นวัตกรรมสูตรน้ำไล่ยุงดังกล่าวเป็นกระบวนการไมโครเอนแคปซูเลชั่นของสารสกัดจากธรรมชาติ 3 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ลาเวนเดอร์ และยูคาลิปตัส ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูงในการไล่ยุง ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในอากาศได้มีประสิทธิภาพ เช่น เชื้อ Staphylococcus และเชื้อ E. coli รวมทั้งไม่สะสมในร่างกายของผู้ใช้เมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ สารสกัดจากธรรมชาติเหล่านี้ไม่ได้ช่วยในการไล่ยุงโดยตรงเท่านั้น แต่จะทำหน้าที่กำบังกลิ่นที่เป็นตัวล่อยุงให้เข้ามากัด อย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และกรดแลคติก ซึ่งมีการสร้างขึ้นในร่างกายคนเพื่อทำให้ยุงรู้ตำแหน่งของเหยื่อด้วย”

ด้าน คุณชัยรัฐ หอณรงค์ศิริ ประธานกรรมการบริษัท บาริแคร์ จำกัด กล่าวว่า การต่อยอดผลงานวิจัยจนมาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่ยุง เกิดจากความตระหนักถึงภัยที่มียุงเป็นพาหะ และการหาวิธีป้องกันแต่ไม่ “ฆ่า” จึงได้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ด้านในการหาวิธีป้องกันยุง จนได้นวัตกรรมน้ำยาไล่ยุง ซึ่งนอกจากจะมีสารสกัดจากธรรมชาติแล้ว ยังมีการเติมสารในกลุ่มไพรีทรอยด์ (สารเลียนแบบโครงสร้างของสารสกัดจากดอกเบญจมาศขาว) เพื่อใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการไล่ยุง โดยใช้ร่วมกับเครื่องสร้างไอน้ำขนาดอนุภาคระดับนาโนเพื่อการไล่ยุงในรัศมีวงกว้าง (15 ตารางฟุต) เหมาะสำหรับการใช้ป้องกันยุงในการมีกิจกรรมตามที่โล่งแจ้ง

%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b8%8a%e0%b8%b1%e0%b8%a2%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%90-%e0%b8%ab%e0%b8%ad%e0%b8%93%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%8c%e0%b8%a8%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%b4-%e0%b8%9b%e0%b8%a3

ทั้งนี้ทางบริษัทและคณะวิจัยมีแผนริเริ่มโครงการ “เชียงใหม่ปลอดยุง” เพื่อเป็นจังหวัดนำร่องของโครงการดังกล่าว  ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งบริษัทมีแผนที่จะพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากเดิมให้สามารถใช้ในโรงพยาบาลและห้องนอนได้ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำยาให้สามารถฆ่าเชื้อโรคในอากาศได้ และพัฒนาเป็นสเปรย์ไว้พกพาสำหรับคนที่ใช้เดินทางและใช้ป้องกันยุงในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าด้วย”